Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15571
Title: การศึกษาคุณค่าทางศิลปะในงานหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรศิลปกรรม ระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้
Other Titles: A study of art value in Southern handicraft as perceived by instructors and undergraduate students in Fine and Applied Arts Programs in Rajaphat Universities in Southern Thailand
Authors: อัจฉรากุล ทองรอด
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Ampai.Ti@Chula.ac.th
Subjects: หัตถกรรม -- ไทย (ภาคใต้)
การรับรู้
ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
ศิลปกรรม -- หลักสูตร
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำรวจความคิดเห็นตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรศิลปกรรม ระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ เกี่ยวกับคุณค่าทางศิลปะในงานหัตถกรรมพื้นบ้านทั้ง 5 ด้าน คือ 1) คุณค่าทางด้านเนื้อหา 2) คุณค่าด้านรูปทรง 3) คุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย 4) คุณค่าด้านวัฒนธรรมเชิงทัศน์ และ 5) คุณค่าด้านหลักสูตรศิลปกรรม กลุ่มประชากรและตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ อาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรศิลปกรรม ระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้ทั้ง 5 แห่ง ประกอบด้วยอาจารย์ที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 31 คน ที่ตอบแบบสัมภาษณ์ จำนวน 18 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการเรียนวิชาพื้นฐานทางศิลปะตามหลักสูตรศิลปกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับอาจารย์และนักศึกษา และแบบสัมภาษณ์สำหรับอาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. อาจารย์และนักศึกษามีความคิดเห็นตามการรับรู้ในระดับมากเกี่ยวกับคุณค่าในงานหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ทั้ง 5 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อาจารย์ผู้สอนมีความคิดเห็นในด้านประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านรูปทรง ด้านหลักสูตรศิลปกรรม ด้านวัฒนธรรมเชิงทัศน์ และด้านเนื้อหา ตามลำดับส่วนนักศึกษามีความคิดเห็นในด้านประโยชน์ใช้สอยมากที่สุดเช่นกัน รองลงมา ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมเชิงทัศน์ ด้านหลักสูตรศิลปกรรม ด้านรูปทรง และด้านเนื้อหา ตามลำดับ 2. จากการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรศิลปกรรม จำนวน 18 คน มีความคิดเห็นว่า งานหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการสั่งสมกันมาตั้งแต่อดีต มีความเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นที่สอดแทรกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ประเพณีและความเชื่อของคนในชุมชน เป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อการใช้สอยอย่างแท้จริง อีกทั้งยังมีคุณค่าทางด้านรูปทรง ด้านเนื้อหาที่แฝงไปด้วยความงามทางศิลปะอันส่งผลให้งานนั้นๆ ได้รับความนิยมและคงอยู่ อีกทั้งงานหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ยังมีบทบาทต่อการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปกรรม โดยการนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและอนุรักษ์สืบทอดงานหัตถกรรม ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ดีงามต่อชุมชนและชาติต่อไป นอกจากนี้อาจารย์และนักศึกษาได้เสนอแนะว่า งานหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ในปัจจุบันมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปตามมกระแสสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมต่างชาติมากขึ้น งานหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้จึงเป็นงานศิลปะที่ควรศึกษาและอนุรักษ์ ควรมีการนำเข้าสู่กระบวนการศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนได้เล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญ มีความสำนึกและตระหนักในการอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป.
Other Abstract: To survey the opinions of instructors and students in Fine and Applied Art Programs in Rajaphat Universities in Southern Thailand towards art value of southern handicraft in five aspects which were 1) content value, 2) form value, 3) function value, 4) visual culture value, and 5) Fine and Applied Art Program value. The population and sample in this research were instructors and undergraduate students in five Rajaphat Universities in Southern Thailand of Fine and Applied Art Program. Samples included 31 instructors and 121 third-year students of Fine and Applied Art Program answering the questionnaire and 18 instructors responding the interview. The research instruments were a set of questionnaire and a set of interview questions. The collected data were analyzed by percentages, means, standard deviations and frequencies. The research results were found that 1. Instructors and students perceptions toward all five art values of southern handicraft were at high level. It was found that the highest aspects expressed by the instructors were the aspects of function value and the form value, followed by fine and applied art program value, visual culture value, and content value respectively. On the other hand, the highest aspects expressed by the students were the aspect of function value, visual culture value, followed by fine and applied art program value, form value and content value respectively. 2. Many instructors agreed that the Southern handicrafts were the local wisdom from the past and had accumulated into unique style. The unique style came from historical content, social norm, custom, tradition and beliefs in the community. The style of motifs are created for actual utility purposes. It was very valuable in forms and content of arts beauty in which that make the things are very interested for a long time. The Southern handicrafts had important role in learning Fine and Applied Art Program. It can enhance the students in developing community preserve and inherit the handicrafts. In addition, instructors and students suggested that the Southern handicrafts present has tendency to change in accordance to the international social, economic and cultural trends. The southern handicrafts should be studied and preserved. It ought to be implemented at all educational levels by means of community participation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15571
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1465
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1465
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
atcharakun_th.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.