Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1623
Title: การศึกษาผลของแมงกานีสทางชีวเคมีและโลหิตวิทยาในคนงานโรงงานถ่านไฟฉาย : การวิจัย
Other Titles: ผลของแมงกานีสทางชีวเคมีและโลหิตวิทยาในคนงานโรงงานถ่านไฟฉาย : การวิจัย
Authors: ขนิษฐ บูรณศิริ
ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์
จวงจันทร์ ชันธชวงศ์
ประภา เลาหไพบูลย์
ช. เพิ่มสุข เพ็ชญไพศิษฏ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แมงกานีส--พิษวิทยา
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
อาชีวอนามัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คนงานที่ทำงานในโรงงานถ่านไฟฉายมีโอกาสสัมผัสกับแมงกานีสและตะกั่ว จึงได้ศึกษาสุขภาพของคนงานทำถ่านไฟฉาย 147 คน ซึ่ง 95% เป็นหญิง มีอายุระหว่าง 18-60 ปี พบว่ามีเปลือกตาซีด ปฏิกิริยาตอบสนองทางประสาทไว ความดันเลือดสูง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร มีโรคผิวหนัง ปวดข้อ ปวดหัวและอาการอื่น ๆ อาการอย่างใดอย่างหนึ่งมีพบในคนงาน 75% อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ ปวดหัว 38.5% รองลงมาคือ ซีด 27.4% อาการทางเดินอาหาร 21.5% อาการทางประสาท 20.7% ปวดข้อ 20% และอาการอื่น ที่พบน้อย ผลการตรวจระดับแมงกานีสในเลือดพบว่ามีค่าระหว่าง 1-5.99 ไมโครกรัม% ค่าเฉลี่ย 2.9 ไมโครกรม% สูงกว่าในกลุ่มควบคุมซึ่งมีค่าเฉลี่ย 0.87 ไมโครกรัม% และกลุ่มที่มีระดับสูงเกินปกติ (มากกว่า 4 ไมโครกรัม%) พบได้ 15% ส่วนระดับตะกั่วในเลือดมีค่าระหว่าง 1-50 ไมโครกรัม% ค่าเฉลี่ย 17.95% ค่าสูงกว่าปกติ (มากกว่า 40 ไมโครกรัม%) พบ 3% อาการต่าง ๆ พบได้ในกลุ่มคนงานที่มีระดับตะกั่วหรือแมงกานีสว่าพอ ๆ กับกลุ่มที่มีระดับสูง การศึกษาฮีโมโกลบินและรูปลักษณะของเม็ดเลือดแดง พบว่าคนงานที่มีค่าฮีโมโกลบินต่ำกว่าปกติ (มากกว่า 12 กรัม%) มี 31% และในจำนวนนี้มีระดับแมงกานีสสูงร่วมด้วย 36.8% ส่วนคนงานที่มีค่าแมงกานีสปกติจะพบเปอร์เซ็นต์การผิดปกติของฮีโมโกลบินน้อยลงตามไปด้วย ลักษณะของเม็ดเลือดแดงผิดปกติเกิน +1 ขึ้นไป ซึ่งได้แก่ target cell, burr cell, size, shape และ basophilic stippling อย่างใดอย่างหนึ่ง พบได้ในคนงาน 25% และในจำนวนนี้ 47% มีค่าแมงกานีสสูงเกิน 4 ไมโครกรัม% ส่วนกลุ่มที่มีค่าตะกั่วสูงไม่พบการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าค่าฮีโมโกลบินต่ำและลักษณะผิดปกติของเม็ดเลือดแดงอาจมีความสัมพันธ์กับระดับแมงกานีสในเลือด เมื่อศึกษาเอ็นซัยม์ในเลือดพบว่ามีความผิดปกติของ cholinesterase, SGOT, SGPT และ alkaline phosphatase ในคนงาน 11.56%, 2&, 2% และ 7.4% ตามลำดับ และระดับสารในเลือดคือ total protein, albumin, urea, uric acid และ serum iron ผิดปกติ 10.2%, 8.1%, 4.7%, 3.4% และ 5.4% ส่วน creatinine ปกติไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างแมงกานีสและตะกั่ว ต่อการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่ศึกษาทั้งหมด คณะผู้รายงานได้วิจารณ์การหยิบบกเอาระดับแมงกานีสและตะกั่วในเลือดมาเปรียบเทียบกับความผิดปกติที่เกิดจากการสัมผัสสารเหล่านี้
Other Abstract: Workers in dry-cell battery plant were exposed to manganese and some lead. Health status of 147 workers were studied by history taking, physical, hematological and biochemical examination. These workers were 95% female, 18-60 years of age. Abnormal physical findings were pale conjunctive, exaggerated reflex response, high blood pressure and skin diseases, with history of headache, rheumatism, respiratory, gastrointestinal and some symptoms. The most common symptom was headache which was found in 38.5% of total workers. The next common findings were anemic (27.4%), gastrointestinal (21.5%), neurological (20.7%) and rheumatism (20%). The blood levels of manganese were 1-5.99 microgram% with the mean of 2.9 microgram%. The mean level of nonexposed control was 0.87 microgram. Abnormally high level higher than 4 microgram was found in 15%. The range of blood lead level was 1-50 microgram% (Xbar = 17.95). Higher than normal (> 40 microgram%) was found in 3%. Symptoms of diseases and abnormal physical findings were equally distributed among the high and the low blood manganese and lead-workers. Hemoglobin concentration and red cell morphology were studies. Thirty three percent of workers had low hemoglobin concentration (< 12 g%) and 35.8% of these had high blood manganese (> 4microgram). Although workers with normal blood manganese levels also had low hemoglobin but the incidence was lower. Abnormality of red blood cell included target cell, burr cell, size, shape and basophilic stippling. Abnormal in any one of these (more than 1+) was found in 25%, 47% of which had blood manganese higher than 4 microgram. Workers with high blood lead level had no abnormal red cells. It may be concluded that low hemoglobin and abnormal red cell morphology may have some relation to the level of manganese exposure. Serum enzyme concentration was determined on cholinesterase, SGOT, SGPT and alkaline phosphatase with 11.56%, 2%, 2% & 7.4% abnormal activities respectively. Blood chemistry study of total protein, albumin, urea, uric acid and serum iron was found 10.2%, 8.1% 4.7%, 3.4% and 5.4% abnormal in concentration but with no relation to blood manganese and/or lead levels. Comparison of blood manganese and lead levels to the abnormal findings had been discussed.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1623
Type: Technical Report
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khanit(hema).pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.