Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15678
Title: ภาพลักษณ์ทางร่างกายและการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
Other Titles: Body image and self-esteem of overweight adolescents
Authors: ประวีณา ธาดาพรหม
Advisors: สุภาพรรณ โคตรจรัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: ksupapun@chula.ac.th
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ทางร่างกายและการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในกรุงเทพมหานคร เพศหญิงและชาย อายุระหว่าง 13–18 ปี มีน้ำหนักมาตรฐาน (BMI ระหว่าง 18.5–24.9) น้ำหนักเกินมาตรฐาน (เริ่มอ้วน) (BMI ระหว่าง 25–29.9) และน้ำหนักในระดับอ้วน (BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป) จำนวน 341 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบวัดภาพลักษณ์ทางร่างกาย (Body Image Scale) และแบบสำรวจตนเอง (แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง: Self-Esteem) ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Scheffe หรือ Dunnett’s T3 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วัยรุ่นที่มีน้ำหนักมาตรฐาน มีความพึงพอใจภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนในระดับค่อนข้างสูง ในขณะที่วัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (เริ่มอ้วน) มีความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนในระดับปานกลาง และวัยรุ่นที่มีน้ำหนักในระดับอ้วน (โรคอ้วน) มีความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนในระดับค่อนข้างสูง 2. วัยรุ่นที่มีน้ำหนักมาตรฐาน เห็นคุณค่าในตนเองในระดับสูง ในขณะที่วัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (เริ่มอ้วน) และที่มีน้ำหนักในระดับอ้วน เห็นคุณค่าในตนเองในระดับปานกลาง 3. วัยรุ่นทั้งชายและหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (เริ่มอ้วน) และน้ำหนักในระดับอ้วน ส่วนใหญ่ควบคุมน้ำหนักของตนเอง ด้วยวิธีออกกำลังกายและควบคุมอาหาร 4. วัยรุ่นที่มีน้ำหนักมาตรฐาน มีความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายและมีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าวัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (เริ่มอ้วน) และที่มีน้ำหนักในระดับอ้วน ในขณะที่วัยรุ่นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (เริ่มอ้วน) มีความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายและมีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าวัยรุ่นที่มีน้ำหนักในระดับอ้วน 5. วัยรุ่นตอนต้นและตอนปลายหญิงที่มีน้ำหนักมาตรฐาน มีความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตน ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มที่มีน้ำหนักในระดับอ้วน 6. วัยรุ่นตอนต้นและตอนปลายชายที่มีน้ำหนักมาตรฐาน มีความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตน ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (เริ่มอ้วน) และที่มีน้ำหนักในระดับอ้วน 7. ในกลุ่มที่มีน้ำหนักมาตรฐาน วัยรุ่นตอนต้นชายมีความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนในระดับที่สูงกว่าหญิงที่อยู่ทั้งในช่วงวัยรุ่นตอนต้นและตอนปลาย 8. ในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้นและตอนปลายที่มีน้ำหนักในระดับอ้วน ผู้หญิงมีความพึงพอใจภาพลักษณ์ทางร่างกายของตนในระดับที่สูงกว่าชาย 9. ในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้นและตอนปลายทั้งชายและหญิงที่มีน้ำหนักมาตรฐานและน้ำหนักเกินมาตรฐาน (เริ่มอ้วน) เห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มที่มีน้ำหนักในระดับอ้วน
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the body image concerned and self-esteem among overweight adolescents. Participants were 341 male and female junior and high school students in Bangkok during the age of 13-18, divided into three groups: normal weight level (Body Mass Index; BMI of 18.5-24.9), overweight level (BMI of 25-29.9) and obese level (BMI above 30). The instruments used were the Body Image Scale and the Self-Esteem Scale. Data was analyzed using a Two-Way ANOVA design followed by post-hoc multiple comparisons with Scheffe and Dunnett’s T3 test. The major findings were as follows: 1. Normal weight adolescents had relatively high levels of body satisfaction, while overweight adolescents had moderate levels of body satisfaction and obese adolescents had relatively high levels of body dissatisfaction. 2. Normal weight adolescents had high levels of self-esteem, while overweight and obese adolescents had moderate levels of self-esteem. 3. Adolescents, both males and females, with overweight and obesity attempted to lose weight through exercise and dieting. 4. Adolescents with normal weight reported higher body satisfaction and higher self-esteem than those with overweight and obesity, while those with overweight reported higher body satisfaction and higher self-esteem than those with obesity. 5. Female early and late adolescents with normal weight reported higher body satisfaction than those with obesity. 6. Male early and late adolescents with normal weight reported higher body satisfaction than those with overweight and obesity. 7. Among those with normal weight, male early adolescents reported higher body satisfaction than female early and late adolescents. 8. Among early and late adolescents with obesity, females reported higher body satisfaction than males. 9. Among early and late adolescents, both males and females, with normal weight and overweight reported higher levels of self-esteem than those with obesity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15678
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Praweenar_Th.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.