Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15564
Title: ความต้องการอาคารเขียวของผู้เช่าสำนักงานระดับเอ : กลุ่มตัวอย่างจากอาคารสำนักงานให้เช่าของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
Other Titles: Demand of tenants for grade A and green office buildings : sample group from office buildings of government pension fund
Authors: บุญเกียรติ วิสิทธิกาศ
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: อาคารสำนักงาน -- การอนุรักษ์พลังงาน
สภาพแวดล้อมการทำงาน
อาคารสำนักงาน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยให้ความสำคัญเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และนำมาซึ่งแนวคิดเรื่องอาคารเขียว โดยมีระบบการประเมินอาคารเขียวอยู่หลายระบบ นอกจากนี้มีผลการศึกษาว่าอาคารเขียวยังให้ประโยชน์ในเรื่องผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ปัจจุบันอาคารในกรุงเทพมหานครจำนวนมากอยู่ในช่วงเวลาที่จะต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนทดแทนระบบประกอบอาคารที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเจ้าของอาคารและผู้บริหารอาคาร ในการที่จะทราบถึงความต้องการในทางด้านอาคารเขียวของผู้ใช้หรือผู้เช่าอาคาร อันจะส่งผลต่อแนวทางการปรับปรุงและการลงทุนของอาคารสำนักงาน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติหรือมุมมองของผู้เช่าอาคารสำนักงานระดับ เอ, เพื่อศึกษาแนวคิดในการพิจารณาความเป็นอาคารเขียวและเพื่อศึกษาลักษณะของระบบประเมินอาคารเขียว การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาทัศนคติ มุมมอง (Opinion survey) ของผู้เช่าอาคารสำนักงานระดับเอ ในกรุงเทพฯ จึงใช้วิธีวิจัยสำรวจ (Survey research method) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยแบ่งคำถามออก 4 ส่วน ได้แก่ คำถามเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรของผู้ตอบแบบสอบถาม, คำถามเพื่อประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องอาคารเขียว, คำถามเพื่อประเมินความต้องการอาคารเขียว, และคำถามเกี่ยวกับการคาดการณ์ในอนาคตของผู้เช่า ในการศึกษานี้จะทำการเลือกกลุ่มประชากรจากผู้เช่าอาคารสำนักงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จำนวน 3 อาคารรวมจำนวนผู้เช่า 109 บริษัท โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นตัวแทนของบริษัทและเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกเช่าอาคารสำนักงาน ตอบคำถามในฐานะตัวแทนของบริษัท ได้รับแบบสอบถามคืนกลับมาจำนวน 76 ชุด คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 69.72 ซึ่งมากกว่าจำนวนตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 (52 ชุด) ผลการศึกษาพบว่าผู้เช่าส่วนใหญ่เคยรับรู้เกี่ยวกับอาคารเขียวมาก่อน และส่วนใหญ่รับรู้ว่าอาคารเขียวเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงาน ผู้เช่าส่วนใหญ่เห็นว่าประโยชน์ของอาคารเขียวคือการช่วยให้พนักงานอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี นอกจากนี้ยังพบว่าผู้เช่าส่วนใหญ่ร้อยละ 46 คาดการณ์ว่าค่าเช่าพื้นที่ในอาคารเขียวจะสูงกว่าอาคารทั่วไปประมาณร้อยละ 2 และอีกร้อยละ 36 คาดการณ์ว่าค่าเช่าพื้นที่ในอาคารเขียวจะสูงกว่าอาคารทั่วไปประมาณร้อยละ 10 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้เช่าจากสัญชาติต่างๆ มีมุมมอง หรือทัศนคติเกี่ยวกับประโยชน์ของอาคารเขียวที่แตกต่างกัน โดยผู้เช่าไทยเห็นว่าอาคารเขียวมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ผู้เช่าจากเอเชียเห็นว่าประโยชน์คือการทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น ผู้เช่าจากยุโรปเห็นว่าอาคารเขียวช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และผู้เช่าอเมริกันเห็นว่ามีประโยชน์ที่ทำให้พนักงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ข้อสรุปจากการศึกษากล่าวได้ว่า ผู้เช่าส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของอาคารเขียว และต้องการอยู่ในอาคารเขียว โดยสนใจที่คุณลักษณะของความเป็นอาคารเขียวจากความสามารถของอาคาร ไม่ใช่จากมาตรฐานต่างๆ ที่ให้การรับรองอาคาร นอกจากนี้ยังสรุปได้ว่าสัญชาติของบริษัทที่แตกต่างกันนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของอาคารเขียว กล่าวคือ บริษัทสัญชาติต่างๆ มีมุมมองต่ออาคารเขียวที่คล้ายคลึงกัน การศึกษานี้นอกจากจะให้ประโยชน์ต่อ กบข. แล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อผู้บริหารอาคารหรือฝ่ายบริหารอาคาร หน่วยงานด้านอาคารเขียว ต่อเจ้าของอาคารอื่นๆ และต่อนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะต่อผู้สนใจที่จะทำการศึกษาต่อไปให้พิจารณาศึกษาในรายละเอียดของการลงทุนปรับปรุงอาคาร ซึ่งจากการศึกษานี้อย่างสังเขปพบว่าให้ผลตอบแทนทางการเงินที่คุ้มค่าโดยให้ผลตอบแทน (IRR) ประมาณร้อยละ 10 ข้อเสนอแนะที่มีต่อ กบข. คือควรพิจารณาปรับปรุงอาคารให้เป็นอาคารเขียว โดยเริ่มต้นจากการปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร การประหยัดพลังงาน และการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม.
Other Abstract: Nowadays many countries including Thailand are paying more attention to environmental and social issues. In turn, many are promoting the concept of Green Buildings (GB), which have been found contributing economic benefits to both property owners and tenants. As many buildings in Bangkok are becoming old and need improvement, it is important for building owners and management team to know tenant's demands and to upgrade building's capabilities to suit them. The purpose of this study was to examine tenant's viewpoints and understanding about GB and the main characteristics of the various GB Rating Systems. The methodology undertaken in this study was an opinion survey using questionnaires. The questionnaires were comprised of 4 parts including company's profile, viewpoints towards GB, tenant's desire for GB, and forecasting about GB. The research selected to collect data from 109 companies who are the tenants of 3 office buildings owned by the Government Pension Fund (GPF). The questionnaires directly aimed at representatives of each firm who were decision makers of choosing their office location in Bangkok. 76 sets or a response rate of 69.72% were returned providing level of statistic confidence at 90%. The Research found that most tenants have already heard about GB, understood that GB concerned buildings with energy saving systems, and felt that GB contributes to a good working environment for employees. The study also exhibited that around 46% of informants expected that GB rental rates would be around 5% higher than normal buildings, while 36% of them expected them to be about 10% higher. The analysis results indicated that most Thai tenants thought that GB positively benefits to the environment, while tenants from Asia, Europe, and the U.S.A. thought GB has leverage in enhancing the quality of lives, reducing operating expenses, and enhancing the working environment for employees, respectively. The study showed that most tenants realized the importance of GB and would prefer to accommodate in GB office space. It seems that office tenants considered the meaning of GB based on the performance of buildings rather than GB certifications. The findings indicated that tenants from different countries or nationalities perceived the concept and value of GB in relatively same way. Recommendations from this study to the GPF include a consideration to upgrade the building to meet GB standards by using data from the research, starting from improving indoor environmental quality, followed by using energy saving systems and addressing other environmental or social issues. Further research is recommended to study in depth the return on building improvements and tangible benefits which tenants will get for paying higher rent. Department : Architecture Student's Signature.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15564
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.303
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.303
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
boonkiat_wi.pdf12.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.