Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16294
Title: | ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง |
Other Titles: | The effect of pulmonary rehabilitation program on health-related quality of life in elderly patients with chronic obstructive pulmonary disease |
Authors: | โชติยา สังเสวก |
Advisors: | จิราพร เกศพิชญวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | wattanaj@yahoo.com |
Subjects: | ผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิต ปอดอุดกั้นเรื้อรัง -- โรค -- การรักษา ปอด -- โรค ปอด -- โรค -- ผู้ป่วย -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพก่อนและหลังของการเข้าร่วมโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชายและหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้า รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และจับคู่ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 38 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 19 ราย กลุ่มควบคุม 19 ราย กลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ตามแนวคิดของ American Thoracic Society (1999) ประกอบด้วย 1) การให้ความรู้ในการปฏิบัติตัว 2) การฝึกออกกำลังกายและการฝึกบริหารการหายใจ 3) การดูแลด้านจิตใจ 4) การประเมินผลลัพธ์ ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ประยุกต์นำเอาเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน คือ โหวด มาร่วมใช้ในการฝึกบริหารการหายใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย และแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .92 วิเคราะห์ผลการศึกษาโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (Paired t-test และ Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับคำแนะนำการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด หลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) |
Other Abstract: | The purposes of this quasi–experimental research were to compare Health-related Quality of Life (HRQOL) of elderly patients with COPD among the experimental group and control group, and to compare Health-related Quality of Life of the experimental group before-after receiving the pulmonary rehabilitation program. The sample consisted of 38 elderly patients with COPD attending clinic at Khukhan Hospital. Nineteen patients were randomly assigned to the control group, where as the other 19 patients were assigned to the experimental group. Both groups were matched by age, gender, and severity of COPD. The control group received the conventional nursing care while the experimental group received the Pulmonary Rehabilitation Program. Instruments of this study were: Pulmonary Rehabilitation Program based on the guidelines of the American Thoracic Society (1999). The program included 4 parts: 1) education, 2) exercise training and breathing training, 3) psychological support, and 4) evaluation. For the breathing exercise, a northeastern style musical instrument “Wote” was applied for the training. Health-related quality of life (HRQOL) was assessed by using Medical Outcomes Study Short form (SF-36) and data were analyzed by using descriptive statistic and t–test. The major findings were as follows: 1. Quality of life score of COPD elderly cases in the experimental group was significantly higher than that of the control group (p < .05). 2. Quality of life score of COPD elderly cases in the experimental group, after receiving the program was significantly higher than the mean score health-related quality of life before receiving the program (p < .05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16294 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1334 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1334 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chotiya_su.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.