Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16542
Title: | การใช้เพลงปลุกใจในฐานะสื่อประชาสัมพันธ์ให้คนไทยสำนึกรักชาติของกองทัพบก พ.ศ. 2475-2550 |
Other Titles: | The use of patriotic songs by the Royal Thai Army as a public relations tool to create patriotic consciousness, AD. 1932-2007 |
Authors: | ยิ่งลักษณ์ บุญเก็บ |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parichart.S@chula.ac.th |
Subjects: | กองทัพบก เพลงปลุกใจ การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ วัจนกรรม การโน้มน้าวใจ (วาทวิทยา) โฆษณาชวนเชื่อ ความรักชาติ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาพัฒนาการของเพลงปลุกใจในฐานะสื่อประชาสัมพันธ์ให้คนไทยสำนึกรักชาติของกองทัพบก และศึกษาบทบาทของกองทัพบกในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพลงปลุกใจในช่วงปี 2475-2550 โดยแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จากเพลงปลุกใจของกองทัพบกจำนวน 22 เพลง เป็นการศึกษาวิจัยจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกนายทหารในกองทัพบกและผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของเพลงปลุกใจในฐานะสื่อประชาสัมพันธ์ในคนไทยสำนึกรักชาติของกองทัพบกสามารถแบ่งได้ 5 ยุคคือ (1) ยุคปลูกอุดมการณ์ชาตินิยม (2475-2500) แก่นหลักของเพลงปลุกใจคือการเสียสละพลีชีพเพื่อชาติ หวงแหนดินแดนอธิปไตยและความเป็นเชื้อชาติไทย (2) ยุคสู้ภัยคอมมิวนิสต์ (2501-2525) แก่นหลักของเพลงปลุกใจคือให้กำลังใจทหารในการปฏิบัติหน้าที่ การประณามโจมตีผู้เป็นภัยต่อชาติและการเตือนสติเตือนใจคนไทย (3) ยุคงานประจำทำตามหน้าที่ (2526-2535) แก่นหลักของเพลงปลุกใจคือการแสดงถึงความภาคภูมิใจในกองทัพบก (4) ยุคกู้ภาพลักษณ์กองทัพบก (2536-2538) แก่นหลักเพลงปลุกใจคือการแสดงเจตนารมณ์และจุดยืนของกองทัพบกภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 (5) ยุคฟื้นฟูอุดมการณ์รักชาติ(2539-2550) แก่นหลักของเพลงปลุกใจคือการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การแสดงความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ และการแสดงถึงบทบาทของทหารที่เสียสละเพื่อปกป้องชาติ ซึ่งบทบาทหน้าที่ของกองทัพบกในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพลงปลุกใจแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ (1) ผู้จัดการและวางแผน ปรากฏในยุคกู้ภาพลักษณ์กองทัพบก และมีความเด่นชัดมากในยุคฟื้นฟูอุดมการณ์รักชาติ ซึ่งมีบทบาทหลักในการริเริ่มวางแผนบริหารจัดการโครงการกิจกรรมต่างๆ ที่มีการใช้เพลงปลุกใจ (2) ผู้ประสานงาน ปรากฏในยุคกู้ภาพลักษณ์กองทัพบกและยุคฟื้นฟูอุดมการณ์รักชาติ ซึ่งเป็นการประสานงานในเรื่องขอความร่วมมือไปยังภาครัฐและเอกชนในการประพันธ์ เผยแพร่เพลงปลุกใจและสนับสนุนกิจกรรมที่มีเพลงปลุกใจเข้ามาเกี่ยวข้อง (3) ผู้เผยแพร่และถ่ายทอด ปรากฏอยู่ในทุกยุคแต่แตกต่างกันในเรื่องของสื่อประชาสัมพันธ์ที่ใช้ในการเผยแพร่ ซึ่งสื่อประชาสัมพันธ์หลักคือวงดนตรีของกองทัพบก สถานีวิทยุกระจายเสียงในเครือกองทัพบก สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และในยุคฟื้นฟูอุดมการณ์รักชาติมีการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซด์ในเครือกองทัพบกเผยแพร่เพลงปลุกใจ (4) ผู้ประพันธ์ กองทัพบกมีบทบาทในการประพันธ์เพลงปลุกใจ ซึ่งปรากฏในยุคปลูกอุดมการณ์ชาตินิยม ยุคสู้ภัยคอมมิวนิสต์และยุคฟื้นฟูอุดมการณ์รักชาติ นอกจากนี้พบว่า กองทัพบกได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรับในยุคปลูกอุดมการณ์ชาตินิยม ยุคสู้ภัยคอมมิวนิสต์และยุคกู้ภาพลักษณ์กองทัพบก ส่วนในยุคงานประจำทำตามหน้าที่เป็นการดำเนินการประชาสัมพันธ์แบบปกติ ในยุคฟื้นฟูอุดมการณ์รักชาติได้หันมาใช้การดำเนินงานการประชาสัมพันธ์เชิงรุก |
Other Abstract: | To study the development of patriotic songs by The Royal Thai Army as a public relations tool to create patriotic consciousness for Thai people and The Royal Thai Army’s role in using patriotic songs as a public relations tool during 1932-2007. The qualitative research and historical research methodology using 22 patriotic songs, documentary research techniques and in-depth interviews with The army officers and others who are relevant. The results showed that: Development of patriotic songs by The Royal Thai Army as a public relations tool to create patriotic consciousness for Thai people is divided into 5 periods: (1) The Growing nationalist ideology period (1932-1957). The theme of patriotic songs: to sacrifice life for the nation, cherish the land, respect for Thai ethnicity. (2) The Communist Resistance period (1958-1982). The theme of patriotic songs: Encouragement of military duty, to condemn the attack on national disasters, cautioning the Thai People of this period. (3) The Normalization of The Royal Thai Army period (1983-1992). Theme of patriotic songs: Song of the Army seeks to create pride in the Royal Thai Army. (4) The Image Restoration of The Royal Thai Army period (1993-1995). Theme of patriotic songs: to communicate the aim and standpoint of The Royal Thai Army after the May crisis of 1992. (5) The Rehabilitation of patriotic ideology period (1996-2007). Theme of patriotic songs: To respect the monarchial institution, To show love and knowledge of national unity, as well as demonstrates the role of military duty for the national sacrifice. The Royal Thai Army’s role in using patriotic songs as a public relations tool can be divided in to 4 types: (1) The manager and planner – in this role, appearing in The Image Restoration of The Royal Thai Army period but appeared evident in The Rehabilitation of patriotic ideology period. The main role is to initiate planning and project management pertaining to patriotic songs. (2) The coordinator – in this role, appearing in The Image Restoration of The Royal Thai Army period and The Rehabilitation of patriotic ideology period, which is coordinated in cooperation with the composer of the patriotic song and coordination for cooperation of the private and government sectors. (3) The communicator - in this role, appearing in every period, each different in terms of media used in public relations. The media was mainly used: The Royal Thai Army Radio Networks, The Royal Thai Army Television, The Royal Thai Army Band and in The Rehabilitation of patriotic ideology period appears internet media. (4) The composer – The Royal Thai Army performs the composer’s patriotic songs. In this role, appears in The Growing nationalist ideology period, The Communist resistance period, The Rehabilitation of patriotic ideology period. It is also found that, the public relations strategy to use patriotic songs during The Growing Nationalist ideology period, The Communist resistance period and The Image Restoration of The Royal Thai Army period used Reactive PR to operate. During The Normalization of The Royal Thai Army period normal operation PR was used. During The Rehabilitation of patriotic ideology period used Proactive PR to operate. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16542 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.685 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.685 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yingluck_bo.pdf | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.