Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16425
Title: | การพัฒนาและประยุกต์ใช้มาตรฐานการประเมินอภิมาน สำหรับประเมินรายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย |
Other Titles: | Development and application of the meta-evaluation standards to evaluate report results of internal quality assessment for higher education institutions in Thailand |
Authors: | สิรินธร สินจินดาวงศ์ |
Advisors: | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ศิริชัย กาญจนวาสี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Lawthong_n@hotmail.com Sirichai.K@Chula.ac.th |
Subjects: | ประกันคุณภาพ ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกันคุณภาพ -- การประเมิน การประเมินอภิมาน ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามาตรฐานการประเมินอภิมาน สำหรับประเมินรายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย 2) ตรวจสอบคุณภาพของมาตรฐานการประเมินอภิมาน ในการประเมินคุณภาพรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา 3) ประยุกต์ใช้มาตรฐานการประเมินอภิมานในการประเมินคุณภาพรายงานผลการประเมินคุณภาพภาย ในของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา แหล่งข้อมูลในการวิจัยคือ รายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน และรายงานการประเมินตนเองของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2550 จำนวน 50 ฉบับ และนักประเมินอภิมานที่เข้ารับการอบรมจำนวน 2 รุ่น รวม 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินอภิมาน คู่มือการประเมินอภิมาน และหลักสูตรอบรมพัฒนานักประเมินอภิมาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า 1. มาตรฐานการประเมินอภิมาน ประกอบด้วย 5 มาตรฐานคือ ความตรงของการประเมิน อรรถประโยชน์ จริยธรรมในการประเมิน ความน่าเชื่อถือของนักประเมิน และประสิทธิผลต้นทุน รวม 38 ตัวบ่งชี้ 2. คุณภาพของมาตรฐานการประเมินอภิมาน มีความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด โดยสามารถจำแนกคุณภาพรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในออกเป็นกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ และความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง เมื่อใช้นักประเมินอภิมาน 1, 2, 3 คน ประเมินรายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน จำนวน 3 ฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.542, 0.689, และ 0.758 ตามลำดับ หากประเมินรายงานฯ 5 ฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.663, 0.787, และ 0.839 ตามลำดับ ประเมินรายงาน 7 ฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.734, 0.838, และ 0.880 ตามลำดับ และประเมินรายงานฯ 9 ฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.780, 0.869, และ 0.904 ตามลำดับ 3. ผลการประเมินอภิมานของรายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน ของสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในระดับดี โดยมาตรฐานที่มีผลการประเมินในระดับดีคือ ความน่าเชื่อถือของนักประเมิน อรรถประโยชน์ จริยธรรมในการประเมิน และความตรงของการประเมิน ส่วนมาตรฐานประสิทธิผลต้นทุนมีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ |
Other Abstract: | The purposes of this research were: 1) to develop the meta-evaluation standards for an evaluation of internal quality assessment in Thai higher education institutions. 2) to validate the meta-evaluation standards for evaluating report results of internal quality assessment for higher education institutions and 3) to apply the meta-evaluation standards to evaluate report results of internal quality assessment for higher education institutions. The data were collected from 50 internal quality assessment reports and self-assessment reports in higher education institutions, and 28 meta-evaluators. Three kinds of instruments consist of meta-evaluation checklist, meta-evaluation manual, and meta-evaluator training curriculum. The data analyses were conducted by statistics of quantitative data as: frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, confirmatory factor analysis, and generalizability coefficient. The results were: 1. The new meta-evaluation standards consisted of 5 standards and 38 indicators: 1) validity 2) utility 3) ethicality 4) credibility and 5) cost-effectiveness. 2. The quality of meta-evaluation standard, the construct validity, used known-group technique which discriminated high and low quality reports. Reliability found that when using 1, 2, and 3 meta-evaluators evaluated per report, and g-coefficient from 3 reports were 0.542, 0.689, and 0.758 respectively, They also evaluated per report from 5, 7, and 9 reports, and g-coefficient from 5 reports were 0.663, 0.787, and 0.839 respectively, g-coefficient from 7 reports were 0.734, 0.838, and 0.880 respectively, and g-coefficient from 9 reports were 0.780, 0.869, and 0.904 respectively. 3. The quality of internal quality assessment reports in higher education institutions based on meta-evaluation standards were good level reports, which credibility, utility, ethicality, and validity were good, but cost-effectiveness was fair level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16425 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.642 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.642 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirinthorn_si.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.