Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16126
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ | - |
dc.contributor.author | ชุติชล เอมดิษฐ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-10-17T03:00:07Z | - |
dc.date.available | 2011-10-17T03:00:07Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16126 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | ผลการวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับระบบปริชานเพื่อทดสอบสมมติฐานวอร์ฟในอดีตมีเป็นจำนวนมาก แต่ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาอิทธิพลของภาษาไทยต่อระบบปริชานของผู้พูดภาษาไทยอยู่เป็นจำนวนไม่มาก และไม่พบงานวิจัยที่ศึกษาอิทธิพลของภาษาขมุต่อระบบปริชานของผู้ที่พูดภาษาขมุเลย วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์สมมติฐานวอร์ฟ โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระบบคำกริยา ‘ตี’ ในภาษาไทย และภาษาขมุ ซึ่งได้แก่ ความมีชีวิตของวัตถุ ขนาดและรูปร่างของวัตถุ ลักษณะการใช้มือ ทิศทาง และน้ำหนัก กับระบบปริชานของผู้พูดภาษา ซึ่งตีความได้จากพฤติกรรมความใส่ใจ และการจำแนกประเภท ผู้วิจัยกำหนดจำนวนผู้ถูกทดลองที่พูดภาษาไทย และภาษาขมุเป็นภาษาแม่ภาษาละ 30 คน ในการทดลองเพื่อทดสอบความใส่ใจ ความมีชีวิตของวัตถุ ขนาดและรูปร่างของวัตถุ ลักษณะการใช้มือ ทิศทาง ผู้ถูกทดลองต้องเลือกภาพที่แตกต่างจากภาพอื่น จำนวนทั้งหมด 20 ชุด และการทดลองเพื่อทดสอบความใส่ใจน้ำหนัก ผู้ถูกทดลองจะถูกปิดตาและตัดสินว่าวัตถุในมือเหมือนกันหรือไม่ จำนวนทั้งหมด 5 ชุด และในการทดลองเพื่อทดสอบพฤติกรรมการจำแนกประเภทความมีชีวิตของวัตถุ ขนาดและรูปร่างของวัตถุ ลักษณะการใช้มือ ทิศทาง ผู้ถูกทดลองจะต้องตัดสินว่าภาพหรือวัตถุใดมีความคล้ายคลึงกับภาพหรือวัตถุต้นแบบมากที่สุด จำนวนทั้งหมด 40 ชุด และการทดลองเพื่อทดสอบพฤติกรรมการจำแนกประเภทน้ำหนัก ผู้ถูกทดลองจะต้องจับคู่วัตถุที่คิดว่าคล้ายคลึงกันมากที่สุด จำนวนทั้งหมด 10 ชุด งานวิจัยนี้มีสมมติฐานในการทดลองคือ ผู้ถูกทดลองที่พูดภาษาขมุจะแสดงให้เห็นในการทดลองว่ามีพฤติกรรมความใส่ใจ และการจำแนกประเภทเกี่ยวกับความมีชีวิตของวัตถุ ขนาดและรูปร่างของวัตถุ ลักษณะการใช้มือ ทิศทาง และน้ำหนักมากกว่าผู้ถูกทดลองที่พูดภาษาไทย ผลการทดลองพบว่า เป็นไปตามสมมติฐานเป็นส่วนใหญ่ ผู้ถูกทดลองที่พูดภาษาขมุมีความใส่ใจความมีชีวิตของวัตถุ ลักษณะการใช้มือและน้ำหนักมากกว่าผู้พูดภาษาไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการทดลองเกี่ยวกับทิศทาง และขนาดและรูปร่างของวัตถุ และผู้ถูกทดลองที่พูดภาษาขมุมีพฤติกรรมการจำแนกประเภทโดยใช้เกณฑ์ความมีชีวิตของวัตถุ ลักษณะการใช้มือ ทิศทาง และน้ำหนักมากกว่าผู้ถูกทดลองที่พูดภาษาไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ผู้ถูกทดลองที่พูดภาษาไทย และภาษาขมุมีพฤติกรรมการจำแนกประเภทโดยใช้เกณฑ์ขนาดและรูปร่างของวัตถุไม่แตกต่างกัน ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ภาษามีความสอดคล้องกับพฤติกรรมทางปริชานของผู้พูดภาษา จะเห็นได้จากผู้พูดภาษาขมุมีพฤติกรรมความใส่ใจ และการจำแนกประเภทไปตามระบบของภาษา และกล่าวได้ว่าเป็นการสนับสนุนสมมติฐานวอร์ฟที่ว่า ภาษามีอิทธิพลต่อระบบปริชาน ภาษาที่แตกต่างกันส่งผลให้ผู้พูดภาษามีระบบปริชานที่แตกต่างกัน | en |
dc.description.abstractalternative | There are a lot of previous studies that deal with the relationship between language and cognition in order to verify the Whorfian Hypothesis, but there are very few studies concerning Thai on such a topic. Moreover, there has been no study on the influence of the Khmu language on the cognitive system of Khmu speakers. Thus, this thesis aims to verify the Whorfian Hypothesis by analyzing the relationship between the system of Thai and Khmu ‘hit’ verbs and the speakers’ cognitive system inferred from their behavior of attention and classification of objects in experiments. The hypothesis of this study is that Khmu speakers pay more attention to and classify objects based on the animacy, the size and shape of objects, hand shape, direction, and weight more than Thai speakers do. The subjects in the experiments consist of 30 Thai native speakers and 30 Khmu native speakers. The experiments of attention focus on the animacy of objects, size and shape of objects, hand shape, and direction. In each set of question, the subjects selected a picture that differed from the other two. In the experiment of attention to weight, the subjects, with their eyes closed, decided whether the object in their hands were same or different. In the experiments of classification based on the animacy of objects, size and shape of objects, hand shape, and direction, the subjects selected a picture or an object that was similar to the given picture or object. In the experiment of classification based on weight, the subjects grouped objects into sets. The results of the experiments mostly support the hypothesis. It was found that Khmu speakers paid more attention to the animacy of objects, hand shape, and weight more than Thai speakers. However, there was no statistically significant difference in the attention to size and shape of objects and direction between the two groups. In the experiments of classification, it was found that Khmu speakers classify objects based on the animacy of objects, hand shape, direction, and weight more than Thai speakers. On the other hand, both groups showed no statistically significant differences in classifying objects bases on their size and shape. The study shows that language is related to the cognitive system of its speakers, as evidenced in the results of experiments of attention and classification, which reveal that the behaviors of the subjects correspond to the pattern of the language. It can be concluded that the study supports the Whorfian Hypothesis; i.e., language influences the cognitive system or that speakers of different languages have different cognitive systems. | en |
dc.format.extent | 3753584 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1014 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สมมติฐานซาเพียร์-วอร์ฟ | en |
dc.subject | อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ | en |
dc.subject | ไวยากรณ์ปริชาน | en |
dc.subject | ภาษาขมุ | en |
dc.subject | ภาษาไทย -- สระ | en |
dc.subject | ภาษาขมุ -- สระ | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างระบบคำกริยา 'ตี' กับระบบปริชานของผู้พูดภาษาไทยและผู้พูดภาษาขมุ : การทดสอบสมมติฐานวอร์ฟ | en |
dc.title.alternative | The relationship between the system of 'hit' verbs and the cognitive system of Thai and Khmu speakers : a test of the Whorfian hypothesis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Amara.Pr@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1014 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chutichol_ae.pdf | 3.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.