Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15817
Title: ระบบการให้คะแนนอัตโนมัติ โดยตรวจตามลำดับการเปลี่ยนแปลงของโปรแกรม
Other Titles: Automatic marking system using program editing sequence
Authors: ศิวนันทน์ บุญประเสริฐ
Advisors: สมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.P@Chula.ac.th
Subjects: การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา) -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นำเสนอระบบอัตโนมัติในการตรวจให้คะแนน สำหรับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปฏิบัติการการทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยปรกติการตรวจให้คะแนนใช้ชุดคำสั่งทดสอบตรวจผลการดำเนินการของโปรแกรม เพื่อประเมินว่าโปรแกรมทำงานถูกต้องหรือไม่ สำหรับโปรแกรมที่ไม่ผ่านการทดสอบของชุดคำสั่ง ไม่สามารถประเมินให้คะแนนได้ ระบบควรนำรหัสต้นฉบับของโปรแกรมมาวิเคราะห์เพื่อให้คะแนนบางส่วน ระบบที่นำเสนอนี้นำลำดับการเปลี่ยนแปลงของรหัสต้นฉบับของโปรแกรมมาวิเคราะห์แทนที่จะใช้รหัสต้นฉบับท้ายสุด การบันทึกลำดับการเปลี่ยนแปลงของรหัสต้นฉบับระหว่างการเขียนโปรแกรม อาศัยโปรแกรมเสริมที่ได้พัฒนาขึ้นและติดตั้งให้กับโปรแกรมแก้ไขรหัสต้นฉบับ ลำดับการเปลี่ยนแปลงของรหัสต้นฉบับที่บันทึกได้ จะถูกนำมาเปรียบเทียบความละม้ายกับชุดของเฉลยที่มี เพื่อหาคู่ของรหัสต้นฉบับกับชุดเฉลยที่ละม้ายที่สุด แล้วนำมาคำนวนให้คะแนนโดยอาศัยค่าความละม้ายและส่วนเบี่ยงเบนของค่าความซับซ้อนของโปรแกรม ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ระบบอัตโนมัติให้คะแนนที่ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสม กับโปรแกรมของผู้เรียนที่ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยชุดคำสั่งทดสอบ
Other Abstract: To present an automatic system for marking online computer programming sessions. Marking is normally done by performing a functional testing script on student programs. For any program which does not pass the testing script, its source code should be statically analyzed to give some partial credit. Rather than analyzing a final source code of the programming session, the system considers all editings of student's source code. A plugin module for source-code editor was developed for storing all source code editings during a programming session. The editing sequence are approximately pairwise-matched with a predefined set of solutions. Finally, marking is done based on the most similarly-matched pair of student's source code and solution. A combination of similarity and complexity distance metrices are used to mark the source code. Experimental results showed that the system automatically gives reasonable partial credits to functionally-failed programs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15817
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1481
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1481
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siwanan_Bo.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.