Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15815
Title: ระบบบริการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดน่าน
Other Titles: The elderly nursing service system in the community, Nan Province
Authors: ละเอียด รักษ์เลิศวงศ์
Advisors: สุวิณี วิวัฒน์วานิช
จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
wattanaj@yahoo.com
Subjects: ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
ผู้สูงอายุ -- การดูแล
บริการการพยาบาล
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาระบบบริการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดน่าน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบบริการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดน่าน ไปใช้จริง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุจำนวน 23 คน ประกอบด้วยผู้บริหารด้านผู้สูงอายุ 8 คน ผู้ปฏิบัติการพยาบาลด้านผู้สูงอายุ 8 คน และนักวิชาการด้านผู้สูงอายุ 7 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อรวบรวมคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 รอบ คือ รอบที่ 1 เป็นแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็น แบบสอบถามที่ได้จากการนำคำตอบของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และเครื่องมือประเมินความเป็นไปได้ในการนำระบบบริการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดน่าน ไปใช้จริง โดยสอบถามพยาบาลชุมชน จังหวัดน่าน จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัธยฐานและค่าพิสัย ระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบบริการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดน่าน ประกอบด้วย 8 ด้าน 44 รายการ ดังนี้ 1) ด้านการจัดระบบข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน มี 6 รายการ 2) ด้านการให้ความรู้/คำปรึกษาที่บ้าน มี 7 รายการ 3) ด้านการเยี่ยมบ้าน มี 6 รายการ 4) ด้านการฟื้นฟูสภาพที่บ้าน/ในชุมชน มี 6 รายการ 5) ด้านการพยาบาลที่บ้าน มี 5 รายการ 6) ด้านการบริการดูแลทดแทน มี 4 รายการ 7) ด้านการบริการประคับประคองและการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต มี 5 รายการ 8) ด้านการติดตามต่อเนื่องในการรักษาโรคเรื้อรัง มี 5 รายการ ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบบริการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดน่าน ไปใช้จริง พบว่า ระบบบริการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดน่าน มีความเป็นไปได้ในระดับมากจำนวน 36 รายการ ระดับความเป็นไปได้ปานกลาง จำนวน 7 รายการ ได้แก่ 1) ด้านบริการ มี 4 รายการ คือ ระบบตรวจสอบข้อมูล ผู้สูงอายุให้เป็นปัจจุบัน แบบประเมินผู้สูงอายุครอบคลุมด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ระบบแจ้งข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุคืนสู่ชุมชน และแผนการจัดหาบุคลากรประจำศูนย์บริการทดแทน 2) ด้านงบประมาณ มี 2 รายการ คือ การเบิก-จ่าย วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้พยาบาลที่บ้านและงบประมาณสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 3) ด้านวิชาการมี 1 รายการ คือ การจัดทำสื่อตามการรับรู้ของผู้สูงอายุ ส่วนระดับความเป็นไปได้น้อย มี 1 รายการ คือ การเบิก-จ่าย วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลทดแทน ผลการศึกษาให้ข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล สถานีอนามัย ควรจัดระบบข้อมูลผู้สูงอายุที่มีข้อมูลครบทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม วางระบบสนับสนุนในการจัดเก็บและส่งข้อมูลให้แก่ชุมชน และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลไปบริหารจัดการในการจัดบริการแก่ผู้สูงอายุ อย่างครอบคลุมต่อไป
Other Abstract: To study the elderly nursing service system in the community, Nan province by using Delphi Technique and testing of feasibility of this elderly nursing service system. The subjects were 23 of elder care experts who were: 8 administrators in elderly care management, 8 expert nurse and 8 academics in elderly. The Delphi Technique consisted of 3 rounds. The first round was structure questionnaire which was built by researcher, the second and the third round was rating scale questionnaire which in 5 levels. These questionnaire were analyzed from the first and the second round data. The statistic used median and interquatile range. The feasibility of using the elderly nursing service system in the community, Nan province was tested by 30 Nan community nurses. The questionnaire has 5 level of feasibility, mean and standard deviation were used for data analysis. The results showed the elderly nursing service system in the community, Nan province consisted of 8 domains 44 items as per: 1) The system of collecting elderly data, 6 items 2) Health education and home counseling, 7 items 3) Home visit, 6 items 4) Rehabilitation at home or community, 6 items 5) Nursing care at home, 5 items 6) Respite care, 4 items 7) Supportive care and end of life care. 5 items 8) Follow up of continuing treatment in chronic disease, 5 items. The results of feasibility showed that the level of high feasibility has 36 items, The middle level has 7 items, they were: 1) The service system domain which has 4 items: system of elderly data update, the returning of elderly health status back to community, the evaluation form cover in health, social and economics data and the plan of volunteer seeking for respite care. 2). The budget domain were 2 items about equipments for nursing care at home and the budget for elderly learning. 3) The academic domain was volunteer training for respite care. For the small level of feasibility, it was only one item about the budget of equipment that will use for respite care. This study suggested that Health department, hospital and community health center should manage and support the system of collecting health status, economic and social data., these data should sent to community and departments that concerned to elderly care for participation of management of nursing service for elderly covertly.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15815
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1085
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1085
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
La-aied_Ru.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.