Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16105
Title: การวิเคราะห์กระบวนการประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ : การวิจัยพหุกรณีศึกษาของครูต้นแบบและการวิจัยเชิงปริมาณ
Other Titles: An analysis of learning evaluation processes in science strand : a multi-case study research of master teachers and a quantitative research
Authors: พัชรีวรรณ สมเชื้อ
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Lawthong_n@hotmail.com
Subjects: การประเมินผลทางการศึกษา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อระบุวิธีการในการประเมินผลการเรียนรู้ ตั้งแต่การวางแผนการประเมินการประเมินผลก่อนเรียน การประเมินระหว่างเรียน การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียน และการนำผลการประเมินไปใช้ของครูต้นแบบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อสำรวจวิธีการในกระบวนการประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการที่ครูใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้เมื่อครูมีภูมิหลังแตกต่างกัน ได้แก่ ประสบการณ์การทำงาน การได้รับรางวัล และการได้รับการอบรมทางด้านการวัดและประเมินผล 4) เพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมให้การประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องตามแนวปฏิรูปมากที่สุดจากการศึกษาเชิงคุณภาพและการศึกษาเชิงปริมาณวิธีการดำเนินการวิจัยใช้วิธีการ 2 วิธี วิธีแรกเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพพหุนามกรณีศึกษา 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงบรรยาย วิธีวิจัยแบบที่สองเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย 349 คน จากโรงเรียน 158 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ที่มีความตรงเชิงเนื้อหาตามการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิและความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ตัวแปรพหุนาม ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ครูมีการจัดทำแผนการเรียนรู้ ประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ และประเมินผลให้สอดคล้องกับกิจกรรมผู้เรียน แต่ครูประสบปัญหาในการประเมินเพื่อวินิจฉัยจุดเด่นจุดด้อยของผู้เรียน ในการประเมินความรู้ในเรื่องที่จะเรียนก่อนการเรียนแต่ละครั้ง และการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ โดยวิธีที่ครูใช้ ได้แก่ การสังเกต การประเมินตามสภาพจริง และการทดสอบ ผลที่ได้จากการประเมิน คือนำไปใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด 2) ครูต้นแบบทั้ง 3 ท่านปฏิบัติสอดคล้องกันตามแนวปฏิบัติในการวัดและการประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ภูมิหลังที่แตกต่างกันทำให้ครูมีระดับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน 4) แนวทางส่งเสริมให้การประเมินสอดคล้องตามแนวการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติและเลือกใช้วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของแต่ละโรงเรียน
Other Abstract: The aims of this research were 1) to specify the methods of a learning evaluation processes of master teachers in science strand, in Pratom Suksa level and Matayom Suksa level, within Bangkok Metropolis, 2) to survey the methods of a learning evaluation processes of teachers in science strand, in Pratom Suksa level and Matayom Suksa level, within Bangkok Metropolis 3) to analyze factors supporting and obstructing achievement of the methods in learning evaluation processes of teachers in science strand, in Pratom Suksa level and Matayom Suksa level, within Bangkok Metropolis, 3) to compare the methods of a learning evaluation processes of teachers who have different background, 4) to analyze the guideline promoting consistency of the learning evaluation processes with the national education reform. Two types of research methods were conducted. First, a qualitative study using a multi-case study research of three master teachers. The research instruments were interview and observation forms. Data were analyze by using content analysis. Second, a quantitative study was performed with the samples consisted of 349 master teachers in science strand from 158 schools in Bangkok Metropolis, using a simple random sampling. The research instruments was questionnaire with content validity by experts, and with construct validity using factor analysis. Data was analyzed through frequency, percentage, mean, standard deviation and multivariate analysis of variance : MANOVA. The major finding of the research were as follows: 1) Teachers produced learning plans, assessed learning outcomes and assessed congruously with student activities. The teacher found difficulties in diagnosing students’ strengths and weaknesses, in pre-test knowledge assessment, and in encouraging students to participation in assessment. The teachers used the methods of observation, authentic assessment and testing. The assessment outcomes were highly adopted to plan the learning activities. 2) Three master teachers complied with the national curriculum guideline 3) teacher who has different background will have different level of action. 4) The guideline promoting related to the learning evaluation processes with the national education reform were to be trained in the learning evaluation, to enhance implementation skills and to apply learning evaluation methods with appropriated school contexts.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16105
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.488
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.488
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pachareewan_So.pdf19.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.