Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16107
Title: องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง
Other Titles: The components of competency of mentors in nursing
Authors: นันทวัน ดาวอุดม
Advisors: บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Boonjai.S@Chula.ac.th
Subjects: พยาบาลพี่เลี้ยง
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำหน้าที่พยาบาลพี่เลี้ยงแก่พยาบาลจบใหม่มากกว่า 5 ปี จำนวน 502 คน ในโรงพยาบาลตติยภูมิ จำนวน 10 แห่ง ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามองค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 58 ตัวแปร ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ . 983 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสกัดองค์ประกอบหลัก Principle component analysis และหมุนแกนแบบตั้งฉาก (Orthogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ องค์ประกอบสมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยงมี 5 องค์ประกอบ 56 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 59.992 โดยมีองค์ประกอบดังนี้ 1)ด้านการสอนงาน เป็นองค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง ที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 18.164 มีตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ จำนวน 18 ตัวแปร 2)ด้านการเป็นที่ปรึกษา เป็นองค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง ที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 16.066 มีตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ จำนวน 17 ตัวแปร 3)ด้านการเป็นผู้นำ เป็นองค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง ที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 9.649 มีตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ จำนวน 10 ตัวแปร 4)ด้านการสร้างสัมพันธภาพ เป็นองค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง ที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 8.775 มีตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ จำนวน 8 ตัวแปร 5)ด้านการเป็นกัลยาณมิตร เป็นองค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยง ที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 7.339 มีตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ จำนวน 3 ตัวแปร
Other Abstract: The purpose of this research was to study the components contributing to competency of mentors in nursing. The sample consisted of 502 professional nurses from 10 tertiary hospitals who had at least 5 years experience in mentor. Questionnaire was developed by researcher and judged to be acceptable by the panel of experts. Cronbach’s alpha coefficient was .983 . The preliminary scale consisted of 58 items anchored by a rating scale. The data was analyzed by principle component factor analysis and followed by varimax orthogonal rotation. The research findings were as follows: There were 5 significant components of competency of mentors in nursing that were described by 56 items accounting for 59.992 % of variances. 1) Coaching described by 18 items accounted for 18.164 % of variances. 2) Consultant described by 17 items accounted for 16.066 % of variances. 3) Leader described by 10 items accounted for 9.649 % of variances. 4) Relationship described by 8 items accounted for 8.775 % of variances. 5) Good companion described by 3 items accounted for 7.339 % of variances.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16107
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.327
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.327
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntawan.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.