Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16671
Title: การวิเคราะห์และเปรียบเทียบระยะเวลาในการศึกษาและคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของนิสิตครุศาสตร์ที่มีคุณลักษณะต่างกัน
Other Titles: An analysis and comparison of lengths of study time and the quality of master's degree theses of education students with different theses characteristics
Authors: กิติยานภาลัย ภู่ตระกูล
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@chula.ac.th
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระยะเวลาในการศึกษาและคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของนิสิตครุศาสตร์ที่มีคุณลักษณะต่างกัน 2) เปรียบเทียบระยะเวลาในการศึกษาและคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ของนิสิตครุศาสตร์ที่มีคุณลักษณะต่างกัน ประชากรวิทยานิพนธ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณลักษณะและคุณภาพคือ วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2547-2549 จำนวน 406 เล่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะวิทยานิพนธ์ และแบบประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย สถิติทดสอบค่าเฉลี่ย (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของนิสิตครุศาสตร์ ปีการศึกษา 2547-2549 มีจำนวน 406 เล่ม โดยเป็นวิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณมากที่สุด จำนวน 316 เล่ม วิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ 38 เล่ม และวิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงผสม 52 เล่ม วิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาผู้เรียน (42.50%) 2. คุณภาพวิทยานิพนธ์อยู่ในระดับดี ซึ่งวิทยานิพนธ์ที่ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี 3 ปี และ 4 ปี มีคะแนนเฉลี่ยในการประเมินคุณภาพเท่ากับ 2.80, 2.84 และ 2.72 โดยวิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ วิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และวิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี ซึ่งมีคะแนนคุณภาพในการประเมินเฉลี่ย 2.79, 2.77 และ 2.84 ตามลำดับ 3. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะวิทยานิพนธ์ มีดังนี้ 3.1) วิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นิสิตที่ประกอบอาชีพรับราชการและนิสิตที่ยังไม่ประกอบอาชีพใช้ระยะเวลาในการศึกษาน้อยกว่านิสิตที่ประกอบอาชีพอื่นๆ วิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาทางการศึกษาเกี่ยวกับจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาผู้เรียน ใช้ระยะเวลาในการศึกษาน้อยกว่าวิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาทางการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 วิทยานิพนธ์ของนิสิตภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษามีคุณภาพสูงกว่าวิทยานิพนธ์ของนิสิตภาคอื่น 3.2) วิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ไม่มีตัวแปรคุณลักษณะใดที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการศึกษา และคุณภาพวิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3) วิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมพบว่า ไม่มีตัวแปรคุณลักษณะใดที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการศึกษา และคุณภาพวิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. วิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้ระยะเวลาในการศึกษาเฉลี่ย 3.01 ปี วิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้ระยะเวลาในการศึกษาเฉลี่ย 3.00 ปี และวิทยานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมใช้ระยะเวลาในการศึกษาเฉลี่ย 3.10 ปี วิทยานิพนธ์ที่ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี และ 3 ปี มีคะแนนเฉลี่ยในการประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์สูงกว่าวิทยานิพนธ์ที่ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To (1) analyze lengths of study time and quality of master’s degree theses of education students with different theses characteristics (2) compare lengths of study time and quality of master’s degree theses of education students with different theses characteristics. The 406 theses produced in academic year 2004 to 2006 were subjects of this study. The research instruments were research characteristics coding form and research quality evaluative form. Descriptive statistics, t-test and one-way ANOVA were used in the data analysis. The results of research were as follow 1. The 406 theses produced in the academic years 2004 to 2009 were composed of 316 quantitative studies, 38 qualitative studies and 52 mixed method studies. Many of them (42.50%) involved content about instructions for learners’ development. 2. The quality of these theses was good. The average scores of quality for theses in 2 years, 3 years and 4 years were 2.80, 2.84 and 2.72 respectively. The quality of quantitative studies, qualitative studies and mixed methods studies was good. The average scores of quality were 2.79, 2.77 and 2.84 respectively. 3. The result of theses characteristics comparison were 3.1) The quantitative studies, (1) The theses of students who were civil servants or had no occupation had less time spent on them than students which other occupations. (2) The theses involving instructions for learners’ development had less time spent on them than theses of other topics at .05 level of statistical significance. (3) The quality of quantitative studies in the Department of Educational Research and Psychology Department’s was higher than in other departments’. 3.2) The qualitative studies, not characteristics variables were effect to lengths of study time and the quality of studies at .05 level of statistical significance. 3.3) The mixed method studies, not characteristics variables were effect to lengths of study time and the quality of studies at .05 level of statistical significance. 4. The average study time of quantitative studies, qualitative studies and mixed method studies were 3.01 years, 3.00 years and 3.10 years respectively. The theses which spent 2 years and 3 years for studied were higher quality than the theses which spent 4 years for studied at .05 level of statistical significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16671
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kitiyanapalai_po.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.