Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15528
Title: ผลการใช้วิธีการเอ็มทีในการเสริมสร้างพฤติกรรมการประหยัดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6
Other Titles: Effects of the MT method on the enhancement of economize behaviors for grades 4-6 students based on the sufficiency economy philosophy
Authors: ยรรยงค์ ณ บางช้าง
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wkaemkate@hotmail.com, Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: การประหยัดและการออม
เศรษฐกิจพอเพียง
การปรับพฤติกรรม
เด็ก -- การปรับพฤติกรรม
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลของการใช้วิธีการเอ็มทีในการเสริมสร้างพฤติกรรม การประหยัดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการประหยัดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเสริมสร้างพฤติกรรมโดยใช้วิธีการเอ็มทีและกลุ่มที่ไม่ได้รับการเสริมสร้างพฤติกรรมโดยใช้วิธีการเอ็มที และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของพฤติกรรมการประหยัดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่ได้รับการเสริมสร้างพฤติกรรมโดยใช้วิธีการเอ็มทีในด้านการใช้เงิน การใช้เวลา การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้สิ่งของเครื่องใช้ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดบ้านทึง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบวิธีการเอ็มที จำนวน 1 แผน 2) แบบวัดพฤติกรรมการประหยัดตามการประเมินตนเองของนักเรียน 3) แบบวัดพฤติกรรมการประหยัดของนักเรียนโดยครูประจำชั้น และ 4) แบบวัดพฤติกรรมการประหยัดของนักเรียนโดยผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการเสริมสร้างพฤติกรรมการประหยัดโดยใช้วิธีการเอ็มทีมีพฤติกรรม การประหยัดสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการเสริมสร้างพฤติกรรมการประหยัดโดยใช้วิธีการเอ็มที ทั้งในการวิเคราะห์โดยภาพรวมและจำแนกตามระดับชั้น 2) นักเรียนโดยภาพรวมมีพัฒนาการของพฤติกรรมการประหยัดทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีพัฒนาการของพฤติกรรมการประหยัดในด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสูงที่สุด รองลงมา คือ พัฒนาการของพฤติกรรมการประหยัดในด้านการใช้เงิน พัฒนาการของพฤติกรรมการประหยัดในด้านการใช้สิ่งของเครื่องใช้ และพัฒนาการของพฤติกรรม การประหยัดในด้านการใช้เวลา ตามลำดับ และเมื่อจำแนกตามระดับชั้น พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 มีพัฒนาการของพฤติกรรมการประหยัดในด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการใช้เงิน ด้านการใช้เวลา และด้านการใช้สิ่งของเครื่องใช้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The major purpose of this research was to study the effect of the MT method on the enhancement of economize behaviors for grades 4 - 6 students based on the sufficiency economy philosophy. The minor purposes of this research were 1) to compare the economize behaviors of students between group using and not using the MT method, and 2) to compare the economize behaviors of students among 4 savings behaviors that they were developed, such as the money, time, environment, and utensils economize behaviors. The experimental research was employed in this research. The sample of this research consisted of 53 grades 4 – 6 students of Banthaung school, Suphanburi province. The research instruments were 1) lesson plan of the MT method, 2) the self evaluation checklist about the economize behaviors of students, 3) the teacher evaluation checklist about the economize behaviors of students, and 4) the parent evaluation checklist about the economize behaviors of students. The data were analyzed by using t-test, ANOVA, and One-Way Analysis of variance with repeated measures. The research findings were as follows: 1) The savings behaviors of students in group using the MT method were higher than that of students in group not using the MT method. 2) The overall students were developed through 4 savings behaviors that there were statistical significantly differentiated at the .05 level of significance. The savings behavior about the environment was highly developed. Moreover, also the money, utensils, and time economize behaviors were developed, respectively. As for grade 4, 5 and 6 students were developed through 4 savings behaviors that there were no statistical significantly differentiated
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15528
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.884
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.884
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yanyong_na.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.