Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16012
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ฤกษะสุต-
dc.contributor.authorรุจิรา ญาณะเหล็ก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.coverage.spatialสหรัฐอเมริกา-
dc.coverage.spatialชิลี-
dc.date.accessioned2011-09-26T08:13:01Z-
dc.date.available2011-09-26T08:13:01Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16012-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อมในความตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างสหรัฐอเมริกาและชิลีมีความไม่ชัดเจนหลายประการ กล่าวคือ การไม่มีบทบัญญัติกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายที่ให้การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การไม่มีบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียด อันเป็นแนวทางในการพิจารณา การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ การบัญญัติถึงเฉพาะกรณีที่จะไม่ผ่อนปรนการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุน แต่ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีที่เพิ่มความเข้มงวดในการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม แล้วทำให้การค้าและการลงทุนอ่อนแอลงว่า สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร การไม่มีบทบัญญัติกำหนดลำดับศักดิ์ระหว่างข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อมและข้อบทอื่น ๆ ในข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อม การบัญญัติรับรอง Paragraph 31 (i) ของปฏิญญาโดฮา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม (MEAs) และกฎเกณฑ์ของ WTO โดยรัฐคู่ภาคีตกลงกันที่จะนำผลการเจรจาดังกล่าวมาปรึกษาหารือกัน เพื่อนำมาปรับใช้ กับความตกลงนี้ แต่เนื่องจากการเจรจาและการปรึกษาหารือยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน จึงทำให้ข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อมในกรณีนี้ไม่มีความชัดเจนไปด้วย และ การไม่บัญญัติกรณีที่รัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นภาคีสมาชิกของ ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม (MEAs) ทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติตามพันธกรณีของรัฐภาคีฝ่ายที่เป็นภาคีสมาชิกของความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม (MEAs) ปัญหาความไม่ชัดเจนของข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาในการตีความ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น โดยจากการศึกษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในความตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) พบว่า มักจะมีการตีความคุ้มครองการค้าและการลงทุนมากกว่า เรื่องสิ่งแวดล้อม ผลจากการตีความดังกล่าว ทำให้ข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่อาจบรรลุเป้าหมายได้จริงในทางปฏิบัติ อีกทั้ง ยังก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติตามพันธกรณีในความตกลงพหุภาคี ด้านสิ่งแวดล้อม (MEAs) แก่ฝ่ายที่เป็นภาคีสมาชิกอีกด้วยen
dc.description.abstractalternativeThe Environment Chapter in the US-Chile Free Trade Agreement has problems concerning clarifications of the regulations, as follow : there is no regulation to set a minimum standard in the environmental protection laws; there is no regulation to set the rules and details which are the guidance to effectively enforce environmental laws; there is only the regulation stating that it is inappropriate to encourage trade or investment by weakening or reducing the protections afforded in environmental laws but, on the other hand, whether or not the parties should encourage or increase the protections afforded in environmental laws by weakening trade or investment is not clear; there are no rules for that case; in the environment chapter, there is no enforcement hierarchy between the environment chapter and the others; in the recognition of paragraph 31 (i) of the Ministerial Declaration adopted on November 14, 2001 in Doha, WTO, which has the objective to negotiate the relationship between existing WTO rules and specific trade obligations set out in multilateral environmental agreements (MEAs), the Parties agree to take the result of such negotiation for adjustment to the Agreement. There is no clarified conclusion to the negotiation which means the environment chapter also has no clarification; and there is no rule in case of only one party being a party to MEAs which causes problems for that party fulfilling its obligations in the MEAs.The problem concerning clarification of the rules causes problems of interpretation when a dispute arises. The study of environmental disputes in North America Free Trade Agreement (NAFTA) found that interpretations tending to protect investment and trade were more likely than the protecting environment. The result of these interpretations has been that the environment chapter can not be put into practice, as well as causing problems for party to MEAs to conform to its MEAs obligations as well.en
dc.format.extent1938968 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.360-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเขตการค้าเสรีen
dc.subjectสหรัฐอเมริกา -- การค้ากับต่างประเทศen
dc.subjectชิลี -- การค้ากับต่างประเทศen
dc.subjectกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศen
dc.titleพันธกรณีตามข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อมในความตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคี : ศึกษากรณีประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศชิลีen
dc.title.alternativeThe obligations of environment chapter in Free Trade Agreement : a study on US-Chileen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.360-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rujira_Ya.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.