Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16217
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมบูรณ์ อินทร์ถมยา | - |
dc.contributor.author | เชิดพันธุ์ ร่วมสนิท | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-11-28T02:38:30Z | - |
dc.date.available | 2011-11-28T02:38:30Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16217 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ผลย้อนกลับที่มีต่อ ความสามารถในการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกยาวของผู้เล่นกีฬาแบดมินตัน และเพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ผลย้อนกลับระหว่างกลุ่มที่เสิร์ฟลูกโดยการ ให้ผลย้อนกลับที่เป็นคำพูดและการแสดงท่าทางการเสิร์ฟลูกที่ถูกต้องจากผู้ฝึก กลุ่มเสิร์ฟลูกโดยการให้ผลย้อนกลับที่เป็นภาพเคลื่อนไหวจากผู้ฝึก และกลุ่มที่เสิร์ฟลูกโดยการให้ผลย้อนกลับทั้งคำพูด การแสดงท่าทางการเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง และภาพเคลื่อนไหวจากผู้ฝึกกับกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชายและหญิงที่ลงทะเบียนเรียนวิชากิจกรรมแบดมินตัน จำนวน 60 คน ที่เข้ารับการทดสอบการตีลูกกระทบฝาผนังก่อนเข้าโปรแกรมฝึก โดยใช้แบบทดสอบการตีลูกกระทบฝาผนังของล็อคฮาร์ทและแมคเฟอร์สัน (Lockhart and McPherson Wall Volley Test) แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่มๆละ 15 คน กำหนดให้กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกการเสิร์ฟลูกโดยการให้ผลย้อนกลับที่เป็นคำพูดและการแสดงท่าทางการเสิร์ฟ ลูกที่ถูกต้องจากผู้ฝึก กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกการเสิร์ฟลูกโดยการให้ผลย้อนกลับที่เป็นภาพเคลื่อนไหวจากผู้ฝึก กลุ่มทดลองที่ 3 ฝึกการเสิร์ฟลูกโดยการให้ผลย้อนกลับทั้งคำพูด การแสดงท่าทางการเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง และภาพเคลื่อนไหวจากผู้ฝึก และกลุ่มควบคุม ฝึกการเสิร์ฟลูกโดยไม่ได้รับผลย้อนกลับจากผู้ฝึก โดยกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม จะต้องฝึกเสิร์ฟทั้งลูกสั้นหน้ามือ ลูกสั้นหลังมือและลูกยาว ทั้งจากสนามด้านซ้ายและสนามด้านขวา ทำการฝึกสัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันพฤหัสบดี ซึ่งทำการเสิร์ฟวันละ 60 นาที ฝึกทั้งสิ้นเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยจะได้รับการทดสอบการเสิร์ฟทั้งสนามด้านขวาและสนามด้านซ้ายในการทดสอบก่อน การฝึก ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ด้วยแบบทดสอบความสามารถในการเสิร์ฟลูกสั้นของของเฟรนช์ (French Short Serve Test) และแบบทดสอบการเสิร์ฟลูกยาวของสก็อตและฟอกซ์ (Scott and Fox Long Serve Test) แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทาง สังคมศาสตร์ สำหรับโปรแกรมวินโดวส์ รุ่น 11.5 โดยการหาค่าเฉลี่ย ([mean]) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ภายในกลุ่มใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) ระหว่างกลุ่มใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (One-Way Analysis of Covariance) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีของแอล เอส ดี (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1) การฝึกเสิร์ฟโดยการให้ผลย้อนกลับทำให้ความสามารถในการเสิร์ฟลูกสั้นและลูก ยาวของผู้เล่นกีฬาแบดมินตันเพิ่มขึ้นจากก่อนการฝึก 2) กลุ่มทดลองทั้งสามกลุ่มมีความสามารถในการเสิร์ฟลูกแบดมินตันสูงกว่ากลุ่มควบ คุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มทดลองที่ 3 มีความสามารถในการเสิร์ฟลูกแบดมินตันสูงกว่า กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to investigate and to compare the effects of feedback upon short serving and long serving performance of badminton players. The samples were 60 students who registered SP ACT-BADMINTON course. They were tested for 4 groups matching by Lockhart and Mcpherson Wall Volley Test. They were divided into three experimental groups and one control group. The first experimental group trained serving with speech and action feedback from the trainer. The second experimental group trained serving with motion picture feedback from the trainer. The third experimental group trained serving with speech, action and motion picture feedback from the trainer. For the control group they trained serving without any feedback from trainer.They trained serving 60 minutes a day, three days a week, for 8 weight weeks in the training program. They were tested on badminton serving performance before, and after 4th and 8th weeks of the practice periods, by French Short Serve Test and Scott and Fox Long Serve Test. The obtained data were analyzed in term of means and standard deviations. The One-Way Analysis of Variance and Scheffe’ tests were employed to determine significant differences of the means in group and The One-Way Analysis of Covariance and LSD tests were employed to determine significant differences of the means between groups. The results were as follows: 1) Feedback training plus in serving training had effects on short and long serving performance of badminton players. 2) The three experimental groups had higher badminton serving performance than control group significantly at the .05 level. 3) The third experimental group can significantly perform better than the first experimental group, the second experimental group and control group at the .05 level. | en |
dc.format.extent | 1663510 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.515 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แบดมินตัน | en |
dc.title | ผลของการให้ผลย้อนกลับที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกยาวของผู้เล่นกีฬาแบดมินตัน | en |
dc.title.alternative | Effects of feedback upon short serving and long serving performance of badminton players | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พลศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.515 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Cherdpun.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.