Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1566
Title: สุขภาพทางเพศของผู้สูงอายุไทย
Other Titles: Sexual health among Thai ageing
Authors: เขมิกา ยามะรัต
ปิยลัมพร หะวานนท์
ไพลิน ศรีสุขโข
บรรลุ ศิริพานิช
นิกร ดุสิตสิน
Email: Khemika.Y@chula.ac.th
Pailin.S@chula.ac.th
Nikorn.D@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
ไม่มีข้อมูล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
ไม่มีข้อมูล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์วิจัยและพัฒนาเพศศาสตรศึกษา
Subjects: ผู้สูงอายุ--ไทย
สุขวิทยาทางเพศ
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาสุขภาพทางเพศของผู้สูงอายุเป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง โดยใช้แบบสอบถามชนิดให้เขียนตอบเอง และส่งทางไปรษณีย์ผ่านชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วไประเทศในปี พ.ศ. 2539 รวม 275 คน เป็นชาย 224 คน หญิง 51 คน ยังคงอยู่กินกับคู่สมรส มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป และเคยรับราชการมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงมาก่อน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุชาย 80% และหญิง 58% เห็นด้วยที่ชายอายุ 60 ปีขึ้นไปยังคงร่วมเพศได้ต่อไป ส่วนผู้ที่คิดว่าผู้สูงอายุหญิงควรร่วมเพศได้ต่อไปนั้นลดน้อยลง คือ ชายเห็นด้วย 73% และหญิงเห็นด้วย 55% ผู้สูงอายุทั้งหญิงและชายคิดว่า ผู้สูงอายุควรร่วมเพศโดยเฉลี่ยเดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งมีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยของการร่วมเพศที่ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ตอบ คือ ผู้สูงอายุชายส่วนใหญ่ คือ 38 ราย หญิง 6 ราย มีการร่วมเพศประมาณเดือนละ 1 ครั้ง รองลงมาชายเดือนละ 2-3 ครั้ง โดยมีค่ามัธยฐานความถี่ในการร่วมเพศของชายสูงกว่าหญิง คือ ชายเดือนละ 2 ครั้ง หญิงเดือนละ 1 ครั้ง ผู้สูงอายุชายประมาณ 1 ใน 3 และหญิงเกือบครึ่งหนึ่งไม่ตอบคำถามนี้ เนื่องจากไม่สามารถบอกได้ว่ามีการร่วมเพศบ่อยเพียงใด เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สุขภาพทางกาย สมรรถภาพทางเพศ ความพร้อมของคู่ และโอกาสเป็นต้น หรืออีกส่วนหนึ่งอาจเนื่องจากไม่มีการร่วมเพศแล้ว โดยมีสาเหตุจากเหตุผลดังกล่าวและ/หรือการไม่มีความต้องการทางเพศ การไม่สามารถร่วมเพศได้ การขาดคู่ครอง คู่เจ็บป่วยหรือปฏิเสธการร่วมเพศ รวมทั้งเหตุผลเนื่องจากการอายลูก และสนในในการศึกษาธรรมมากกว่า เป็นต้น ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงคิดว่าสังคมไม่ค่อยยอมรับให้ผู้สูงอายุแต่งงานหรืออยู่กินใหม่กับผู้ที่อายุน้อยกว่าตน และคิดว่าเรื่องนี้สังคมควรจะยอมรับและเปลี่ยนแปลงเจตคติใหม่ การที่ผู้สูงอายุจะแต่งงานหรือมีคู่ใหม่ ลูกหลานส่วนหนึ่งพอจะยอมรับได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้ที่จะอยู่กินด้วย อาจมีการปรนนิบัติดูแลในชีวิตประจำวันรวมทั้งสุขภาพ ส่วนที่ไม่เห็นด้วย คิดว่าขัดต่อประเพณี หรือไม่แน่ใจในเรื่องทรัพย์สิน เป็นต้น ปัญหาสุขภาพทางเพศที่พบได้แก่ความต้องการทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศลดลง สุขภาพทางกายด้านอื่น ๆ มีผลกระทบต่อสุขภาพทางเพศ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น ปัญหาในการร่วมเพศของชายส่วนใหญ่คือ 38% เป็นการหลั่งน้ำอสุจิเร็ว รองลงมาคือการหลั่งน้ำอสุจิช้า สำหรับปัญหาของฝ่ายหญิงคือ ความเบื่อหน่ายในการร่วมเพศ ซึ่งปรากฏตรงกับปัญหาของฝ่ายชายที่คู่สมรสปฏิเสธการร่วมเพศ ไม่มีความต้องการทางเพศ หรือสุขภาพไม่ดีหรือขาดคู่เนื่องจากเป็นหม้าย บริการที่ผู้สูงอายุต้องการคอ สถานที่ตรวจและรักษาเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ต้องการให้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ และการดูแลสุขภาพ รวมทั้งการจัดกิจกรรให้ผู้ไม่มีคู่ได้มีโอกาสพบปะกัน เป็นต้น
Other Abstract: This study of sexual health among the elderly involved a survey of those over 60 years. Both male and female, by self-reporting questionnaires through clubs for the elderly in 1996. Answers were received from 275 persons (224 mean and 51 women) from all over the country. Most were married, had completed secondary education or higher, and had worked in a fairly high position in the government before retirement. Findings showed that 80 percent of the males and 58 percent of the female agreed that men over the age of 60 should continue sexual activities. As for women, 73 percent of the men and 55 percent of the women thought that women over 60 should decrease such activity. Both sexes thought that the elderly should have sex twice a month, which was considered more frequent than at present. Some men reported having sex a few times a month. The median frequent was twice a month for men and once a month for women (for those who still had sexual intercourse). One third of the men and nearly half of the women didnot answer this question about sexual intercourse, because they could not say how often they engaged in this activity. Practices depended on many variables, such as physical health, impotence, lack of desire, lack of a partner, illness of refusal of the partner, feelings of shame in front of children, and becoming interested in religious studies and practices. Both men and women believed society does not accept old people remarrying, especially to one who is much younger than them. They felt that people should change their attitudes and accept change. Some of their children accepted them remarrying, depending on the new partner's behavior and the extent to which the new partner looked after the children. The reason for children not wanting the elderly to remarry was because they felt it was contrary to tradition and culture because of implications for inheritance. Sexual health problems for the elderly included decreased sexual desire and increased dysfunction. Other problems mentioned were heart disease, high blood pressure and diabetes. The most common problems for men (38%) was premature ejaculation. For women, problems involved a lack of sexual desire and boredom; these reported problems were the same as those reasons given by the men for being refused intercourse by the women, i.e. because of a lack of sexual desire, health problems or being widowed. The services that the elderly wished to receive included treatment of sexual dysfunction, sex education, health care and opportunities for the widowed elderly to meet together.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1566
ISBN: 9743468773
Type: Technical Report
Appears in Collections:Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kemika(sex).pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.