Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16370
Title: ภาวะไขมันในเลือดสูงและประสิทธิผลของการใช้สูตรยาต้านเอชไอวี ที่มีสารยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ในผู้ป่วยเด็กติดเชื้อเอชไอวี
Other Titles: Hyperlipidemia and effectiveness of protease inhibitors-based regiman in HIV-infected children
Authors: สุจิตรา ยิ่งยงค์
Advisors: ประภาพักตร์ ศิลปโชติ
นวภรณ์ วิมลสาระวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Prapapuck.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โคเลสเตอรอล
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
สารยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลแบบไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง (2) ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ดัชนีมวลกาย ระยะของโรคต่อภาวะไขมันในเลือดสูง และ (3) ประสิทธิผลของการใช้ยาต้านเอชไอวีที่มีสารยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ในผู้ป่วยเด็กที่เริ่มใช้ยาต้านเอชไอวีกลุ่ม PIs เป็นครั้งแรก ที่มารับบริการ ณ คลินิกผู้ป่วยนอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 ถึง สิงหาคม 2550 มีผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 43 ราย เป็นเพศชาย 25 ราย (ร้อยละ 58.13) เพศหญิง 18 ราย (ร้อยละ 41.87) สาเหตุหลักของการได้รับเชื้อมาจากแม่สู่ลูก เมื่อเริ่มใช้ยาต้านเอชไอวีกลุ่ม PIs ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุ 6-10 ปี ระยะโรคของผู้ป่วยเมื่อเริ่มใช้ยาต้านเอชไอวีกลุ่ม PIs คือระยะ B จำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดซีดีโฟร์เฉลี่ยก่อนใช้ยาต้านเอชไอวีกลุ่ม PIs เท่ากับ 290.1+- 327.1 เซลล์/มม.[superscript 3] มัธยฐานคือ 158 เซลล์/มม.[superscript 3] และมัธยฐานของปริมาณไวรัสในกระแสเลือดก่อนใช้ยาต้านเอชไอวีกลุ่ม PIs เท่ากับ 116,000 copies/ml เมื่อครบ 6 เดือน มีผู้ป่วยเด็กที่เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง 33 ราย (ร้อยละ 76.7), ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง 23 ราย (ร้อยละ 53.5), ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง 26 ราย (ร้อยละ 60.5) และ 16 ราย (ร้อยละ 37.2) มีภาวะคอเลสเตอรอลร่วมกับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ ดัชนีมวลกาย ประวัติการใช้ยา d4T จำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดซีดีโฟร์ และปริมาณไวรัสในกระแสเลือด กับการเกิดภาวะคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง จำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดซีดีโฟร์เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1,418.5 ± 5,566.8 เซลล์/มม.[superscript 3] มัธยฐานคือ 491 เซลล์/มม.[superscript 3] โดยผู้ป่วยเด็ก 21 ราย (ร้อยละ 48.8) มีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดซีดีโฟร์มากกว่า 500 เซลล์/มม.[superscript 3] และ 18 ราย (ร้อยละ 41.9) มีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดซีดีโฟร์อยู่ในช่วง 200 - 499 เซลล์/มม.[superscript 3] ตามลำดับ ผู้ป่วยมีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดเฉลี่ยลดลง โดยมีผู้ป่วย 24 ราย (ร้อยละ 82.7) มีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดน้อยกว่า 400 copies/ml น้ำหนัก และส่วนสูงของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและไม่พบการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสใดๆ สำหรับอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆที่พบคือ อาเจียน และไตอักเสบ
Other Abstract: The objectives of this prospective study were to evaluate (1) the incidence of hyperlipidemia (2) associated risk factors (gender, BMI, stage of disease) of hyperlipidemia (3) effectiveness of PI-based regimen in HIV-infected children at outpatient pediatric HIV clinic at Queen Sirikit Institute of Child Health and Siriraj Hospital during October, 2006 to August, 2007. Fourty - three HIV-infected children in whom PI-based regimen was initiated, were included in this study: 25 (58.13%) were boys and 18 (41.87%) were girls with age range of 6-10 years. Most of the children were perinatally HIV infected. Stage of HIV disease defined by CDC classifications were clinical category B. The baseline mean CD4 cell count was 290.1 +- 327.1 cells/mm[superscript 3] with the median of 158 cells/mm[superscript 3]. The baseline median viral load was 116,000 copies/ml. After 6 months of therapy 33 (76.7%) children developed hyperlipidemia, 23 (53.5%) children developed hypercholesterolemia, 26 (60.5%) children developed hypertriglyceridemia and 16 (37.2%) children developed both. Gender, age, BMI, stavudine (d4T) therapy, CD4 cell count and viral load were not associated with hypercholesterolemia and hypertriglyceridemia. Mean CD4 cell count increased 1,418.5 +- 5,566.8 cells/mm[superscript 3] with the median of 491 cells/mm[superscript 3]. Twenty -one (48.8%) HIV-infected children were CD4 cell count > 500 cells/mm[superscript 3] and 18 (41.9%) were CD4 cell count 200 - 499 cells/mm[superscript 3]. Viral load was decreased after 6 month of PI-based regimen, 24 (82.7%) HIV-infected children were viral load <400 copies/ml. Weight and height was increased in patients and no serious opportunistic infection was seen in our study. Two (4.65%) of 43 patients experienced adverse events, one was nausea and one was nephritis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16370
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1324
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1324
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujittra_Yi.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.