Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16918
Title: | แหล่งกำเนิดและความเข้มข้นของสารประกอบอินทรีย์ระเหยในอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Sources and concentrations of volatile organic compounds (VOCs) in Bangkok's office buildings |
Authors: | รัฐเขต มูลรินต๊ะ |
Advisors: | ศิริมา ปัญญาเมธีกุล มณีรัตน์ องค์วรรณดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | sirima.p@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | สารประกอบอินทรีย์ อาคารสำนักงาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ อาคารสำนักงาน -- วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สารระเหยอินทรีย์ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาแหล่งกำเนิดและความเข้มข้นของสารอินทรีย์ระเหย (สารวีโอซี) และอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศภายในอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานครจำนวน 17 ตึก ในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม 2552 ทำการเก็บตัวอย่างสารวีโอซีด้วยหลอดเก็บตัวอย่างชนิดเรซินเทเน็กซ์ (Tenax-TA[superscript TM] sorbent tube) ต่อกับปั๊มเก็บตัวอย่างชนิดพกพาด้วยอัตราการดูดอากาศ 0.04 ลิตร/นาที ในช่วงเวลา 10:00-12:00 น. และ 13:00-15:00 น. เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ทำการเก็บตัวอย่าง 3 จุด ได้แก่ ภายในอาคาร 2 จุด ภายนอกอาคาร 1 จุด ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยเครื่อง Thermal desorption/gas chromatrography-mass spectrometer (TD/GC-MS) ทำการศึกษาสารวีโอซีจำนวน 13 ชนิด พบว่าสารโทลูอินมีค่าความเข้มข้นเฉลี่ยสูงสุดทั้งภายในและภายนอกอาคารเท่ากับ 110.19 และ 43.61 มค.ก./ลบ.ม. รองลงมาได้แก่ ไลโมนีน เอ็ม/พี-ไซลีน เอทธิลเบนซิน และ โอ-ไซลีน มีค่าความเข้มข้นเฉลี่ยภายในอาคารเท่ากับ 73.53, 12.20, 12.09 และ 9.63 มค.ก./ลบ.ม. ตามลำดับ วัดอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศของอาคาร (air exchange rate) ด้วยวิธี constant injection โดยใช้สารเฮกซะฟลูออโรเบนซิน (hexafluorobenzene) เป็นสารตามรอย (tracer gas) พบว่าอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.017-1.16 ชั่วโมง⁻¹ ทั้งนี้ร้อยละ 94 ของตึกตัวอย่างมีอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศต่ำค่ามาตรฐาน 0.67 ชั่วโมง⁻¹ (พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522) นอกจากนี้พบว่าสัดส่วนความเข้มข้นเฉลี่ยของสารวีโอซีภายในอาคารเปรียบเทียบกับภายนอกอาคาร (I/O ratio) มีค่าอยู่ในช่วง 1.68-12.29 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแหล่งกำเนิดสารวีโอซีภายในอาคารมีความสำคัญมากกว่าการแพร่ของสารวีโอซีจากภายนอกตัวอาคารเข้าสู่ภายในอาคาร |
Other Abstract: | This study was to investigate sources and concentrations of volatile organic compounds (VOCs) and air exchange rates (AER) in 17 office buildings in Bangkok, Thailand. Sampling was conducted during September-October 2009. Personal sampling pumps were used to draw air at a flow rate 0.04 min⁻¹ through Tenax-TA⁻¹ sorbent tubes. The cartridges incorporated ozone scrubbers to prevent VOCs losses on the sorbent surface. Air sampling was taken during 10:00-12.00 am and 1:00-3:00 pm on a weekday. At each sampling site, three categories of samples were collected, i.e., two indoor samples and one outdoor sample. Samples were then analyzed using thermal desorption (TD) and a gas chromatrography/mass spectrometer (GC/MS). Measurement of the office air exchange rates was performed by a constant injection technique using hexafluorobenzene as a tracer gas. Thirteen target VOCs were investigated including benzene, toluene, m/p-xylene, o-xylene, styrene, ethylbenzene, hexane, chloroform, 1,2-dicholroethane trichloroethylene, 1,2-dichloropropane, tetrachloro ethylene and limonene. Results showed that the levels of indoor and outdoor toluene were the highest valve (110.19 and 43.61 µg./m².), and followed by limonene, m/p-xylene, ethylbenzene, and o-xylene. Teh mean concentrations were 73.53, 12.20, 12.09 and 9.63 microgram/cubic meter, respectively. The air exchange rates ranged from 0.017 to 1.16 hr⁻¹. Ninety-four percent of the measured office had the air exchange rate below 0.67 hr⁻¹. (Building Control Act B.E. 2522 (A.D. 1979)). Furthermore, indoor/outdoor (I/O ratios) of the target compounds ranged from 1.68 to 12.29. This indicated that indoor sources are significant contributors to the level of indoor VOCs in comparison to the outdoor source |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16918 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2078 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.2078 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rathakheth_mo.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.