Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16745
Title: ผลของการสอนเสริมด้วยพอดคาสต์โดยใช้กลวิธีในการกำกับตนเองในรายวิชา การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการกำกับตนเองของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Effects of supplementary teaching with podcast using self-regulated learning strategies in electronic media production for education course on learning achievement and self-regulation of undergraduate students
Authors: อานวัฒน์ บุตรจันทร์
Advisors: ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jaitip.N@Chula.ac.th
Subjects: การสอนเสริม
พอดคาสต์
การควบคุมตนเอง
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการกำกับตนเอง ก่อนและหลังการเรียนการสอนเสริมด้วยพอดคาสต์ โดยใช้กลวิธีในการกำกับตนเองในรายวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่ไม่ได้เรียนเสริมด้วยพอดคาสต์ กลุ่มที่เรียนเสริมด้วยพอดคาสต์ โดยใช้กลวิธีในการกำกับตนเองและกลุ่มที่เรียนเสริมด้วยพอดคาสต์ โดยไม่ใช้กลวิธีในการกำกับตนเอง ในรายวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต 3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนเสริมด้วยพอดคาสต์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2726122 การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โดยคัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างกลุ่มละ 25 คน แบ่งออกเป็น กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มที่เรียนเสริมด้วยพอดคาสต์โดยไม่ใช้กลวิธีในการกำกับตนเอง กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มที่เรียนเสริมด้วยพอดคาสต์โดยใช้กลวิธีในการกำกับตนเอง และกลุ่มควบคุม คือกลุ่มที่ไม่ได้เรียนเสริมด้วยพอดคาสต์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เว็บไซต์สำหรับเรียนเสริมด้วยพอดคาสต์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบวัดการกำกับตนเอง และแบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตที่เรียนเสริมด้วยพอดคาสต์โดยใช้กลวิธีในการกำกับตนเอง มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนและคะแนนการกำกับตนเองสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นิสิตที่เรียนเสริมด้วยพอดคาสต์โดยไม่ใช้กลวิธีกำกับตนเอง นิสิตที่เรียนเสริมด้วยพอดคาสต์โดยใช้กลวิธีในการกำกับตนเอง และนิสิตที่ไม่ได้เรียนเสริมด้วยพอดคาสต์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนเสริมด้วยพอดคาสต์เรียงตามลำดับ ดังนี้ (1) สื่อที่ใช้มีความน่าสนใจ (2) ความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติมและการทบทวนบทเรียน (3) ความยาวของการนำเสนอเหมาะสม
Other Abstract: The purposes of this research were: 1) to compare pretest-posttest learning achievement and self-regulation scores of supplementary teaching with podcast using self-regulated learning strategies in electronic media production for undergraduate students 2) to compare learning achievement of non-supplementary teaching with podcast , supplementary teaching with podcast using self-regulated learning strategies and supplementary teaching with podcast 3) opinions of student about using supplementary teaching with podcast. The samples were undergraduate students registered in Electronic Media Production for Education subject in Faculty of Education, Chulalongkorn University in last semester on year 2008. The samples were assigned 25 students in each group; First experimental group studied supplementary teaching with podcast, Second experimental group studied supplementary teaching with podcast using self-regulated learning strategies and control group is non- supplementary teaching with podcast. The research instruments were supplementary teaching with podcast on web, learning achievement test, self-regulation test, and students opinion questionnaires. Data were analyzed using the descriptive statistics, the t-test and one-way ANOVA. The major findings were as follows: 1. The students posttest scores and self regulation scores in supplementary teaching with podcast using self-regulated learning strategies had been higher than before the experiment at .05 level of significant. 2. The learning achievement of non-supplementary teaching with podcast was different significantly at the 0.5 level with the learning achievement of supplementary teaching with podcast using self-regulated learning strategies. 3. The satisfactions of students in supplementary teaching with podcast were described as follow: 1)media is interesting 2)getting supplement knowledge and reviewing the lesson 3)the suitable length of presentation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16745
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.603
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.603
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arnawat_bu.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.