Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15838
Title: | การนำธาตุอาหารในน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกรกลับมาใช้ประโยชน์โดยการตกผลึกแมกนีเซียม แอมโมเนียม ฟอสเฟต |
Other Titles: | Nutrients recovery from swine effluent by magnesium ammonium phosphate precipitation |
Authors: | ตวงกมล พฤทธิ์ธโนปจัย |
Advisors: | สุธา ขาวเธียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sutha.K@eng.chula.ac.th |
Subjects: | การตกตะกอน (เคมี) น้ำเสีย การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์ แมกนีเซียม แอมโมเนีย |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะพีเอชและชนิดของวัสดุเป้าสัมผัสที่เหมาะสมในการตกตะกอนผลึก MAP ในน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร โดยบ่างการทดลองออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก ศึกษาสภาวะพีเอชที่เหมาะสมในการตกตะกอนผลึก MAP ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และในส่วนที่สอง ศึกษาชนิดของวัสดุเป้าสัมผัสที่เหมาะสมต่อการตดตะกอนผลึก MAP โดยวัสดุเป้าสัมผัสที่ใช้มี 2 ชนิด คือ ผลึก MAP และทรายแก้ว ผลการศึกษาส่วนที่ 1 พบว่า พีเอชที่เหมาะสมในการตกตะกอนผลึก MAP คือ ช่วงพีเอช 8-9 ประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัส เท่ากับ 83-91 และ 73-87 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อใช้วัสดุเป้าสัมผัส พบว่า การใช้ ผลึก MAP9 MAP10 และทรายแก้ว ปริมาณ 1.0 กรัม เป็นวัสดุเป้าสัมผัส จะเกิดการตกตะกอนผลึก MAP เหมาะสมที่สุด ประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเมื่อใช้ผลึก MAP เป็นวัสดุเป้าสัมผัส เท่ากับ 88-91 และ 57-93 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับและเมื่อใช้ทรายแก้วเป็นวัสดุเป้าสัมผัส พบว่า ประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเท่ากับ 86-93 และ 68-99 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการศึกษาส่วนที่ 2 ศึกษาในน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร โดยใช้สภาวะที่เหมาะสมในการทดลองส่วนที่ 1 พบว่า พีเอชที่เหมาะสมในการตกตะกอนผลึก MAP คือ พีเอช 8.5 และวัสดุเป้าสัมผัสที่เหมาะสมในการตกตะกอนผลึก MAP คือ ผลึก MAP9 ปริมาณ 1.0 กรัม ที่พีเอชของสารละลาย 8.5 ประสิทธิภาพการบำบัดไนโตรเจนเท่ากับ 83 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นในการตกผลึก MAP เป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจในการนำธาตุอาหารที่มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม ออกจากน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร ซึ่งผลึกดังกล่าวมีศักยภาพในการนำไปใช้เป็นปุ๋ยสำหรับการเกษตร |
Other Abstract: | The objective of this research was to find the optimum pH and appropriate seed for Magnesium Ammonium Phosphate (MAP) precipitation from synthetic wastewater and swine wastewater. The study was divided into 2 parts. First, the effects of solution pH on weight and characteristics of the Magnesium Ammonium Phosphate precipitated were investigated with vary pH by Sodium Hydroxide. In the second part, the effects of seeds, Magnesium Ammonium Phosphate precipitated and silica sand, on Magnesium Ammonium Phosphate precipitation were studied. The results of part one showed that the optimum solution pH for precipitation was between 8-9. The efficiency of nitrogen and phosphorus removal were 83-91 and 73-87 percent for wastewater and the efficiency of nitrogen and phosphorus removal were 86-93 and 68-99 percent for wastewater with silica sand seed. The results from part two indicated that the optimum solution pH for precipitation is pH 8.5 and the optimum seeds for Magnesium Ammonium Phosphate precipitated was Magnesium Ammonium Phosphate precipitated 9 (MAP9) 1.0 gram to solution pH of pH 8.5. The efficiency of nitrogen removal was 83 percent. The results showed that the present of Magnesium Ammonium Phosphate precipitated as seed can induce precipitation but it also decreased the efficiency of nitrogen and phosphorus removal of wastewater. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15838 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.866 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.866 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tuangkamon_pl.pdf | 4.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.