Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15752
Title: | การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ด้วย Fe-EDTA |
Other Titles: | Removal hydrogen sulfide by Fe-EDTA |
Authors: | พันสิน บุศยดิลกสกุล |
Advisors: | อาทิวรรณ โชติพฤกษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | artiwan.sh@chula.ac.th |
Subjects: | ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ด้วยวิธีการรีดอกซ์ในเฟสของเหลว (Liquid redox) จะลดปริมาณการเกิดของเสีย ลดการใช้สารเคมี รวมทั้งยังทาให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นซึ่งคือกำมะถัน โดยสารรีดอกซ์ที่เรานำมาศึกษาในงานวิจัยนี้คือ Fe-EDTA เนื่องจากหาได้ง่าย เสื่อมสลายได้น้อยและมีราคาถูก งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประยุกต์การนำ Fe-EDTA ไปใช้ในอุตสาหกรรม โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ส่วนคือ 1) เปรียบเทียบการดูดซึมของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์กับปฏิกิริยารีดักชันของ Fe-EDTA เพื่อให้ทราบถึงปฏิกิริยาที่ควบคุมกระบวนการโดยรวม 2) ศึกษาจลนศาสตร์ของปฏิกิริยารีดักชันของ Fe-EDTA กับไฮโดรเจนซัลไฟด์อิออน 3) ศึกษาจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาออกซิเดชันของ Fe-EDTA กับออกซิเจน และ 4) ทดสอบความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่และอัตราการเสื่อมสลายของ Fe-EDTA โดยศึกษาที่สภาวะอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความดัน 1 บรรยากาศ โดย pH ที่ใช้สำหรับการทดลองในที่นี้ คือ pH 9 ซึ่งจากการทดลองเบื้องต้นพบว่าเป็น pH ที่เหมาะสมที่สุด จากผลของงานวิจัยนี้ สรุปได้ว่าขั้นตอนการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปฏิกิริยารีดักชันเป็นขั้นตอนในการกำหนดหรือควบคุมปฏิกิริยาโดยรวม และจลนศาสตร์ของปฏิกิริยารีดักชันเป็นแบบปฏิกิริยาลำดับที่สองโดยขึ้นอยู่กับ ความเข้มข้นของ Fe(III)EDTA และไฮโดรเจนซัลไฟด์อิออน (HS–) และเมื่อออกซิเจนมากเกินพอจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นแบบปฏิกิริยาลำดับที่สองโดยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ Fe(II)EDTA นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า Fe-EDTA ที่นำกลับมาใช้ใหม่นั้น มีประสิทธิภาพในการเกิดปฏิกิริยารีดักชันและออกซิเดชันใกล้เคียงเดิม โดยพบว่ามีการเสื่อมสลายของ Fe-EDTA ประมาณ 3% ต่อรอบการทดลอง |
Other Abstract: | In the petroleum industry, removal of hydrogen sulfide by liquid redox method has advantages such as waste reduction and minimal chemical addition. In addition, the process producs sulphur as a byproducts. Fe-EDTA is redox agent used in this research because of its availability, low degradation and low cost. This research aims to apply Fe-EDTA for liquid redox process to remove hydrogen sulfide from industrial stream. The study was divided into 4 parts: 1) to compare between the absorption of hydrogen sulfide and reduction of Fe-EDTA to understand which of these reactions controls the process 2) to study the kinetics of reduction of Fe-EDTA with hydrogen sulphide ions and 3) to study the kinetics of oxidation of Fe-EDTA with oxygen and 4) to study the reusability and degradation rate of Fe-EDTA at the operating condition at 25 degrees C and 1 atmosphere. First, the optimal pH for the experiment was was to be at pH 9. Based on experiments carried out at this pH condition, it can be concluded that reduction of Fe-EDTA is the limiting step of the overall reaction of hydrogen sulfide removal. Furthermore, the kinetics of reduction is was to be a second order reaction based on the concentration of Fe(III)EDTA and hydrogen sulfide ions (HS-) and the oxidation reaction in excess oxygen was found be a second order reaction, and was dependent on only the concentration of Fe(II)EDTA.In addition, Fe-EDTA could potentially be recovered and reused with comparable reactivity for reduction and oxidation in each cycle. The degradation of Fe-EDTA was found to be about 3% per cycle. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15752 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.72 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.72 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pansin_bu.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.