Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15513
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสรันยา เฮงพระพรหม-
dc.contributor.advisorอานัน นิ่มนวล-
dc.contributor.authorสุภรณี โพธิสา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-07-18T09:48:28Z-
dc.date.available2011-07-18T09:48:28Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15513-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงการดำเนินงาน ความสำเร็จ ความสอดคล้องและความแตกต่าง รวมถึงโอกาสในการพัฒนาด้านระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการสัมผัสเลือด และ/หรือสิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วยของบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 500 คน คณะกรรมการบริหารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน และผู้บริหารที่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 คน โดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม 2550 อัตราการตอบกลับแบบสอบถาม คิดเป็น 87.6% นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วย วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา และใช้สถิติร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า มีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการสัมผัสเลือด และ/หรือสิ่งคัดหลั่งฯ โดยมีการกำหนดนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน และกำหนดแนวทางการปฏิบัติก่อนและหลังการสัมผัสเลือดและ/หรือสิ่งคัดหลั่งฯ ตามแนวทางมาตรฐานระดับชาติและ/หรือสากล มีการกำหนดโครงสร้างในการบริหารจัดการ และมีการวางแผนการดำเนินงานด้านนี้ โดยกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ด้านการปฏิบัติของบุคลากร พบว่า บุคลากรปฏิบัติตามแนวทางก่อนการสัมผัสเลือดและ/หรือสิ่งคัดหลั่งฯ ทั้ง 3 ด้านคือ ด้านการป้องกันอุบัติเหตุ พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่ในระดับดี (34.5%) ด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่ในระดับต้องปรับปรุง (46.3%) และด้านสุขอนามัยและสุขาภิบาลพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่ในระดับดี (69.6%) ส่วนแนวทางหลังการสัมผัสเลือด และ/หรือสิ่งคัดหลั่งฯ พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่ในระดับต้องปรับปรุง (48.5%) ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องและความแตกต่างระหว่างระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการสัมผัสเลือด และ/หรือสิ่งคัดหลั่งฯกับการปฏิบัติของบุคลากรพบว่า บุคลากรปฏิบัติสอดคล้องกับแนวทางที่โรงพยาบาลกำหนดไว้มากที่สุดคือ เมื่อมีการสัมผัสเลือดและ/หรือสิ่งคัดหลั่งฯ ล้างมือทันทีที่สัมผัส (98.1%) รองลงมาคือ การทิ้งใบมีด หรือหัวเข็มที่ใช้แล้วในกล่องแข็ง และเมื่อถุงมือรั่วเปลี่ยนถุงมือคู่ใหม่ทันที (96.3% และ 96.1% ตามลำดับ) และพบว่า บุคลากรปฏิบัติแตกต่างกับแนวทางที่โรงพยาบาลกำหนดไว้มากที่สุดคือ การไม่ได้รักษาต่อหลังจากการสัมผัสเลือดและ/หรือสิ่งคัดหลั่งฯ (80.2%) รองลงมาคือ การไม่ได้รักษาต่อเมื่อผลการตรวจเลือดไวรัสตับอักเสบบีหรือซีของผู้ป่วยได้ผลบวก และไม่ได้ขอรับยาต้านไวรัสเอดส์เมื่อผลตรวจเลือดไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยได้ผลบวก (73.1% และ 68.3% ตามลำดับ) ผลการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนางานด้านระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการสัมผัสเลือด และ/หรือสิ่งคัดหลั่งฯ ของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อไป.en
dc.description.abstractalternativeThis research was designed as cross-sectional descriptive study. The objectives aimed to study the implementation, successes, consistency, discrepancy, and opportunities of improvement of the risk management system of blood and /or secretion exposures among health care workers (HCWs) in Somdejprapinklao hospital (SPH). Data were collected by self – administered questionnaires from 500 HCWs and 40 administrative committees and in-depth interview from 4 administrators from September 1 to December 31, 2007. The response rate was 87.6%. Key relevant documents were also reviewed. Data were analyzed and reported as percentage and description. The results showed that SPH has implemented the risk management system of blood and /or secretion exposures among HCWs and realized obviously by the risk management policy and the pre and post exposure of blood and body fluid precaution guidelines. The guidelines were applied from the National and /or the Universal Precaution. The organization chart, goal, key performance indicators, strategies, and annual action plans were also setup. Considering personnel practice in line with the pre-exposure practice guidelines, the results found that performance of HCWs was good level with respect to accidental prevention (34.5%) and sanitation and hygiene (69.6%) and was in low level with respect to use of personal protective equipments (46.3%). For the post-exposure guidelines, the majority of HCWs performance failed in low level. Study finding on consistency and dissimilarity between risk management system of blood and /or secretion exposures and performance of HCWs indicated that most of HCWs performed consistent with the guidelines of hand-wash right after contacted patient’s blood and /or body excreta (98.1%), dispose of used needles and blades in safety box (96.3%), and substitute of glove after perforation (96.1%) respectively. However, the guidelines against HCWs performance were no medication after contacting patient’s blood and /or body excreta (80.2%), when HBV positive (73.1%), and when HIV positive (68.3%) respectively. The finding result can be served as useful information for the responsible groups to adjust and improve the risk management system of blood and /or secretion exposures and implementation of HCWs in SPH.en
dc.format.extent1683113 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าen
dc.subjectการบริหารความเสี่ยงen
dc.subjectบุคลากรโรงพยาบาล -- สุขภาพและอนามัยen
dc.subjectโรงพยาบาล -- มาตรการความปลอดภัยen
dc.titleระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการสัมผัสเลือดและ/หรือสิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วยของบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าen
dc.title.alternativeRisk management system of blood and/or secretion exposures of health care workers in Somdejprapinklao Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอาชีวเวชศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSarunya.H@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supornranee.po.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.