Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15626
Title: การเปรียบเทียบผลการระงับปวดภายหลังการผ่าตัดของทรามาดอล ไฮโดรคลอไรด์ กับบูพิวาเคน ไฮโดรคลอไรด์โดยการฉีดเข้าข้อต่อในสุนัขที่ได้รับการทำศัลยกรรมข้อเข่า
Other Titles: Comparison of postoperative analgesic effects of intra-articular tramadol hydrochloride and bupivacaine hydrochloride after stifle surgery
Authors: ดาลัด ลิ้มอำนวย
Advisors: สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sumit.D@Chula.ac.th
Subjects: สุนัข -- ศัลยกรรม
ความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการระงับปวดภายหลังการผ่าตัดของทรามาดอล ไฮโดรคลอไรด์ กับบูพิวาเคน ไฮโดรคลอไรด์ โดยการฉีดเข้าข้อต่อในสุนัขที่เข้ารับการทำศัลยกรรมข้อเข่า ที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม ได้รับน้ำเกลือ ขนาด 0.2 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ได้รับทรามาดอล ไฮโดรคลอไรด์ ขนาด 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เจือจางด้วยน้ำเกลือให้ได้ปริมาตรเท่ากับ 0.2 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ได้รับบิวพิวาเคน ไฮโดรคลอไรด์ ขนาด 0.2 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม ฉีดเข้าข้อเข่าภายหลังผ่าตัด บันทึกคะแนนความปวด คะแนนการเดินกะเผลก และคะแนนช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อก่อนผ่าตัด และชั่วโมงที่ 1, 2, 3, 4, 6, 8, 10, 12, 15, 18, 21 และ 24 ภายหลังผ่าตัด ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มบิวพิวาเคนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความปวดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในทุกชั่วโมงภายหลังผ่าตัด และกลุ่มทรามาดอลมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มควบคุมในชั่วโมงที่ 1 และ 2 ภายหลังผ่าตัด แต่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มบิวพิวาเคนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในชั่วโมงที่ 3, 4, 10, 15, 18 และ 24 ภายหลังผ่าตัด กลุ่มบิวพิวาเคนมีค่าเฉลี่ยช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ชั่วโมงที่ 4 และ 6 ภายหลังผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ของคะแนนการเดินกะเผลก พบว่าไม่มีสุนัขตัวใดได้รับยาเฟนทานิลเพื่อระงับปวดหลังผ่าตัดเพิ่มเติม และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ของค่าเฉลี่ยสัญญาณชีพต่างๆ ระหว่างผ่าตัด สุนัขทุกตัวมีน้ำลายไหลมากในชั่วโมงที่ 1 หลังผ่าตัด จากการศึกษาสรุปว่าการฉีดบิวพิวาเคน ไฮโดรคลอไรด์ และทรามาดอล ไฮโดรคลอไรด์ โดยการฉีดเข้าข้อเข่าภายหลังการศัลยกรรมข้อเข่าสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย โดยบิวพิวาเคน และทรามาดอล ลดคะแนนความปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันในช่วง 2 ชั่วโมงแรกภายหลังผ่าตัด หลังจากนั้นบิวพิวาเคนออกฤทธิ์ได้ดีกว่าตลอด 24 ชั่วโมงที่ศึกษา
Other Abstract: A prospective study compared the postoperative analgesic effects between intraarticular tramadol hydrochloride and bupivacaine hydrochloride in 35 healthy dogs after stifle surgery. All dogs were randomly divided into 3 groups. After surgical stabilization, an intraarticular injection was given; control group received 0.2 ml/kg of sterile normal saline, bupivacaine group received 0.2 ml/kg of bupivacaine hydrochloride and tramadol group received 2 mg/kg of tramadol hydrochloride diluted with saline to a volume of 0.2 ml/kg. The pain score, lameness score and range of motion score were recorded preoperatively and postoperatively at hours 1, 2, 3, 4, 6, 8, 10, 12, 15, 18, 21 and 24. The mean pain score of the bupivacaine group were significantly (p<0.05) lower than the control group at every hours and the tramadol group at 3, 4, 10, 15, 18 and 24 hours postoperative. The mean pain score of the tramadol group were significantly (p<0.05) lower than the control group at 1 and 2 hours postoperative. Range of motion score was significant (p<0.05) lower in the bupivacaine group than in the control group at 4 and 6 hours postoperative. There were no significant (p>0.05) differences of mean lameness score. None of the dogs were required supplemental analgesia. As surgery, there were no significantly differences (p>0.05) of all parameters. Hypersalivation was observed in all dogs at 1 hour postoperative. In conclusion, both intraarticular bupivacaine and tramadol provided postoperative analgesia, with intraarticular bupivacaine provided the greatest effect.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15626
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.595
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.595
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dalad_li.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.