Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16955
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: An analysis of causal factors of educational administration quality of small-sized schools under The Office of The Basic Education Commission
Authors: อภิเชษฐ์ ฉิมพลีสวรรค์
Advisors: ปองสิน วิเศษศิริ
ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pongsin.V@Chula.ac.th
Siridej.S@Chula.ac.th
Subjects: ประกันคุณภาพการศึกษา
ประกันคุณภาพ
โรงเรียน -- การบริหาร
การวางแผนการศึกษา
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพในการจัดการศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) พัฒนารูปแบบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) ศึกษาเส้นทางอิทธิพลระหว่างตัวแปรแฝงในรูปแบบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพในการจัดการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1) เป็นการศึกษารายกรณีจากโรงเรียนที่เป็น ต้นแบบเพื่อสังเคราะห์ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา 2) เป็นการศึกษาเชิงยืนยันจากสภาพจริง ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2551 จำนวน 10,877 โรง กลุ่มตัวอย่าง ได้จากการกำหนดขนาดโดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan จำนวน 374 โรง เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ใช้ค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS for Windows การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของตัวแปรเป็นรายคู่ ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การตรวจสอบความตรงของโมเดล ใช้การหาค่าไค-สแควร์ และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานและค่าสหสัมพันธ์ของค่าประมาณ ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณและค่า สัมประสิทธิ์พยากรณ์ ด้วยโปรแกรมลิสเรล ส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการจำแนกประเภทข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูลและการสร้าง ข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุของคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ปัจจัยภายนอก ซึ่งได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางสังคม สภาพแวดล้อมทางการเมือง สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีและปัจจัยภายในซึ่ง ได้แก่ โครงสร้างองค์กร บุคลากร สภาพทางกายภาพ งบประมาณ และการบริหารจัดการ โดยปัจจัย ภายนอกส่งผลต่อคุณภาพในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสูงกว่าปัจจัยภายใน
Other Abstract: This research had the following objectives: 1) to analyze the factors that affect the quality of education management in small-size schools under the supervision of the Office of the Basic Educational Commission (OBEC); 2) to develop the form of causal relationship of the factors that affective the quality of small–size schools; and 3) to study and analyze the influential route of latent variables in the form of causal factors influencing the quality management of small–sized schools under the OBEC. The research methodology had 2 steps as follows: Step 1) to synthesize variable of factors by case study that observation and interviews are used. The data was then analyzed by content analysis, typological analysis, comparison and analytic induction. Step 2) to study the causal factors. A sample size of 374 schools from the total of 10,877 small–sized schools was randomly chosen by using Krejcie and Morgan. The research instruments used were rating scale questionnaires. The SPSS program was used in order to analyze descriptive statistics and RISREL program was applied to analyze the factors ; Pearson’s correlation coefficient, Chi-square, Goodness of Fit Index (GFI), Standard Error of Measurement (SEM), R-square and Multiple Regression Coefficient. The research findings were summarized as follows: The causal factors of educational administration of small–sized school under The Office of the Basic Education Commission consisted of external factor and internal factors. External factors included economic, social, political, environmental and technological factors. Internal factors included organizational structure, human resources, budgeting and administrative factors. The research had been found that external factors had more impact on the educational of small–sized schools under the OBEC
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16955
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.659
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.659
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apichate_Ch.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.