Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16928
Title: แนวทางวางผังบริเวณวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Site planning guildelines for Wat Asokaram, Samut Prakan province
Authors: วีรกิต วงศ์วิชิต
Advisors: นวณัฐ โอศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Navanath.O@Chula.ac.th
Subjects: วัดอโศการาม
ผังบริเวณ -- วัดอโศการาม
การวางผังบริเวณ -- แง่สิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การอนุรักษ์ป่าชายเลน
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัดอโศการามเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดใกล้เคียง ตั้งอยู่บริเวณปากน้ำเจ้าพระเจ้า มีพื้นที่ป่าชายเลนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัด ดังนั้นกิจกรรมและการใช้สอยพื้นที่จึงมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศชายฝั่งและป่าชายเลนในลักษณะการใช้สอยพื้นที่เพื่อการปฏิบัติธรรม เห็นได้จากในอดีตกุฏิที่ปลูกสร้างให้สอดคล้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ได้แสดงถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ที่นำไปสู่การรักษาพื้นที่ป่าชายเลน และแสดงถึงบทบาทสำคัญของวัดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่บริเวณชายฝั่งโดยรอบรวมถึงพื้นที่ในเขตวัดอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการสร้างเขื่อนหินทิ้งเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งซึ่งกลายเป็นแนวกีดขวางการขยายตัวของป่าชายเลนและปิดกั้นทางไหลของน้ำทะเลที่ทำให้น้ำท่วมขังและเน่าเสีย นอกจากนี้การใช้สอยพื้นที่ของวัดทั้งพื้นที่บกและในเขตพื้นที่ ป่าชายเลนที่น้ำทะเลท่วมถึงไม่มีการวางแผนควบคุม ทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชายฝั่งที่เป็นเอกลักษณ์ของวัด วิทยานิพนธ์นี้มีเป้าหมายเพื่อจัดทำผังแม่บท โดยการผสานแนวคิดในการอนุรักษ์พื่นที่ชายฝั่งและป่าชายเลน เข้ากับการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เหมาะสมกับกิจกรรมทางพุทธศาสนา ผ่านการออกแบบผังบริเวณวัดด้วยการแบ่งพื้นที่ใช้สอยในส่วนพุทธวาสและสังฆาวาส เพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมการปฏิบัติธรรม ร่วมกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนที่ดีเพื่อเป้นต้นแบบให้แก่ชุมชนใกล้เคียง
Other Abstract: Wat Asokaram is an important venue for religious activities. It is located on the estuary of Chao Praya River in Samutparkan province. The temple was built on mangrove area surrounded by communities. Suitable for meditation, as religious buildings stand in harmony with nature. Historically, the head monk's residence blends into the forested background which is shown that the temple plays an important role in environment and natural resource management. However, over the past decades the temple has faced changes, changes were noticeable in the area. Changes are from various causes, such as the building of rock dams to prevent the coastal erosion which obstructed the flow of seawater. As a result, some ponds in the area became waste-due to the lack of planning. This has a negative effect on the temple's image. The objective of the thesis is to provide a master plan of the two merging concepts -- the shore and mangrove forest's conservation and the religious activities optimization - to establish a model for the nearby communities
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16928
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.129
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.129
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weeragit_Wo.pdf12.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.