Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16118
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง-
dc.contributor.advisorพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์-
dc.contributor.authorนกุล โสตถิพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-10-07T09:26:02Z-
dc.date.available2011-10-07T09:26:02Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16118-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน ผลกระทบของผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัยด้านโครงสร้าง จุดมุ่งหมาย เนื้อหา และการประเมินผล เพื่อสร้างรูปแบบเชิงทฤษฎีเพื่อการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัย แล้วจึงวิเคราะห์สาระ สอบถามความคิดเห็นผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัย จำนวน 36 สถาบัน (n = 936) รวมทั้งนำผลไปวิเคราะห์ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างเชิงเส้น ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.54 ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้างมีคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย 2 คณะที่รับผิดชอบ คือ คณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการบริหาร 2) ด้านจุดมุ่งหมายส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา บุคลากร มีความสามัคคี ความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องและมีสุขภาพแข็งแรง 3) ด้านเนื้อหามีการจัดรูปแบบกิจกรรมโดยแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ กีฬามหาวิทยาลัยราชภัฎ กีฬามหาวิทยาลัยรอบคัดเลือก และกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีการประชุมสัมมนาด้านกีฬาขององค์การนักศึกษา และนันทนาการ 4) ด้านการประเมินผลมีการทำสรุปผลการแข่งขันทุกปี ในส่วนผลกระทบของผู้ฝึกสอนประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้างผู้ฝึกสอนขาดความรู้ ความเข้าใจในระบบโครงสร้างการบริหาร 2) ด้านจุดมุ่งหมายผู้ฝึกสอนมุ่งเน้นการเอาชนะ และความเป็นเลิศด้านกีฬา 3) ด้านเนื้อหาคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยยึดกีฬาสากลเป็นหลักทำให้เกิดปัญหากับนักกีฬา 4) ด้านการประเมินผลไม่มีการติดตามประเมินผลนักกีฬาทำให้นักกีฬาขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สำหรับรูปแบบเชิงทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ค่า Chi-square = 72.14,df = 91, p = 0.93, GFI = 0.99, AGFI = 0.98 มีตัวแปรที่สังเกตได้ 6 ตัว คือ บริบทกีฬามหาวิทยาลัย คุณสมบัติผู้ฝึกสอน บทบาทผู้ฝึกสอน ทักษะผู้ฝึกสอน กฎการทำงานเป็นทีม จิตวิทยาแห่งชัยชนะ และตัวแปรแฝง 21 ตัว คือ ปรัชญามหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ บุคลากร ความคิดริเริ่ม ความรับผิดชอบ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ กีฬา วิธีการสอน การทำงานเป็นทีม นักการฑูต ครู นักจิตวิทยา ผลตอบแทน การปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ การให้ความสำคัญกับทีม ภาวะผู้นำ ความไว้วางใจ ความเสมอต้นเสมอปลาย และการเรียนรู้en
dc.description.abstractalternativeThe object of this research were to study state of art of the operations and any impacts upon university sport coaches in terms of structures, purposes, subject matter and evaluation so as to construct a theoretical model for training of university sport coaches. Thereafter, documents were analyzed. Questionnaires were collected from coaches in 36 universities ( n = 36). Finally, validity of the linear structural model was validated by LISREL 8.54. Results indicated state of the art in operations composing of: 1) Structurally, two university sport committees were responsible, namely, operational and administrative ones; 2) Purposefully, unity were emphasized among students and personnel. Relationships among peers were reinforced and fitness was focused; 3) As for subject matter, three types of activities were prevalent. They were Rajbhat University Athletics, Qualifying Athletics and National University Athletics. Moreover, there were student government athletics seminars and recreations; 4) Regarding evaluations, annual results were summarized. Factors with impact upon coaches were: 1) Structurally, coaches lacked knowledge and understanding in administrative structure; 2) Purposefully, coaches focused on winning and athletic excellence; 3) Regarding subject matter, athletic committees favored universal sports causing some problems with players; 4) Lack of player follow-ups led to the lack of desirable characteristics. Theoretical model was confirmed by the empirical data. (Chi-square = 72.14, df = 91, p = 0.93, GFI = 0.99, AGFI = 0.98). Six observables were located, namely, university athletic context, coach qualifications, coach roles, coach skills, teamwork rules and psychology of winning. Twenty-one latent variables were university philosophy, objectives, personnel, initiatives, responsibilities, personalities, knowledge, sport competence, instructional deliveries, teamwork, diplomacy, teachers, psychologists, compensation, adaptability, team priority, leadership, trust, consistency and learning.en
dc.format.extent23421424 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1082-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้ฝึกกีฬา -- การฝึกอบรมในงานen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์en
dc.title.alternativeThe development of a Thai university collegiate coach training model to cultivate desirable characteristicsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPornchulee.A@Chul.ac.th-
dc.email.advisorPansak.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1082-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nakul_So.pdf22.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.