Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16931
Title: สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในอาคารชุด : กรณีศึกษา อาคารชุดในแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Living condition of the elderly in residential condominiums : a case study of residential condominiums in Lumphini sub-district, Pathumwan district, Bangkok metropolis
Authors: ศนิดา ภิญโญ
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Trirat.j@Chula.ac.th
Subjects: อาคารชุด -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทย ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งได้เลือกที่จะพักอาศัยอยู่ในอาคารชุดในเมือง แต่อาคารชุดที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการสูงอายุอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สภาพการอยู่อาศัย ปัญหาในการอยู่อาศัยและนำเสนอแนวทางในการออกแบบอาคารชุดที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ โดยได้เลือกพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวันเป็นพื้นที่ศึกษา เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์,แบบสอบถาม และแบบสังเกต ทำการศึกษาประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 50 คน เป็นผู้มีสัญชาติไทยและพักอาศัยภายในอาคารชุดที่ทำการสำรวจตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ผลการศึกษาลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนกรุงเทพฯ มีระดับการศึกษาสูง ร้อยละ 76 ยังคงทำงานอยู่ รายได้ส่วนใหญ่มาจากการทำงาน รองลงมาคือจากการลงทุน ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานแล้วมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการลงทุน ร้อยละ 88 มีรายรับเพียงพอกับรายจ่าย ด้านสุขภาพร้อยละ 80 ไม่มีโรคประจำตัว ผู้ดูแลยามเจ็บป่วยส่วนมากเป็นคู่สมรส ผลการศึกษาด้านสภาพการอยู่อาศัย พบว่าที่อยู่เดิมส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นบ้านเดี่ยวร้อยละ 80 เหตุผลในการย้ายที่อยู่อาศัยคือ การเดินทางไม่สะดวก,ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยเดิม และอยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งย้ายที่อยู่เพราะอายุมากขึ้นแล้วเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยกับดูแลที่พักเดิมไม่ไหว เหตุผลในการเลือกที่พักอาศัยปัจจุบันเลือกเพราะอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า รองลงมาคืออยู่ใกล้สถานที่ทำงาน ลักษณะการอยู่อาศัยปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ประจำทุกวันร้อยละ 74 ผู้สูงอายุร้อยละ 58 ไม่มีแผนที่จะย้ายที่อยู่ ส่วนปัญหาในการอยู่อาศัยที่ผู้สูงอายุมีปัญหามากที่สุดคือปัญหามลภาวะทางเสียงและอากาศข้อเสนอแนะ ด้านทำเลที่ตั้งควรอยู่ในระยะที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้สะดวก โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้า แต่ไม่ควรอยู่ใกล้มากเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหามลพิษทางเสียง พื้นที่ส่วนกลางควรอยู่ในที่ที่ผู้สูงอายุทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และควรมีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุไว้ตั้งแต่เริ่มโครงการ เช่น ที่จอดรถสำหรับผู้ใช้รถเข็น ลิฟต์ ทางลาด ราวจับ เป็นต้น ส่วนห้องพักอาศัยควรอยู่ใกล้บันไดหนีไฟ มีสัญญาณฉุกเฉินสำหรับเรียกคนภายนอก มีระบบป้องกันอัคคีภัย มีพื้นที่เพียงพอสำหรับให้รถเข็นเข้าถึงได้ในทุกพื้นที่ พื้นควรมีระดับเสมอกัน ห้องน้ำควรเป็นแบบพื้นมีที่นั่งอาบ และมีพื้นที่เตรียมไว้สำหรับการติดตั้งราวจับในอนาคต เนื่องจากผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงยังไม่ต้องการติดตั้งราวจับจนกว่าจะจำเป็น
Other Abstract: At present, most of the elderly who reside in Bangkok choose to live apartment houses in the urban area. However, they may find living in an apartment house difficult because it was not designed to meet their needs. The objectives of this study were to investigate the economic, social, health and living conditions of the elderly, to identify problems related to these conditions and to propose guidelines for designing apartment houses in line with the elderly's needs. The area studied was the Lumphini Sub-district of Bangkok's Pathumwan District. The research tools were an interview form, a questionnaire and an observation form. The subjects were 50 Thai people aged over 50 years old who had been living in their apartment houses for more than 1 month. It was found that most of the elderly were married and were from Bangkok. They were highly educated and 76% of them were still working. Most of their income was from work and investments or investments only. 88% had sufficient income and 80% did not have any inherited diseases. When ill, their spouse was able to take care of them. As for living conditions, 80% had a detached house in Bangkok, but had to move because they had difficulties in commuting, did not own the house or the house was too far from their offices. Some moved because they were getting older and were worried about their safety. Some said they could not maintain the house. Most decided to buy their current residences because they were near the BTS or near their offices. 74% lived regularly in their residences and 58% of them had no plan to move. The main problems they were facing were noise pollution and air pollution. It is suggested that the location of the residences for the elderly should have easy access to public services, in particular the BTS, and the shared areas of the residence should be easily accessible for them. Necessary facilities such as parking spaces for those with wheelchairs, elevators, sloped pathways and handrails should be provided. Apartment houses for the elderly should be near fire escape routes. An emergency alarm and a fire prevention system should be installed in their houses. Every corner of the house should be reachable by wheelchair and the floor should be even. Bathrooms should be big enough so that the elderly can sit and take a bath. A plan for installing handrails should be mapped out to facilitate access for the elderly who will not be able to walk without assistance in the future
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16931
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.224
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.224
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sanida_pi.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.