Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16743
Title: การวิจัยแบบผสมเพื่อศึกษาผลกระทบของการเลื่อนวิทยฐานะที่มีต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: Mixed-method research to investigate the impact of academic professional promotion on performances of teachers under the Office of Basic Education Commission
Authors: อัฐพล อินต๊ะเสนา
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: ครู
ครู -- ภาระงาน
วิจัยแบบผสมผสาน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของการเลื่อนวิทยฐานะที่มีต่อการปฏิบัติงานของครู และ 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างครูที่ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะในระดับที่ต่างกัน โดยการเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,260 คน ซึ่งประกอบด้วย ครูที่ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะครูชำนาญการ จำนวน 480 คน วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จำนวน 480 คน และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จำนวน 300 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปร (MANOVA) และ 2) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และเพื่อนครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการเลื่อนวิทยฐานะ ที่มีต่อการปฏิบัติงานของครู พบว่า เมื่อครูได้เลื่อนวิทยฐานะครูชำนาญการ วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ทำให้ครูมีการพัฒนาตนเอง พัฒนาผู้เรียน และพัฒนาวิชาชีพครู อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05, 4.11, และ 4.14 ตามลำดับ) 2. ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูในด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนาผู้เรียนและการพัฒนาวิชาชีพครู ระหว่างครูที่ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะในระดับที่ต่างกัน พบว่าครูที่ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ (คศ.4) มีการปฏิบัติงานสูงกว่าครูที่ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะครูชำนาญ (คศ.2) ในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ครูที่ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะครูชำนาญพิเศษ (คศ.3) มีการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาตนเองสูงกว่าครูที่ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะครูชำนาญ (คศ.2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนครูที่ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะครูชำนาญพิเศษ (คศ.3) และครูที่ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ (คศ.4) มีการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันในทุกด้าน 3. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพสรุปได้ว่า เมื่อครูได้เลื่อนวิทยฐานะมีการพัฒนาตนเองในการหาความรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ความสามารถของตนเองให้มากยิ่งขึ้น ด้านการพัฒนาผู้เรียน การเลื่อนวิทยฐานะไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่านักเรียนจะต้องมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ห้องเรียน ตัวนักเรียน เป็นต้น ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู การเลื่อนวิทยฐานะของครู ทำให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ และเป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้นเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่นๆ และยังส่งผลไปยังภาพลักษณ์ต่อความน่าเชื่อถือของสังคมอีกด้วย
Other Abstract: The primary purpose of this study were aimed 1) to examine the impact of academic professional promotion on performances of the teachers, and 2) to compare the performances of the teachers under the basic education commission in teachers with different professional promotion. Data collection was divided into two steps. Firstly, the quantitative data collection, the samples included 1,260 teachers under the basic education commission, composing of 480 specialty teachers, 480 extra-specialty teacher, and 300 expertise teachers. The questionnaires were instrumental to gather data. The MANOVA was used to analyze data. Secondly, qualitative data collection, the focus group was implemented and content analysis was performed. The results were as follow; 1. The results of analysis of the opinion among teachers toward the impact of the academic professional promotion on the performances of the teachers indicated that specialty teachers, extra-specialty teachers, and expertise teachers reported their opinion toward self-development, learner’s development and teacher professional development highly (mean = 4.05, 4.11, and 4.14) 2. The comparison on teachers’ performances in respect of self-development, learner’s development, and teacher professional development between teachers with different professional promotion, it found that expertise teachers’ performances was higher than that of the specialty teachers at statistically significant level .01. In term of self-development the extra-specially teachers performance better than expertise teachers, whereas there were no differences in all respect of areas for the performances of the expertise teachers and expertise teachers. 3. The qualitative analysis demonstrated that the teachers who have been granted the professional promotion were likely to improve their self-development to gain additional knowledge and skills and competency. The academic professional promotion was not an indicator for learner’s development and academic achievement, and desired behaviors, because of the interference of other factors such as classroom and learner, etc. In respect of career path development, the professional promotion causes the teachers to be honorable and acceptable socially as compared to other professional career, and lead to the creditable image of the teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16743
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.381
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.381
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
autthapon_in.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.