Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16822
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์-
dc.contributor.advisorโสภาวรรณ บุญนิมิตร-
dc.contributor.authorธนพล เชาวน์วานิชย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-11T16:24:32Z-
dc.date.available2012-02-11T16:24:32Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16822-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกณณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัมพันธลักษณ์ของการแสดงและพื้นที่ในภาพยนตร์ของไฉ้หมิง เลี่ยง ด้วยการวิเคราะห์ภูมิหลัง ผลงาน แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกนักแสดงและการกำกับการแสดงของไฉ้หมิงเลี่ยง โดยศึกษาผ่านผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวของ ไฉ้หมิงเลี่ยง 9 เรื่อง ประกอบกับการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านละครเวทีและภาพยนตร์ จำนวน 11 ท่าน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1.ภูมิหลัง อัตลักษณ์ ประสบการณ์ต่างๆ และแรงบันดาลใจ ต่างมีส่วนในการหล่อหลอมความคิดทางสุนทรียะของไฉ้หมิงเลี่ยงในการก่อร่างสร้างงานจนกลายเป็นเอกลักษณ์ติดตัว ซึ่งเอกลักษณ์หนึ่ง ที่โดดเด่นมากในภาพยนตร์ของเขาคือการถ่ายทอดจักรวาลอันเต็มไปด้วยความเหงา โดดเดี่ยว และแปลกแยกของตัวละคร ที่ต่างรู้สึกไม่เข้าที่เข้าทางกับสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอาศัยอยู่ 2.ไฉ้หมิงเลี่ยงถ่ายทอดสุนทรียะของความเหงา โดดเดี่ยว และแปลกแยก ด้วยการใช้เทคนิคลองเทค อันเป็นเทคนิคแบบเดียวกับการแสดงละครอย่างต่อเนื่องบนเวที เพื่อให้คนดูเฝ้ามองความเป็นไปของเหตุการณ์และการกระทำของตัวละคร กลวิธีหนึ่งที่ไฉ้หมิงเลี่ยงใช้คือการพยายามไม่ให้คนดูมีอารมณ์ร่วมไปกับภาพยนตร์ เขาจึงนำเสนอฉากชีวิตที่มีความแปลกแปร่ง ลักลั่น ที่ทำให้คนดูรู้สึกถอยห่างจากภาพยนตร์และมีสติที่จะหยุดคิดในสิ่งที่ไฉ้หมิงเลี่ยงต้องการจะนำเสนอนั่นเอง 3.ไฉ้หมิงเลี่ยงคัดเลือกนักแสดงให้เหมาะสมกับบทบาทตามแนวเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาและจะมีกลุ่มนักแสดงที่ร่วมงานกับเขาทุกๆ เรื่อง เนื่องจากบทภาพยนตร์ของไฉ้หมิงเลี่ยงแทบจะไม่มีบทพูด เขาจึงต้องพูดคุยสื่อสารกับนักแสดงมากเป็นพิเศษ นักแสดงเองก็ต้องมีความคิดว่าจะคิดวิธีสื่อสารของตัวละครไปสู่คนดูได้อย่างไร วิธีการนี้จะนำเอาประสบการณ์จากชีวิตของพวกเขามาใส่ไว้ในการแสดงด้วย ดังนั้นกลุ่มนักแสดงจึงต้องรู้แนวคิดการทำงานของเขาเป็นอย่างดี เพื่อให้การทำงานราบรื่น 4.ไฉ้หมิงเลี่ยงมีรูปแบบการจัดวางตัวละครเพื่อสื่อความหมายต่างๆ ทั้งการจัดวางตัวละครในสภาพแวดล้อมความเป็นเมือง การจัดวางตัวละครในพื้นที่คับแคบ การควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของนักแสดงในลักษณะคล้ายละครเวที รวมไปถึงการจัดวางตัวละครและการใช้พื้นที่เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ต่างๆระหว่างตัวละครแทนการใช้คำพูด องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ เมื่อนำมาวิเคราะห์ ก็จะเห็นว่ารูปแบบวิธีการจัดวางนักแสดงในพื้นที่ภาพยนตร์ของไฉ้หมิงเลี่ยงนั้น ปรากฏให้เห็นซ้ำๆ ในผลงานของเขาทุกเรื่องจนสังเกตได้และเกิดเป็นเอกลักษณ์ที่ผสมผสานความเป็นละครเวทีและภาพยนตร์ที่แทบจะเป็นเนื้อเดียวกันในเนื้องานของเขาen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to investigate the relationship characteristic between the acting and space in the films by Tsai Ming-Liang which included the analysis of background, the works, the inspiration of such films and to survey ideas of casting and directing. The research includes the review of his 9 films with the in-depth interviews to 11 people who are the expertise and specialists in the stage drama and film. The finding indicates that; 1. The background, self identity, various experiences and inspiration are significant to the ideas of Tsai Ming Liang to form his identical works that portrays the universe of loneliness, solitarily and the dissimilarity of characters which proved to be strange with the surrounding that they inhabit. 2. Tsai Ming-Liang conveyed the loneliness, solitarily and the dissimilarity by using long-take camera, which is the same technique that is applied to stage dramas, providing the audiences watch the ongoing event and the characters. He also keep the audiences apart from his film, therefore, the scenes may look strange with a space to the audiences that leads to the main idea that Tsai wishes. 3. The casting is filled with the old group of actors and suit to the film’s characters. Tsai has to communicate with his actors more often because his films are all short of conversation. And the actors decided to speak to their audiences efficiently to avoid the miscommunication. 4. The staging is used to convey different meanings and messages which included the set of surrounding, the narrow space,the reflection of the family bonds nd the formation of interaction. These different kinds of staging are found in his filmsen
dc.format.extent3262256 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกณณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.204-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไฉ้หมิงเลี่ยงen
dc.subjectภาพยนตร์en
dc.subjectการแสดงen
dc.titleสัมพันธลักษณ์ของการแสดงและพื้นที่ในภาพยนตร์ของไฉ้หมิงเลี่ยงen
dc.title.alternativeRelationship characteristic between acting and space in the films of Tsai Ming-Liangen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสื่อสารการแสดงes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorThiranan.A@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.204-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanapol_ch.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.