Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15572
Title: การวิเคราะห์สมรรถนะในกระบวนการผลิตแม่พิมพ์ระบบการพิมพ์กราเวียร์โดยใช้การจำลองสถานการณ์
Other Titles: Performance analysis in cylinder making process for gravure printing with simulation technique
Authors: อัญชา แดงทองดี
Advisors: วิภาวี ธรรมาภรณ์พิลาศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wipawee.T@Chula.ac.th
Subjects: การควบคุมกระบวนการผลิต
ภาพพิมพ์แกะโลหะ
แม่พิมพ์ (งานโลหะ)
การจำลองระบบ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากสภาพการผลิตปัจจุบันของกระบวนการผลิตแม่พิมพ์ระบบการพิมพ์กราเวียร์พบว่า กระบวนการผลิตไม่สามารถผลิตงานได้ตามเป้าหมายที่ 38 ลูกต่อวัน เนื่องจากมีงานแก้ไขระหว่างกระบวนการผลิตและเครื่องจักรทำงานได้ไม่เต็มที่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สมรรถนะของระบบ และหาแนวทางในการปรับปรุงการทำงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของ กระบวนการผลิตแม่พิมพ์ระบบการพิมพ์กราเวียร์ โดยนำหลักการของการศึกษาการทำงาน (Work study) และใช้การจำลองสถานการณ์ (Simulation) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ผล สมรรถนะของสภาพการผลิตที่ศึกษา ได้แก่ อัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องจักรแต่ละเครื่อง (percent utilization) เวลารอคอยงาน (waiting time) เวลาไหลของงานในกระบวนการผลิต (flow time) ปริมาณที่ทำได้ในช่วงเวลา (throughput) ผลที่ได้จากการแบบจำลองสถานการณ์พบว่า ก่อนการปรับปรุงกระบวนการผลิต เครื่องจักรที่เป็นคอขวดของระบบคือเครื่องชุบทองแดง (copper plating machine) โดยมีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องจักรสูงสุดและเวลารอคอยของแม่พิมพ์เพื่อเข้าสู่เครื่องจักรสูงที่สุด สามารถผลิตงานได้เฉลี่ย 34 ลูก/วัน เวลาที่ใช้ทั้งหมดในระบบเฉลี่ย 1,903.27 นาที เวลารอคอยในระบบเฉลี่ย 1,493.47 นาที การปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยการลดอัตราของเสียที่เครื่องชุบทองแดงจาก 5% เป็น 3.5% ร่วมกับการจัดตารางเวลาให้เครื่องชุบทองแดงและเครื่องขัดละเอียดด้วยใบมีด (CFM) สามารถทำงานได้ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง พบว่า สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้จาก 34 ลูก/วัน เป็น 38 ลูก/วัน นอกจากนี้เวลาที่ใช้ทั้งหมดในระบบ และเวลาที่ใช้ในการรอคอยในระบบ ยังลดลงเหลือ 1,070.67 นาที และ 667.24 นาที ตามลำดับ.
Other Abstract: The current production situation of cylinder making process for gravure printing show that the process could not meet the target of 38 cylinders per day due to rework and machine idle time problems. The research objective is to analyze system performance and to improve work process in order to increase the production capacity of cylinder making process for gravure printing. Work study and simulation were selected as the tools for data analysis. The performance measures included percent utilization, waiting time, flow time and throughput. The results of simulation showed that before improving process, the bottleneck machine was copper plating machine which had the highest percent utilization and waiting time in front of this machine. The average production capacity was 34 cylinders per day and the average total production cycle time was 1,903.27 minutes. The average waiting time in the system was 1,493.47 minutes. The process was improved by reducing loss at copper plating machine from 5 percent to 3.5 percent. Combining with scheduling copper plating machine and center finishing machine (CFM) to run 24 hours. Production capacity was increased from 34 to 38 cylinders per day. Moreover, cycle time and waiting time were reduced to 1,070.67 minutes and 667.24 minutes respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15572
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1324
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1324
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ancha_da.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.