Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/154
Title: การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมในประเทศไทย ปี พ.ศ.2520-2542
Other Titles: Analysis of Total Factor Productivity Growth in Thailand: 1977-1999
Authors: กาญจนา โชคไพศาลศิลป์, 2522-
Advisors: บังอร ทับทิมทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Bangorn.T@chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์ปัจจัยการผลิต
ปัจจัยการผลิต
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานศึกษานี้ทำการศึกษาแหล่งที่มาของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ.2520-2542 ด้วยบัญชีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth Accounting Approach) นอกจากนี้ยังทำการประมาณค่าอัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมที่คำนึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลงทางวัฏจักรธุรกิจ ผลของการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพของแรงงาน และผลการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคการผลิต และทำการศึกษาปัจจัยกำหนดอัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมไว้ในส่วนสุดท้ายของงานศึกษา ผลการศึกษาภาพรวมทั้งระบบเศรษฐกิจ พบว่า สัดส่วนของอัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีค่าค่อนข้างต่ำประมาณร้อยละ 20.48 เท่านั้น เมื่อเทียบกับการขยายตัวของปัจจัยการผลิตที่มีสัดส่วนต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 79.52 ส่วนผลการศึกษารายสาขาการผลิต พบว่า การเติบโตของผลผลิตในทุกสาขาการผลิตเป็นผลมาจากการขยายตัวของปัจจัยการผลิตเป็นหลัก (เช่นเดียวกับผลการศึกษาระดับภาพรวมทั้งระบบเศรษฐกิจ) โดยปัจจัยทุนเป็นแหล่งที่มาที่สำคัญที่สุดของการเติบโตของผลผลิตในทุกสาขาการผลิต ยกเว้นสาขาเกษตรกรรมที่มีอัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมเป็นแหล่งที่มาที่สำคัญที่สุดของการเติบโตของผลผลิต นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่า อัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมที่คำนึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพของแรงงาน และอัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมที่คำนึงถึงผลการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคการผลิตมีค่าลดลง ในขณะที่อัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมที่คำนึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลงทางวัฏจักรธุรกิจกลับมีค่าเพิ่มสูงขึ้น (เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวม) ส่วนผลการศึกษาปัจจัยกำหนดอัตราการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวม พบว่า อัตราการเติบโตของการส่งออก อัตราการเติบโตของปัจจัยทุนนำเข้าจากต่างประเทศ อัตราการเติบโตของสัดส่วนแรงงานนอกภาคเกษตรกรรม และอัตราการเติบโตของสัดส่วนแรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวม ดังนั้นจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การค้าเสรี นโยบายสนับสนุนการลงทุน ตลอดจนนโยบายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลิตภาพการผลิตโดยรวม ซึ่งประเทศควรพัฒนาปัจจัยดังกล่าวไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต
Other Abstract: The objective of this study is to examine the sources of economic growth especially the total factor productivity growth in Thailand during 1977-1999, using the Growth Accounting Method. Three different methods are used to adjust the crude total factor productivity growth in order to separate the effects of business fluctuation, the quality change of labor inputs, and the sectoral labor mobility. The multiple regression analysis is used to investigate the sources of the total factor productivity growth as shown in the last section. The obtained results show that the percentage contribution of the total factor productivity growth to economic growth was only 20.48, while the input growth accounted for 79.52 percent. For sectoral analysis, the results were similar to the result of the overall economy. The relative contribution of capital input to output growth was the main source of the output growth in almost all sectors, except in the agricultural sector which the total factor productivity growth was the main source of the output growth. The results of the labor quality improvement and sectoral labor mobility adjusted for total factor productivity growth were lower than the crude total factor productivity growth, while the total factor productivity growth adjusted for the business fluctuation was higher than the crude one. The regression results show that the export growth rate, the imported capital growth rate, the growth rate of share of labor in non-agricultural sector, and the growth rate of share of labor with university education were the main factors determining the total factor productivity growth. Therefore, it is recommended that trade liberalization, investment promotion policy, and the human resource development policy played significant impacts on the overall productivity. However, these factors have to be developed at the same pace with the technological change for the sustainable development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/154
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.606
ISBN: 9741730039
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.606
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kangana.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.