Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16801
Title: การรำหน้าพาทย์รุกร้น และเสมอข้ามสมุทร ของพระราม และพระลักษมณ์
Other Titles: Dance of Na-Pat Ruk-Ron and Sa-Mer-Kham-Samut by Phra Ram and Phra Lak
Authors: ชรินทร์ พรหมรักษ์
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vijjuta@yahoo.com
Subjects: การรำ
โขน
รามเกียรติ์
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ของการรำหน้าพาทย์ รุกร้น และเสมอข้ามสมุทร ของพระราม และพระลักษมณ์ ในการแสดงโขน ในเรื่ององค์ประกอบของ การรำ วิเคราะห์นาฏยลักษณ์และความสำคัญของการรำหน้าพาทย์รุกร้น และเสมอข้ามสมุทร ของพระราม และพระลักษมณ์ ที่ปรากฏในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนจองถนน ในรูปแบบการเรียนการสอน ตามหลักสูตรนาฏศิลป์ไทย โขนพระ ของวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาแต่โบราณและรูปแบบที่ใช้ในการแสดงของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร โดยใส่ท่ารำอยู่บนราชรถ ที่ได้รับการสร้างสรรค์จากท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ที่เคยแสดง จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏยศิลป์ไทย 2 ท่าน ได้แก่องค์ประกอบในการรำหน้าพาทย์รุกร้น และเสมอข้ามสมุทร ประกอบด้วยบทประกอบการแสดง เวทีในการแสดง เครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี อาจารย์เผด็จพัฒน์ พลับกระสงค์ และอาจารย์ไพฑูรย์ เข้มแข็ง ผลการวิจัยพบว่า การรำหน้าพาทย์รุกร้น และเสมอข้ามสมุทร ของพระราม และพระลักษมณ์ ที่มีความหมายถึงการเดินทางข้ามมหาสมุทรไปยังเกาะลงกาของกองทัพพระรามและ พลวานร ตลอดจนเป็นการอวดฝีมือในการแสดงนาฏยศิลป์ไทย กระบวนท่ารำสายวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โครงสร้างกระบวนท่ารำใช้ในการเดินทาง ติดตาม เคลื่อนที่ใกล้-ไกล ที่ใช้ในลักษณะการเดินย่ำเท้าขึ้นและลงกระบวนท่ารำบนราชรถสายสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดเป็นกระบวนท่ารำที่พิเศษ ที่ผู้แสดงจะปฏิบัติ ท่ารำ โดยการใช้ลักษณะยืดยุบตัว ตลอดจนการสะดุ้งตัวขึ้นลง การเอียงศีรษะไปตามจังหวะหน้าทับของดนตรี ในพื้นที่จำกัดบนราชรถที่กำลังเคลื่อนที่ไป ในขณะที่พระรามยืนรำอยู่บนบุษบก ซึ่งจะต้องจัดช่องไฟระหว่างผู้แสดงที่เป็นพระราม และพระลักษมณ์ เพื่อให้ปฏิบัติท่ารำไม่ขัดกัน ติดกันหรือชนกัน สำหรับผู้แสดงที่เป็นพระลักษมณ์ จะต้องนั่งคุกเข่าแสดงไปตลอด กระบวนท่ารำยังมีความสัมพันธ์ในลักษณะท่าเดียวกับการรำหน้าพาทย์เชิดฉาน หน้าพาทย์กลม แม่บทใหญ่ แม่บทเล็ก เพลงช้า เพลงเร็วของโขนพระ ที่ใช้ท่าหลักของโขนพระในการรำ หน้าพาทย์
Other Abstract: This research aims at the historical study of Dance of Ruk-Ron and Sa-mer-kham-samut of Phra Ram and Phra Lak in khon performance in the aspect of the dance setting, the analytic studies of dance charateristics and the significance in stage performance of Ramakien in Chong Thanon scene. The dance is in the Thai Dance curriculum at the Dramatic Arts College, Bunditpatanasilpa which has been traditionaly handed down from ancient teachers and is a formal performance continuously played on stage by the office of music and Drama, Department of Fine Arts. With an additional dance on chariot, a work choreographed by Thanphuying Pheaw Sanidwongsenee. The studies are done by both documentary review and indepth interview with Mr. Phadetphat Phlapkrasong and Mr. Paitoon Khaemkhang, two experiened Thai stage performer. The studies have found that the dancers convey the story of invasion of monkey army led by Phra Ram to Longka, also an artistic work showing Thai dance skill from school of the Dramatic Arts College. As the dancer perform bodily movements according to drum melodies on the moving chariot, the chariot dance of Department of Fine Arts has very special characteristics. The Phra Ram performer stands with movement in the chariot’s pavillion. Numbers of the dancers require space arrangement in the chariot which has limitation in space, as a result the Phra Lak’s performer is set to kneel down through the performance. The bodily movement appears to have similar characteristics to Chert Chan dance, Klom dance, Mae bot yai mae bot lek and the male’s Plang cha and Pleng rew, as it uses major bodily movement in Khon. The compositions of the dances consist of the dramatic literature the stage, the costumes and the music
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16801
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1083
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1083
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charin_pr.pdf10.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.