Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15636
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพรรณ พนัสพัฒนา-
dc.contributor.authorสราลี ดำเนินผล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2011-08-09T09:33:22Z-
dc.date.available2011-08-09T09:33:22Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15636-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractศึกษาถึงรูปแบบที่เหมาะสมขององค์กรที่ทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและระงับข้อพิพาท ระหว่างผู้ให้บริการและผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม รวมถึงกระบวนการที่เหมาะสมในการระงับข้อพิพาทลักษณะดังกล่าว โดยศึกษาถึงปัญหาการของการระงับข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคและผู้ให้บริการในกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยในปัจจุบัน และการรับเรื่องร้องเรียนและระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ให้บริการในกิจการโทรคมนาคมในต่างประเทศ 3 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และแคนาดา จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันมีการให้สิทธิให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการใช้บริการโทรคมนาคมมีสิทธิ ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโดยมีสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมทำหน้าที่รับเรื่อง ร้องเรียน ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และสรุปข้อเท็จจริงและหลักฐานเพื่อเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมเป็นผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดต่อไป จากการศึกษาพบว่ากระบวนการดังกล่าวยังคงมีความไม่เหมาะสมบางประการ เนื่องจากสถาบันคุ้มครองบริโภคในกิจการโทรคมนาคมไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการบังคับให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รวมถึงการที่ไม่มีผู้ให้บริการเข้ามามีส่วนร่วมจึงส่งผลถึงประสิทธิภาพในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคุ้มครองบริโภคในกิจการโทรคมนาคม นอกจากนี้กระบวนการระงับข้อพิพาทมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและต้องผ่านการพิจารณาหลายขั้นตอนทำให้การระงับข้อพิพาทมีความล่าช้า จึงควรมีการดำเนินการให้มีการจัดตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รับ เรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมโดยเฉพาะ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคมในรูปแบบองค์กรกำกับดูแลตนเองของผู้ให้บริการที่ไม่นำผลกำไรมาแบ่งปันกัน (Not-for-profit Self-Regulatory Organization) โดยไม่มีเจ้าของหรือส่วนของผู้ถือหุ้นที่ดำเนินการโดยการจัดหางบประมาณด้วยตนเอง ไม่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 2. คณะกรรมการของหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนฯ ควรประกอบด้วยตัวแทนจากบริษัทผู้ให้บริการและตัวแทนองค์กร ผู้บริโภคในจำนวนที่เท่าๆ กัน และมีกรรมการที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลางซึ่งมีไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับบริษัทผู้ ให้บริการ 3. รายได้ของหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนฯ จะจัดเก็บจากผู้ให้บริการที่เป็นสมาชิกในรูปแบบค่าบริการรายปีโดยคิด คำนวณจากรายได้จากการให้บริการของผู้ให้บริการแต่ละรายในปีนั้นๆ และอีกส่วนจัดเก็บเมื่อมีการให้บริการแก้ไขเรื่องร้องเรียน และข้อพิพาทแต่ละกรณี 4. กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องผูกพันตามคำตัดสินชี้ขาดของหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนฯ หากไม่ปฏิบัติตามจะมีบทกำหนดโทษ โดยให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเป็นผู้บังคับโทษ 5. กำหนดให้คำตัดสินชี้ขาดมีผลผูกพันเพียงผู้ให้บริการ โดยผู้บริโภคสามารถเลือกได้ว่าจะยอมรับคำตัดสินชี้ขาดนั้นหรือไม่.en
dc.description.abstractalternativeTo study the suitable models of an organization which has its functions on receiving complaints and settling disputes between service providers and consumers in telecommunication affair. Moreover, the research will analyze the problems and the proper measures of the telecommunication dispute settlement between service providers and consumers in Thailand. The aforesaid objectives will be pursued by comparably studying the systems of petition and resolution regarding telecommunication disputes between service providers and consumers in Australia, United Kingdom and Canada respectively. According to the research, the consumers, nowadays, who have damage resulting from telecommunication service, have a right to complain any compensation to the National Telecommunications Commission (NTC) by requesting through the Telecommunications Consumer Protection Institute (TCPI) acting as a body in receiving complaints, mediating disputes as well as and finding all evidences and fact. Nevertheless, the study shows that such a procedure, still, has some shortcomings. Namely, TCPI has no legitimate power to force the service providers to participate in fact-finding process and mediation. Furthermore, the procedures are much complicated and have numerous steps of settlement. Consequently, the establishment of the independent regulator is essential to form a suitable regulatory organization directly dealing with the regarded dispute. It details are as follows; 1. The NTC should establish the Not-for-profit Self-Regulatory organization under Article 51 of the Act on the Organization to Assign Radio-Frequency Spectrum and to Regulate the Sound Broadcasting, Television Broadcasting and Telecommunication Business B.E. 2543 (2001), 2. The committee of the Organization should equably consist of representatives from every stakeholder including service providers, consumer bodies and independent committees who have no conflict of interest with service providers. 3. The income of the Organization should earn from the fees collected from services providers based on their annual income, and another part should come from the dispute settlement service fees. 4. The Organization should have authority to enforce service providers to comply with the result of dispute settlement as a legal execution in a case of non-compliance. 5. The decision should be bound only to service providers; and consumers can choose whether they want to be bound or not.en
dc.format.extent1437430 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1210-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโทรคมนาคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยen
dc.subjectการระงับข้อพิพาทen
dc.titleการระงับข้อพิพาทในกิจการโทรคมนาคม : ศึกษากระบวนการระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ให้บริการและผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมen
dc.title.alternativeTelecommunication dispute settlement : a study of the dispute settlement between service provider and consumeren
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1210-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saralee_da.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.