Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15558
Title: การศึกษาการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยและอายุการใช้งานของโครงสร้างสะพานแบบแผ่นพื้น
Other Titles: Study of safe load carrying capacity and service life of slab-type bridges
Authors: กิตติ จิวโพธิ์เจริญ
Advisors: ทศพล ปิ่นแก้ว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fcetpk@eng.chula.ac.th, Tospol.P@chula.ac.th
Subjects: สะพาน -- น้ำหนักจร
สะพาน -- น้ำหนักจร -- การประเมิน
อายุการใช้งาน (วิศวกรรมศาสตร์)
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยและอายุการใช้งานของโครงสร้างสะพานแบบแผ่นพื้น โดยโครงสร้างสะพานอ้างอิงตามแบบมาตรฐานของกรมทางหลวง สะพานมีความยาวช่วงระหว่าง 5-10 เมตร ในงานวิจัยนี้ได้หาน้ำหนักของรถบรรทุกสิบล้อที่กระทำต่อสะพาน โดยวิธีการหาน้ำหนักรถบรรทุกขณะเคลื่อนที่บนสะพานในภาคสนาม โดยใช้วิธีการหาน้ำหนักรถโดยปราศจากอุปกรณ์การตรวจจับเพลา วิเคราะห์เพื่อหาค่าน้ำหนักรถบรรทุก โดยได้ทำปรับเทียบค่าจากการทดสอบรวม 2 วิธี คือการทดสอบจากรถบรรทุกทดสอบ และทดสอบหาน้ำหนักเปรียบเทียบกับด่านชั่งน้ำหนัก โดยจากผลการทดสอบพบว่า ความคลาดเคลื่อนของน้ำหนักที่หาได้อยู่ในช่วง +/-15% ทำให้สามารถนำระบบนี้มาใช้ในการเก็บข้อมูลน้ำหนักรถบรรทุกในระยะยาวได้ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลของน้ำหนักรถบรรทุกตามการจราจรจริง ข้อมูลที่บันทึกได้ในระยะประกอบด้วย รถบรรทุกสิบล้อจำนวน 2000 คัน รถบรรทุกกึ่งพ่วง 500 คัน และรถบรรทุกพ่วง 500 คัน ซึ่งจากข้อมูลน้ำหนักที่ได้นี้พบว่า มีรถบรรทุกจำนวนถึง 29% ที่มีน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด และเมื่อนำน้ำหนักนี้มาประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของสะพาน โดยใช้หลักการของค่า Bridge load rating factor ที่ให้ไว้ตามมาตรฐานของ Manual for condition evaluation ของสมาคมทางหลวงและขนส่งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (AASHTO) พบว่าสะพานยังสามารถรับน้ำหนักของรถบรรทุกได้ แต่อย่างไรก็ดีการประเมินจากน้ำหนักรถบรรทุกที่เกิดพิกัดกฎหมายพบว่า แม้สะพานจะสามารถรับน้ำหนักรถบรรทุกได้โดยไม่เกิดการวิบัติในทันที แต่สะพานอาจเกิดความเสียหายหรือมีอายุการใช้งานที่สั้นลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะสะพานที่ความยาวช่วง 6-8 เมตร นอกจากนี้ยังทำการพิจารณาถึงการเสื่อมสภาพของโครงสร้างสะพานเนื่องจากความล้า ซึ่งเกิดน้ำหนักของรถที่กระทำซ้ำๆ ต่อสะพาน ซึ่งผลการประเมินจากน้ำหนักรถบรรทุกที่ทำการบันทึกพบว่า สะพานจะมีอายุการใช้งานได้มากกว่าอายุตามมาตรฐานการออกแบบของสะพาน (75ปี) และอีกประการหนึ่งของการพิจารณาการเสื่อมสภาพของสะพานได้คำนึงถึง ผลจากการเกิดสนิมในเหล็กเสริม โดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัยคือ ผลจากคลอไรด์ และผลจากคาร์บอเนชั่น โดยผลของการประเมินพบว่า สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่อยู่ใกล้แนวชายฝังทะเลอาจได้รับความเสียหาย จนกระทั่งต้องหยุดใช้งานเพื่อซ่อมแซม หากไม่มีการบำรุงรักษาภายใน 30 ปี ส่วนผลของการเสื่อมสภาพจากคาร์บอเนชั่นพบว่า สะพานสามารถมีอายุการใช้งานได้มากกว่าอายุตามมาตรฐานการออกแบบสะพาน ซึ่งจากผลการวิจัยทั้งหมดนี้เชื่อว่าอาจเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบ บำรุงรักษา ตลอดจนการซ่อมแซม โครงสร้างสะพานให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพการใช้งานอย่างสูงสุด.
Other Abstract: To study the safe load carrying capacity and the service life of the bridges. The slab-type reinforced concrete bridges having the span length from 5 to 10 meters are considered since they are the most popular bridge type used in Thailand. To accurately evaluate the safe load carrying capacity and the service life, the related field data from the actual bridge are collected. The Bridge WIM system is installed in a test bridge to monitor the actual traffic data. Two test trucks running on the bridge with various speed and conditions are employed to perform the system calibration. By comparing with the nearby weight station, the installed B-WIM system can provide the total weight accuracy within +/-15%. This system is used to conduct a long-term monitoring of traffic data. About 2000 ten-wheel trucks, 500 semi-trailers and 500 full trailers are collected. It is found that around 29% of truck traffic carry higher weight than the legal limits. Based on these obtained truck traffic data, the structural safety of the standard slab-type bridges in term of bridge load ratings are evaluated adopting the AASHTO evaluation standard. The obtained load ratings show that the bridges have adequate safety under monitored truck. However, the damage or deterioration of the bridges caused by the heavy trucks can be expected during their design life, especially for the bridges having span lengths of 6-8 m. The fatigue life of the bridges due to the passages of truck traffic is investigated. The induced stress ranges in concrete as well as reinforcement are calculated. Based on the monitored truck weights and volumes, the remaining fatigue life of the standard bridges is found much greater than the design life of 75 years. The useful life of the bridges governed by corrosion is also considered both due to chloride and carbonation. The deterioration models suggested by the NCHRP (2006) and CEB-FIP Model Code (1997) are employed to predict the corrosive deterioration from chloride and carbonation, respectively. Using the data of chloride in actual bridges, the useful life of the bridges close to the shore line is expected to be about 30 years. While the deterioration due to carbonation yields the bridge life of much longer than 75 years. The results obtained from this study are believed to be useful information for bridge designers and owners for their effective design and maintenance planning of the bridges.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15558
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1418
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1418
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kitti_je.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.