Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16319
Title: การกระจายของแกมมาริดแอมฟิพอดและบทบาทต่อสาหร่ายอิงอาศัยบนหญ้าชะเงา Enhalus acorides
Other Titles: Distribution of gammarid amphipod and its role on the epiphytic algae of the tropical eelgrass, enhalus acorides
Authors: เครือวัลย์ กำเนิดดี
Advisors: วรณพ วิยกาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: vvoranop@chula.ac.th
Subjects: หญ้าทะเล
สาหร่าย
หญ้าชะเงา
นิเวศวิทยาทะเล
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการกระจายของแกมมาริดแอมฟิพอดและบทบาทต่อสาหร่ายอิงอาศัยบนหญ้าชะเงา Enhalus acoroides ในบริเวณเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี และเกาะท่าไร่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2552 พบความหนาแน่นและขนาดความยาวของใบหญ้าชะเงาบริเวณเกาะแสมสารมีค่าสูงสุด ในเดือนตุลาคมและเดือนเมษายน 2551 ตามลำดับ ขณะที่ค่าทั้งสองบริเวณเกาะท่าไร่สูงสุดในเดือนเมษายน 2551 เปอร์เซ็นต์การปกคลุมพื้นที่ของสาหร่ายอิงอาศัยบนใบหญ้าชะเงา บริเวณเกาะแสมสารและเกาะท่าไร่ มีค่าสูงสุดในเดือนสิงหาคมและเดือนเมษายน 2551 ตามลำดับ บริเวณเกาะแสมสารพบสาหร่ายอิงอาศัยบนใบหญ้าชะเงา 23 สกุล โดยมีสาหร่ายสีแดงเป็นกลุ่มเด่น ขณะที่บริเวณเกาะท่าไร่พบ 14 สกุล และมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นกลุ่มเด่น แกมมาริดแอมฟิพอดที่อาศัยบนใบหญ้าชะเงาบริเวณเกาะแสมสาร พบทั้งสิ้น 14 ชนิด โดยมีความหนาแน่นสูงสุดในเดือนธันวาคม 2551 ขณะที่บริเวณเกาะท่าไร่พบ 13 ชนิด มีความหนาแน่นสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ทั้งนี้ Ampelisciphotis tridens และ Cymadosa vadosa เป็นแกมมาริดแอมฟิพอดชนิดเด่นทั้ง 2 พื้นที่ แกมมาริดแอมฟิพอดมีการกระจายอยู่บนทุกส่วนของหญ้าชะเงาในแหล่งหญ้าทะเลธรรมชาติ โดยที่ส่วนใหญ่เลือกอาศัยบริเวณส่วนของราก/เหง้า อย่างไรก็ตาม C. vadosa เลือกอาศัยบริเวณส่วนของใบไม่แตกต่างกับส่วนของราก/เหง้า การศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า ถึงแม้ว่าแกมฟิพอดสามารถอาศัยได้บนทุกส่วนของหญ้าชะเงา แต่พบว่ามีการเลือกส่วนของราก/เหง้าเป็นที่อาศัยสูงสุด เมื่อมีตัวเลือกที่เพิ่มขึ้นในชุดทดลองเดียวกัน และเลือกส่วนที่มีสาหร่ายอิงอาศัยมากกว่าส่วนที่ไม่มีสาหร่ายอิงอาศัย เนื่องมาจากความซับซ้อนของส่วนของราก/เหง้า ดังนั้น เมื่อมีสาหร่ายอิงอาศัยบนส่วนดังกล่าว จึงเป็นการช่วยเพิ่มความซับซ้อนของที่อาศัยให้มากยิ่งขึ้น ความปลอดภัยในการหลบหลีกผู้ล่าจึงมากขึ้น แกมมาริดแอมฟิพอดมีบทบาทที่สำคัญต่อสาหร่ายอิงอาศัยและหญ้าชะเงา พบว่าน้ำหนักและพื้นที่ของใบหญ้าชะเงาลดลง เนื่องจากถูกบริโภคโดยแกมมาริดแอมฟิพอด ซึ่งสามารถพบสาหร่ายอิงอาศัยหลายชนิด รวมถึงหญ้าชะเงาในกระเพาะอาหารของแกมมาริดแอมฟิพอด โดยเฉพาะ C. vadosa อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแกมมาริดแอมฟิพอดเป็นผู้บริโภคสาหร่ายอิงอาศัยและหญ้าทะเล แต่ไม่สร้างผลกระทบทางลบใดๆ ทั้งยังทำหน้าที่เพิ่มความสมบูรณ์ให้กับแหล่งหญ้าทะเล โดยการเป็นผู้ถ่ายทอดพลังงานจากผู้ผลิตเบื้องต้นไปยังผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ ส่งผลให้แหล่งหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศที่มีห่วงโซ่อาหารสมบูรณ์มากขึ้น
Other Abstract: Distribution of gammarid amphipod and its roles on the epiphytic algae of the eelgrass, Enhalus acoroides were investigated. The results from the field surveys showed that at Ko Samae San seagrass bed, the highest density of E. acoroides occurred in October 2008 and the highest length of E. acoroides leaves was found in April 2008, while at Ko Tharai seagrass bed, the highest density and highest length of E. acoroides were found in April 2008. In addition, 23 genera of epiphytic algae on E. acoroides was found at Ko Samae San. The highest percent coverage of epiphytic algae occurred in February 2009, and the red algae were the most dominant group. However, only 14 genera of epiphytic algae were found at Ko Tharai. The highest percent coverage of epiphytes occurred in April 2008, and the blue-green algae were the most dominant. For gammarid amphipods, the highest density occurred in December 2008 with a total of 14 species at Ko Samae San, while at Ko Tharai, the highest density was found in February 2009 with a total of 13 amphipod species. Moreover, Ampelisciphotis tridens and Cymadosa vadosa were the dominant species found in both seagrass beds. To investigate the habitat preference of dominant species, A. tridens and C. vadosa, 3 parts of E. acoroides (leaf blade, leaf sheath, and rhizome) were collected. In the field, there was significant difference on the density of amphipods found on each part. The high density of amphipods occurred on the rhizome and leaf blade of the E. acoroides respectively. In the laboratory, even if all parts of E. acoroides were selected by amphipods, however, high densities of amphipods occurred on the rhizome part. In addition, the results from laboratory experiments showed that the amphipods preferred rhizomes that had epiphytes on. The stomach content analysis showed that amphipod consumed E. acoroides leaves and epiphytes as their food.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16319
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.66
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.66
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
khruawan_kh.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.