Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16518
Title: | การหาตัวแปรสำคัญเพื่อแยกลิกนินจากน้ำดำโดยกระบวนการเคมีไฟฟ้าและกายภาพ |
Other Titles: | Determination of important factors for black liquor lignin separation by electrochemical and physical process |
Authors: | ดลฤดี ยนต์สุวรรณ |
Advisors: | พิชญ รัชฎาวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | fenprw@eng.chula.ac.th, Pichaya.R@Chula.ac.th |
Subjects: | ลิกนิน อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ น้ำดำ เคมีไฟฟ้า การรวมตะกอน การจับกลุ่ม |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | น้ำดำเป็นของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ ซึ่งมีลิกนินเป็นองค์ประกอบหลัก การศึกษาตัวแปรสำคัญในการแยกลิกนินจากน้ำดำ โดยกระบวนการการไฟฟ้าเคมีและกายภาพ จะสามารถนำมาวิเคราะห์หาสภาวะที่เหมาะสมในการแยกลิกนินจากน้ำดำ และหาสมการที่สามารถทำนายร้อยละของลิกนินที่เหลืออยู่ในน้ำดำได้ โดยใช้ตัวอย่างน้ำดำจากกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษกึ่งเคมียูคาลิปตัส จากโรงเยื่อบ้านโป่ง จ.ราชบุรี ตัวแปรต่างๆ ที่ศึกษา ได้แก่ ปริมาณกระแสไฟฟ้า (X1) ระยะเวลาในการจ่ายกระแสไฟฟ้า (X2) อัตราการกวนช้า (X3) และระยะเวลาใน การกวนช้า (X4) เมื่อดำเนินการทดลองที่สภาวะต่างๆ ตามที่กำหนดแล้ว จึงนำผลการทดลองที่ได้มาวิเคราะห์ผล โดยนำผลการทดลองคือร้อยละของลิกนินที่เหลือในน้ำดำที่ได้มาเรียงลำดับจากค่าน้อยไปมาก และวาดกราฟ จากกราฟทำให้สามารถจำแนกกลุ่มผลการทดลองออกได้เป็น 3 กลุ่ม จากนั้นนำผลที่ดีที่สุด กลุ่มที่ 1 และ 2 ไปวิเคราะห์การถดถอย (Regression analysis) พบว่า ระยะเวลาในการกวนช้า ไม่มีความสัมพันธ์กับร้อยละของลิกนินที่เหลือในน้ำดำ ต่อจากนั้นจึงทดลองซ้ำเพื่อยืนยันผลการทดลองและหาค่าสมการการถดถอย (Regression analysis) พบวา สมการ Ŷ= -0.14X1 + 1.72X2 +0.24X3 เป็นสมการที่เหมาะสมในการทำนายร้อยละของลิกนินที่เหลือในน้ำดำจากโรงผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษกึ่งเคมียูคาลิปตัส โรงเยื่อบ้านโป่ง ดังแสดงจากค่าความแปรปรวนและสภาวะที่เหมาะสมที่สุด ในการแยกลิกนินจากน้ำดำโดยกระบวนการไฟฟ้าเคมีและกายภาพคือ X1 ปริมาณกระแสไฟฟ้า เท่ากับ 3 mA/sq.cm X2 ระยะเวลาในการจ่ายกระแสไฟฟ้า เท่ากับ 10 นาที และ X3 อัตราการกวนช้า เท่ากับ 10 รอบต่อนาที และที่สภาวะดังกล่าว % lignin removal = 81.75% |
Other Abstract: | Black liquor is the waste generated by pulp manufacturing process which contains lignin as a core component. Studying of variables to separate lignin from black liquor by electrochemical and physical processes may provide suitable conditions for increase lignin concentration in black liquor and yield equation for prediction of percentage of lignin remaining in black liquor. Here, we used black liquor from semi-chemical pulping process from Banpong pulp mill, Rachaburi province where current density (X1), discharging time (X2), slow mix rate (X3) and slow mix time (X4) were varied. The experiment result was analyzed by sorting from the remaining lignin from low to high and graphs were drawn. The graphs can be divided into three groups. Then, the groups 1 and 2 of the highest performance was used for regression analysis. It was found that the slow mix time was not significant. Repeated group 1 experiments and regression analysis showed that equation Ŷ = -0.14X1 +1.72X2+0.24X3 was the best for forecasting Ŷ the remaining percentage of lignin in black liquor from Banpong pulp mill as shown by the variance. The optimal condition for separating lignin from black liquor were current density of 3 mA/sq.cm, discharging time of 10 min. and slow mix rate of 10 rpm. At the optimum conditions, the highest lignin removal was 81.75% |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16518 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.356 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.356 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
dolludee_yo.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.