Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16203
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณี แกมเกตุ | - |
dc.contributor.author | เทวิล ศรีสองเมือง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-11-25T08:09:41Z | - |
dc.date.available | 2011-11-25T08:09:41Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16203 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบรวมทั้งความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างองค์ประกอบของเครือข่ายในการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) พัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 25 คน สำหรับพิจารณารูปแบบเครือข่ายโดยใช้เทคนิคเดลฟาย และกลุ่มผู้บริหาร 75 คน ครู 190 คน ศึกษานิเทศก์ 4 คน นักเรียน 71 คน ปราชญ์ชุมชนหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น 53 คน และกรรมการสถานศึกษา 12 คน รวม 405 คน สำหรับพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบเครือข่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสำรวจความคิดเห็น โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบเครือข่ายไปใช้ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ คือ โครงสร้างของเครือข่าย วัตถุประสงค์ของเครือข่าย บทบาทหน้าที่ของสมาชิกเครือข่าย กิจกรรมของเครือข่าย ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากเครือข่าย และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเครือข่าย 2) บทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบของเครือข่าย ประกอบด้วย (1) กำหนดกรอบการประสานงานและความร่วมมือของสมาชิกเครือข่าย (2) กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของเครือข่าย (3) กำหนดภารกิจหรืองานที่สมาชิกในเครือข่ายร่วมกันทำ (4) กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมของเครือข่าย (5) กำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการให้ เกิดขึ้นกับเครือข่าย และ (6) กำหนดปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเครือข่าย ซึ่งองค์ประกอบของเครือข่ายทั้ง 6 ด้าน มีความสัมพันธ์เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน 3) รูปแบบเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 โดยด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือ ด้านวัตถุประสงค์ของเครือข่าย รองลงมาคือด้านผลลัพธ์ของเครือข่าย และด้านโครงสร้างของเครือข่ายกับด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเครือข่ายซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากัน โดยมีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.07, 4.02,และ 3.94 ตามลำดับ ด้านที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดคือ ด้านวัตถุประสงค์ของเครือข่าย รองลงมาคือ ด้านผลลัพธ์ของเครือข่าย และด้านโครงสร้างของเครือข่าย ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยของความเป็นไปได้เท่ากับ 3.68, 3.63, และ 3.56 ตามลำดับ | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study components of the instructional network model based on the sufficiency economy philosophy in basic education institutions, 2) to study the roles and duties of network components and the relationships among the components of learning and instructional provision based on the sufficiency economy philosophy in basic education institutions, and 3) to develop the instructional network model based on the sufficiency economy philosophy in basic education institutions. The research methodology was mixed methods of qualitative and quantitative research. The participants were 25 experts for Delphi technique to determine an instructional network model, and 75 headmasters, 190 teachers, 4 educators, 71 students, 53 philosopher of community to determine the appropriate and possible to be used of an instructional network model. The procedure of data collection consisted of interview, focus group discussion and survey by questionnaires. The data were analyzed by content analysis, analytic induction, and descriptive statistics, ie, mean, and standard deviation. The research findings were as follows: 1) The developed instructional network model based on the sufficiency economy philosophy in basic education institutions consisted six components; ie) the network structures, the network objectives, the roles and duties of network members, the network activities, the network output and factors affecting network success. 2) The roles and duties of 6 network components consisted of (1) specify the framework of coordination and cooperation of network members (2) specify the desired goal of network (3) specify the mission and job of network member’s cooperation. (4) specify network activities (5) specify the outcome of network and (6) specify the effect to the success of network. Each component has relation and support to one another. 3) The developed instructional network model based on the sufficiency economy philosophy in basic education institutions was highly appropriate to be used indicating by the average of 3.96 and it was highly possible to be practiced indicating by the average of 3.57. by the network objective was highly appropriate the network output, the network structure and factor effecting network success by the average of 4.07, 4.02 and 3.99 and it was highly possible the network objective, the network output and the network structure by the average of 3.68, 3.63, and 3.50. | en |
dc.format.extent | 3041307 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1179 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษาขั้นพื้นฐาน | en |
dc.subject | เศรษฐกิจพอเพียง -- ปรัชญา -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน | en |
dc.title.alternative | Development of an instructional network model based on the sufficiency economy philosophy in basic education institutions | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | wkaemkate@hotmail.com, Wannee.K@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1179 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Taewin_sr.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.