Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16000
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพร ภักดีผาสุข-
dc.contributor.authorพรสรัญ แสงปรีดีกรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2011-09-25T15:09:00Z-
dc.date.available2011-09-25T15:09:00Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16000-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและความหมายของชื่อรุ่นจตุคามรามเทพ และความสัมพันธ์ระหว่างชื่อรุ่นจตุคามรามเทพกับสังคมวัฒนธรรมไทย โดยศึกษาจากชื่อรุ่นจตุคามรามเทพที่สามารถหาที่มาและความหมายของชื่อจากผู้จัดสร้างได้ มีจำนวนทั้งหมด 502 ชื่อ ผลการศึกษาวิจัย ด้านที่มาและความหมายของชื่อรุ่นจตุคามรามเทพ พบว่า กลุ่มที่มาและความหมายของชื่อรุ่นจตุคามรามเทพที่ปรากฏความถี่สูงสุด คือ กลุ่มความเชื่อในอำนาจบารมีของจตุคามรามเทพ รองลงไป ได้แก่ กลุ่มกระบวนการจัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ กลุ่มความเชื่ออื่นๆ กลุ่มลักษณะของวัตถุมงคลจตุคาม-รามเทพ และกลุ่มประวัติความเป็นมาของจตุคามรามเทพ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาที่มาและความหมายของชื่อรุ่นจตุคามรามเทพที่จัดอยู่ในกลุ่มใหญ่ทั้ง 5 กลุ่มข้างต้น พบว่า ที่มาและความหมายของชื่อรุ่นจตุคามรามเทพที่มีความถี่สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ลำดับที่ 1 ความเชื่อในอำนาจบารมีของจตุคามรามเทพในด้านความมั่งคั่งร่ำรวย ลำดับที่ 2 ข้อมูลของผู้จัดสร้าง และลำดับที่ 3 วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ ตามลำดับ ด้านโครงสร้างทางความหมายของชื่อรุ่นจตุคามรามเทพ พบว่า มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่โครงสร้างทางความหมายแบบ 1 องค์ประกอบ ถึง 5 องค์ประกอบ โครงสร้างทางความหมายที่นิยมมากที่สุด คือ โครงสร้างทางความหมายแบบ 1 องค์ประกอบ ด้านความสัมพันธ์ของชื่อรุ่นจตุคามรามเทพกับสภาพสังคมไทยในช่วงเวลาที่มีการจัดสร้าง พบว่า ช่วงแรกเริ่ม (พ.ศ.2530-2546) นิยมตั้งชื่อรุ่นโดยเน้นเรื่องวัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง ช่วงเริ่มได้รับความนิยม (พ.ศ. 2547 – 2549) เริ่มนิยมตั้งชื่อรุ่นโดยเน้นเรื่องความเชื่อในอำนาจบารมีของจตุคามรามเทพ และในช่วงกระแสนิยมสูงสุด (พ.ศ.2550) นิยมตั้งชื่อรุ่นโดยเน้นเรื่องอำนาจบารมีของจตุคามรามเทพ โดยเฉพาะในด้านการอำนวยความมั่งคั่งร่ำรวย และการตั้งชื่อรุ่นจตุคามรามเทพมีส่วนสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดในสังคมไทยในช่วงเวลานั้นๆ ด้วย นอกจากนี้ การตั้งชื่อรุ่นจตุคามรามเทพยังสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเชิงพุทธพาณิชย์ โดย ตั้งชื่อรุ่นให้มีลักษณะเด่นด้านภาษาในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การใช้เสียงสัมผัสคล้องจองเพื่อความไพเราะ การซ้ำคำเพื่อเน้นย้ำความหมาย การซ้อนคำเพื่อเน้นย้ำความหมาย การใช้ภาษาพูดเพื่อสร้างความโดดเด่น การใช้คำวิเศษณ์ขยายเพื่อเพิ่มความหมายของคำ และการใช้คำพ้องเพื่อสื่อความหมาย 2 ชั้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความแปลกและโดดเด่นให้แก่ชื่อรุ่นจตุคามรามเทพซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างความนิยมให้แก่วัตถุมงคลจตุคามรามเทพรุ่นนั้นๆ ได้ ด้านความสัมพันธ์ของชื่อรุ่นจตุคามรามเทพกับความเชื่อและค่านิยมของคนในสังคมไทย พบว่าความเชื่อที่สะท้อนจากชื่อรุ่นจตุคามรามเทพ มีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 2. ความเชื่อเกี่ยวกับลัทธิศาสนา 3. ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ 4. ความเชื่อเกี่ยวกับจำนวนและตัวเลข และ 5. ความเชื่อเกี่ยวกับโหราศาสตร์ ส่วนค่านิยมของคนในสังคมไทยที่สะท้อนจากชื่อรุ่นมากที่สุด ได้แก่ ค่านิยมด้านความมั่งคั่งร่ำรวยen
dc.description.abstractalternativeThis research aims to examine the entitling of Chatukarmramathep by focusing on the meanings and the relationship between the titles and Thai culture. The analysis is based on 502 titles of Chatukarmramathep, of which meanings designated by the creators are contemporarily traceable. In terms of the meaning assigned by the creators, it is found that meanings based on the beliefs of Chatukarmramathep’s supernatural power are the most adopted. Other frequently adopted meanings include meanings related to the producing process of Chatukarmramathep amulets, meanings related to other beliefs in Thai society, meanings based on the attributes of Chatukarmramathep amulets, and meaning related to the life stories of Chatukarmramathep respectively. In particular, meanings related to the beliefs of Chatukarmramathep’s power to bestow wealth and affluence, meanings related to the personal information of the creators of Chatukarmramathep amulets, and meanings related to the objectives of the creation of Chutukarmramathep amulets, respectively, rank the top three popular. As for semantic structure, the analysis reveals that several structural patterns are adopted, ranging from one-component structure to five-component structure. The most adopted is one-component structure. In terms of the relation between the titles of Chatukarmramathep and Thai socio-cultural context, during the beginning period (B.E. 2530-2546), the titles related to the objectives of the creation of Chatukarmramathep amulets are mostly found. Next, during the early popular period (B.E. 2547-2549), the titles emphasizing to the beliefs of the supernatural power of Chatukarmramathep are mostly adopted. Last, during the highest stage of popularity (B.E. 2550), most titles are also related to the supernatural power of Chatukarmramathep, especially the power to bestow wealth and affluence. The entitling of Chatukarmramathep is fairly related to some situations happened in Thai society during each period. In addition, the entitling of Chatukarmramathep is associated with the commercial purpose of the amulet production. Several linguistic strategies are adopted to create attractive titles including using rhythmic sound to create melodious sound, using repetition to emphasize the meaning, using compound words called khamson to emphasize the meaning, using spoken language to create distinctiveness, using adverbs to modify the meaning, and using homonyms to create double meaning. All of these are aimed to create attractive titles which are a factor of the popularity of Chatukarmramathep amulets. For the relationship between the titles of Chatukarmramathep and beliefs as well as value in Thai society, it is found that beliefs that reflected from the titles of Chatukarmramathep can be categorized into five groups: 1) beliefs in sacred power, 2) religious beliefs, 3) beliefs in superstition 4) beliefs in numbers and figures and 5) beliefs in astrology. In terms of social value, as reflected in many titles of Chatukarmramathep, wealth and affluence are highly regarded.en
dc.format.extent2719674 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1209-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความเชื่อen
dc.subjectการตั้งชื่อen
dc.subjectจตุคามรามเทพen
dc.subjectวัฒนธรรมไทยen
dc.subjectภาษากับวัฒนธรรมen
dc.subjectค่านิยม -- ไทยen
dc.titleการตั้งชื่อรุ่นจตุคามรามเทพ : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมไทยen
dc.title.alternativeChatukhamramathep entitling : a study of relationship between the Thai language and cultureen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSiriporn.Ph@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1209-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornsarun_sa.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.