Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16254
Title: การกำจัดโลหะหนักโดยใช้เรซินแลกเปลี่ยนไอออนที่ทำจากผักตบชวา ที่ผ่านการปรับสภาพด้วยสีย้อม
Other Titles: Removal of heavy metals by ion exchange resin produced from dye-treated water hyacinth
Authors: ขวัญเนตร สบายใจ
Advisors: สมใจ เพ็งปรีชา
พิธี กระสินธุ์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Somchai.Pe@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
ผักตบชวา
เรซินแลกเปลี่ยนไอออน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการกำจัดโลหะทองแดง นิกเกิล และสังกะสีออกจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้เรซินแลกเปลี่ยนไอออนที่ทำจากผักตบชวา โดยปรับสภาพผักตบชวาด้วยสีย้อมผ้า 2 ชนิด คือ Reactive Red 31 และ Direct Blue 71 ทดสอบความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนของผักตบชวาก่อนและหลังการปรับสภาพโดยทำการทดลองแบบทีละเทกับน้ำเสียสังเคราะห์ ที่ความเข้มข้นของโลหะหนัก 10, 25 และ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่า การปรับสภาพเรซินแลกเปลี่ยนไอออนที่ทำจากผักตบชวาด้วยสีย้อม Reactive Red 31 และ Direct Blue 71 ความเข้มข้น 0.002 และ 0.001 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทำให้ผักตบชวามีความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาถึงผลของความเข้มข้นของโลหะหนักในน้ำเสียสังเคราะห์ต่อประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียสังเคราะห์พบว่า ความเข้มข้นของโลหะหนักที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผักตบชวาทั้งที่ไม่ได้ปรับสภาพ และที่ปรับสภาพด้วยสีย้อมทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะหนักลดลง และยังพบอีกว่าผักตบชวามีความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนกับทองแดงมากกว่า สังกะสีและนิกเกิล ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อศึกษาการใช้ผักตบชวาในปริมาณที่แตกต่างกันกำจัดสังกะสีออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของสังกะสี 50 มิลลิกรัมต่อลิตรพบว่าผักตบชวาที่ปรับสภาพด้วยสีย้อมทั้ง 2 ชนิด ปริมาณ 1 กรัม สามารถกำจัดสังกะสีในน้ำเสียสังเคราะห์จนมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ และจากการทดลองบำบัดน้ำเสียจากโรงงานชุบสังกะสีด้วยผักตบชวาที่ปรับสภาพด้วยสีย้อมทั้ง 2 ชนิด พบว่าสามารถกำจัดสังกะสีออกจากน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาการกำจัดโลหะหนักดังกล่าวด้วยขี้เลื่อยของไม้ตะเคียนทอง ไม้เต็งและไม้ยาง ซึ่งพบว่าสามารถกำจัดโลหะหนักได้ดีเช่นกัน แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าผักตบชวา
Other Abstract: Removal of copper, nickel and zinc by ion exchange resin produced from water hyacinth was studied. The water hyacinth was treated with two dyestuffs, Reactive Red 31 and Direct Blue 71. The ion exchange capacity of untreated and treated water hyacinth was studied with batch experiment under various concentrations of heavy metals in synthetic wastewater, 10, 25 and 50 mg/l, respectively. The results showed that the dye treating of water hyacinth with 0.002% Reactive Red 31 and 0.001% Direct Blue 71 dyestuff could increase in ion exchange capacity of water hyacinth. For the effect of concentration of synthetic wastewater on the efficiency of heavy metals removal it showed that increasing of the heavy metal concentration led to a decreasing of removal efficiency in both treated and untreated water hyacinths and the values of ion exchange of copper were higher than zinc and nickel, respectively. Furthermore, the various quantities of water hyacinth used for the study of zinc removal from synthetic wastewater at concentration of zinc 50 mb/l with 1 g of both dye-treated water hyacinths could decrease the concentration of zinc to a level below the water quality standard. For the experiment on Zn-electroplating wastewater treatment, both dye-treated water hyacinths could remove zinc from the wastewater effectively. Furthermore, this study was carried out by using sawdust of iron wood, Siamese sal Yang and the results showed that the removal of heavy metals by sawdusts were lower than of water hyacinth.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16254
ISBN: 9743349006
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kwannet_Sa.pdf12.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.