Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16081
Title: บทบาทและการใช้ประโยชน์ของพิ้นที่เปิดโล่งของวิทยาเขตในประเทศไทย
Other Titles: Role and function of campus open space in Thailand
Authors: สุภลัคน์ ผิวบาง
Advisors: จามรี อาระยานิมิตสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chamree@hotmail.com
Subjects: พื้นที่โล่ง
สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย
การใช้ที่ดิน
วิทยาเขต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่เปิดโล่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในวิทยาเขต ที่ช่วยผสานการใช้ที่ดินที่หลากหลายและอาคารที่มีรูปแบบแตกต่างกัน ให้เกิดเป็นภาพรวมที่มีเอกภาพ ความเข้าใจในบทบาทและการใช้ประโยชน์ของพื้นที่เปิดโล่ง จะช่วยให้สามารถออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จในด้านการใช้งานและเป็นจินตภาพที่ดีของวิทยาเขต ในวิทยานิพนธ์นี้ได้ศึกษาพื้นที่เปิดโล่งใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) บทบาทของพื้นที่เปิดโล่งในการวางผังวิทยาเขต 2) ความหลากหลายของกิจกรรมและการใช้งาน และ 3) องค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่เปิดโล่ง จากการศึกษาพื้นที่เปิดโล่งของวิทยาเขตในประเทศไทย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้คัดเลือกพื้นที่เปิดโล่งส่วนกลางที่มีความสำคัญของวิทยาเขต โดยการศึกษาและวิเคราะห์ผังแม่บท สังเกตการณ์และสอบถามข้อมูลจาก เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกายภาพของวิทยาเขต ในเรื่องกิจกรรม การใช้งาน และองค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่เปิดโล่ง ทำให้ได้ข้อค้นพบในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1) บทบาทของพื้นที่เปิดโล่งในการวางผังวิทยาเขต พื้นที่เปิดโล่งกำหนดแนวทางการขยายตัวของวิทยาเขต เป็นประโยชน์ในการค้นหาเส้นทาง รวมถึงชี้วัดความหนาแน่นของพื้นที่ใช้สอยในวิทยาเขต 2) ความหลากหลายของกิจกรรมและการใช้งาน พื้นที่เปิดโล่งถูกใช้งานเพื่อรองรับกิจกรรมในชีวิตประจำวันและกิจกรรมพิเศษต่างๆ เพื่อการศึกษา การนันทนาการ ออกกำลังกายและพักผ่อน รวมถึงการเป็นเส้นทางสัญจร 3) องค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่เปิดโล่งของวิทยาเขตที่สำคัญ ได้แก่ อาคารและสิ่งก่อสร้าง ลาน สนามหญ้าโล่งและทางเดินเท้า วัสดุพืชพันธุ์ และอุปกรณ์ประกอบภูมิทัศน์ ข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาจะเป็นแนวทางหนึ่งในการพิจารณาเพื่อ การวางผังแม่บทการออกแบบหรือปรับปรุงพื้นที่เปิดโล่งของวิทยาเขต ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการเรียนรู้ สำหรับนิสิตนักศึกษา บุคลากรในวิทยาเขต และชุมชนโดยรอบ
Other Abstract: Open space is a key component of campus planning for assembling various landuse and all buildings to achieve the unity of image. Understanding of role and function of open space can strengthen the campus planning to be more effective and successful in terms of operation and impression. This thesis aims to study campus open space in three aspects: 1) role of open space in campus planning; 2) activities and function; and 3) physical elements within open space. Five case studies of common open space were undertaken. The selected campuses are: Chulalongkorn University; Thammasart University, Thaprachan; Silpakorn University, Whangthapra; Silpakorn University, Sanamchan Palace; and Thammasart University, Rangsit. With study and analysis of campus master plan, observation and official database of activities, usage and physical elements. The findings show that : 1) Role of open space in campus planning as future extension controlling, benefits way-finding and indicates density of the campus. 2) Activities and function of open space as supporting campus activities, both daily and occasional events for learning, passive and active recreation. 3) Significant physical elements within open space such as buildings, pavement, lawn, plant materials and outdoor furniture. The result of this study indicates that open space in campus play an important role in improving the quality of campus environment such as properly functioned space and learning environment for students, staffs and public communities, etc. Thus the issue of open space in campus should be integrated into the process of master planning and designing of campus as one of critical criteria.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16081
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.989
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.989
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supalak_Pu.pdf80.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.