Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15639
Title: การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิก และการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกพร้อมกับการใช้แรงต้าน ที่มีต่อการเผาผลาญพลังงานและสุขสมรรถนะของหญิงภาวะน้ำหนักเกิน
Other Titles: A comparison between the effects of aerobic exercise and aerobic exercise combined with resistance exercise training on energy expenditure and health-related physical fitness in overweight women
Authors: เสาวลักษณ์ สุนทราลักษณ์
Advisors: ดรุณวรรณ สุขสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: daroonwanc@hotmail.com
Subjects: โรคอ้วน
สตรีน้ำหนักเกิน
การเผาผลาญ
การออกกำลังกาย
แอโรบิก (กายบริหาร)
ไอโซเมตริก (กายบริหาร)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิก และการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกพร้อมกับการใช้แรงต้าน ที่มีต่อการเผาผลาญพลังงาน สุขสมรรถนะและการไหลของเลือดชั้นผิวหนัง ในหญิงน้ำหนักปกติและหญิงน้ำหนักเกิน อาสาสมัครเป็นนิสิตหญิง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 42 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มน้ำหนักปกติ จำนวน 20 คน และกลุ่มน้ำหนักเกิน จำนวน 22 คน ทั้งสองกลุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกโดยการปั่นจักรยาน (กลุ่มน้ำหนักปกติจำนวน 10 คน และกลุ่มน้ำหนักเกินจำนวน 11 คน) และกลุ่มการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกพร้อมกับการใช้แรงต้านโดยการปั่นจักรยานพร้อมกับการใช้ยางยืด (กลุ่มน้ำหนักปกติจำนวน 10 คน และกลุ่มน้ำหนักเกินจำนวน 11 คน ) การออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบใช้ความหนักของการออกกำลังกายที่ 64-76 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด เป็นระยะเวลา 30 นาที ประเมินการเผาผลาญพลังงานของการออกกำลังกายแต่ละรูปแบบก่อนการนำไปใช้ฝึกออกกำลังกาย ก่อนและหลังการฝึกออกกำลังกาย (3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์) วัดตัวแปรพื้นฐานทางสรีรวิทยาทั่วไป สุขสมรรถนะ และการไหลของเลือดชั้นผิวหนังหลังการปิดกั้นการไหลของเลือด นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างก่อนและหลังการออกกำลังกาย โดยใช้การทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มการทดลอง โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. การเผาผลาญพลังงานของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกพร้อมกับการใช้แรงต้าน มีค่าสูงกว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในกลุ่มน้ำหนักปกติและกลุ่มน้ำหนักเกิน 2. กลุ่มน้ำหนักเกินที่ได้รับการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกพร้อมกับการใช้แรงต้าน มีเปอร์เซ็นต์ไขมันลดลงและเปอร์เซ็นต์มวลที่ปราศจากไขมันเพิ่มขึ้น และเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้าสูงขึ้น มากกว่ากลุ่มการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในกลุ่มน้ำหนักปกติและน้ำหนักเกิน แต่องศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในกลุ่มน้ำหนักปกติและน้ำหนักเกิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ทั้งการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกพร้อมกับการใช้แรงต้าน มีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักลดลง และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภายหลังหลังจากการฝึกทั้งในกลุ่มน้ำหนักปกติและน้ำหนักเกิน 3. กลุ่มการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกพร้อมกับการใช้แรงต้าน มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของเวลาที่ใช้กลับสู่สภาวะพัก ของการทดสอบการไหลของเลือดชั้นผิวหนังที่แตกต่างไปในทางที่ดีกว่า การฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทั้งในกลุ่มน้ำหนักปกติและน้ำหนักเกิน ผลจากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกพร้อมกับการใช้แรงต้าน มีประสิทธิภาพในการเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน รวมถึงพัฒนาสุขสมรรถนะและการไหลของเลือดชั้นผิวหนังได้มากกว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างเดียวทั้งในบุคคลที่มีน้ำหนักปกติและน้ำหนักเกิน.
Other Abstract: To compare the effects of aerobic exercise and aerobic combined with resistance exercise training on energy expenditure, health-related physical fitness and cutaneous blood flow in normal weight and overweight women. Forty-two women participants, the students of Chulalongkorn university, volunteered for the study and were categorized into two groups : normal weight group (n=20) and overweight group (n=22). Both groups were further divided into two sub-groups : aerobic exercise training (cycling ergometer:AE) and aerobic combined with resistance exercise training (cycling ergometer with rubber band: AE+RE). Exercise intensity was set at 64-76% of maximal heart rate for 30 minutes per session. Energy expenditure of exercise in each program was determined before training (3 times per week for 8 weeks). Before and after exercise training, variables of general physiological data, health-related physical fitness and cutaneous blood flow after occlusion were measured. All values were expressed as means and standard deviations. Paired t-test and One way analysis of variance with repeated measure were used to determine the significant differences between before and after exercise and among groups of exercise, respectively. The results were as followed : 1. Energy expenditure of AE+RE was significantly higher than AE (p<0.05) in both normal weight and overweight groups. 2. AE+RE of overweight group showed decreased (p<.05) in percentage of body fat (p<.05) and increased in percentage of fat free mass (p<.05). While, muscular strength of biceps of AE+RE were significantly higher than AE in both normal weight and overweight groups. The range of motion was not significantly different between AE and AE+RE. In addition, AE and AE+RE had significantly increased maximal oxygen uptake and decreased resting heart rate in both normal weight and overweight groups. 3. For cutaneous blood flow examination, the percent change in recovery time of AE+RE was higher than that of AE in both normal weight and overweight groups. Our results indicated that aerobic exercise combined with resistance exercise training has more effective in increasing energy expenditure and improving health-related physical fitness as well as cutaneous blood flow than aerobic exercise alone in both normal weight and overweight persons.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15639
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.645
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.645
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowaluck_Su.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.