Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16421
Title: ความร้ายกาจของตัวละครในละครโทรทัศน์ไทย
Other Titles: The viciousness of characters in Thai TV drama
Authors: สัณฐิตา นุชพิทักษ์
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: ละครโทรทัศน์
ตัวละครและลักษณะนิสัย
การเล่าเรื่อง
สัญศาสตร์
การรู้เท่าทันสื่อ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความร้ายกาจของตัวละครในละครโทรทัศน์ไทย โดยการศึกษาดังกล่าวเป็นไปเพื่อตอบวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อสำรวจภาพรวมของลักษณะความร้ายกาจของตัวละครเอก ตัวละครร้าย และตัวประกอบในละครโทรทัศน์ไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบความร้ายกาจของตัวละครเอก และตัวละครร้ายในละครโทรทัศน์ไทย 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างความเป็นจริงทางสังคมของสื่อละครโทรทัศน์ ในความร้ายกาจของตัวละครผ่านเทคนิคการเล่าเรื่อง และ 4) เพื่อสำรวจการรับรู้ และการตีความของผู้ชมต่อความร้ายกาจของตัวละครในละครโทรทัศน์ไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ตัวบทจากละครโทรทัศน์เฉพาะช่วงเวลาหลังข่าวภาคค่ำ เวลา 20.30-22.30 น. (โดยประมาณ) จากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 และช่อง 7 ที่ออกอากาศในช่วงเดือนมกราคม 2551-สิงหาคม 2552 ซึ่งเป็นละครโทรทัศน์ที่ปรากฏบทบาทความร้ายกาจของตัวละครเอกอย่างเด่นชัด จำนวน 30 เรื่อง และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ชมละครโทรทัศน์ จำนวน 20 คน โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการสร้างความเป็นจริงทางสังคม แนวคิดเกี่ยวกับการเล่าเรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับสัญญวิทยา การศึกษาเรื่องความร้ายกาจ และแนวคิดเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ เป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยผลการศึกษาพบว่า 1. ตัวละครเอก ตัวละครร้าย และตัวละครประกอบ ล้วนแล้วแต่พบลักษณะความร้ายกาจเชิงสัญลักษณ์ มากกว่าความร้ายกาจทางกายภาพ 2. ตัวละครเอก และตัวละครร้าย มีทั้งความสอดคล้องและความแตกต่างในลักษณะความร้ายกาจทางกายภาพ แต่แตกต่างกันบ้างในลักษณะความร้ายกาจเชิงสัญลักษณ์ และแตกต่างกันแบบขาว-ดำ ในระดับของความร้ายกาจ 3. การประกอบสร้างความเป็นจริงทางสังคมเกี่ยวกับความร้ายกาจของตัวละครสามารถสร้างผ่านโครงเรื่อง และวิธีการสร้างตัวละคร โดยตัวละครเอกจะปรากฏความร้ายกาจอย่างมี “ที่มา” หรือเหตุบีบคั้นที่เป็นแรงผลักดันให้แสดงความร้ายกาจจากสังคม หรือคนรอบข้าง ซึ่งมักจะเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบเท่านั้น และโดยส่วนมาก ในตอนจบตัวละครเอกจะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากร้ายกลายเป็นดี ซึ่งตรงกันข้ามกับตัวละครร้ายอย่างสิ้นเชิง 4. ผู้ชมที่ “เป็นคอละคร” และผู้ชมที่ “ไม่ได้เป็นคอละคร” ทั้ง 20 คน เห็นความแตกต่างในความร้ายกาจของตัวละครเอก และตัวละครร้าย โดยใช้เกณฑ์การแสดงออก และสาเหตุ หรือที่มาของความร้ายกาจของตัวละครมากที่สุด แต่ผู้ชมที่“เป็นคอละคร” จะสามารถมองเห็นมิติที่หลากหลาย โดยเกิดความเข้าใจในตัวละครมากกว่าผู้ชมที่ “ไม่ได้เป็นคอละคร”
Other Abstract: To study viciousness of characters in Thai TV drama, to find the answers of the 4 objectives: 1) to investigate viciousness of the protagonist, the antagonist, and minor characters in Thai TV drama, as a whole; 2) to compare viciousness between the protagonist and the antagonist; 3) to analyze social construction of reality by TV drama media about viciousness of characters through narration, and; 4) to examine the viewer’s perception and interpretation of characters’ viciousness in Thai TV drama. The research methodology was based on a qualitative approach; textual analysis of TV drama, which obviously presented the characters’ viciousness on TV channels 3, 5 and 7, broadcast in January 2008-August 2009 after night news programs, during 20.30-22.30 (approximately), and; in-depth interview with 20 TV drama viewers. The data analysis used social construction of reality, narration, semiology, viciousness, and media literacy, as conceptual framework. The findings are as follows: 1. All the protagonist, the antagonist, and minor characters have symbolic viciousness rather than physical viciousness. 2. The protagonist and the antagonist have both correlation and difference in physically viciousness and; however, they have somewhat symbolic different viciousness. They have a different level of viciousness at the polar opposite, like black and white. 3. Social construction of reality about viciousness of characters can be created via plot and characterization. The protagonist’s viciousness will have “source” or pressure that forces it out; the pressure comes from the society or other people around, and; the viciousness is only his or her reaction, and most of the protagonists will finally change from bad characters to good ones, which is completely different from the antagonist. 4. Most of the 20 viewer who are “in favor with drama” and those who are “not in favor with drama” perceive different viciousness between the protagonist and antagonist based on their expression and their cause or source of viciousness. However, the viewer who are “in favor with drama” will be able to perceive various dimensions and understand the characters more than the viewer who are “not in favor with drama”.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16421
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.683
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.683
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
santita_nu.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.