Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16992
Title: | ทัศนคติของผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจที่มีต่ออาชีพการประชาสัมพันธ์และกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ |
Other Titles: | Economic reporter's attitude toward public relations profession and media relations activities |
Authors: | ทิพย์อาภรณ์ ยิ้มละมัย |
Advisors: | พนม คลี่ฉายา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Phnom.K@Chula.ac.th |
Subjects: | การประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน จรรยาบรรณ ทัศนคติ นักข่าว |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาทัศนคติของผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจที่มีต่ออาชีพการประชาสัมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย 2 วิธี คือการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ โดยเลือกกระจายตามอายุการทำงาน เพื่อนำมาสร้างแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งดำเนินการต่อจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสำรวจทัศนคติของผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจที่มีต่ออาชีพการประชาสัมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจมีทัศนคติต่ออาชีพการประชาสัมพันธ์ในทิศทางบวก โดยมีมุมมองว่าอาชีพการประชาสัมพันธ์เป็นอาชีพที่ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องรู้จักเรียนรู้คนอื่น ต้องพร้อมจะแก้ไขความผิดพลาด เป็นอาชีพที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร และยังมองว่าเป็นอาชีพที่น่าเห็นใจ เพราะมีความยากลำบากในการทำงาน ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจมีทัศนคติต่อตัวนักประชาสัมพันธ์ในทิศทางบวก โดยมีมุมมองว่า นักประชาสัมพันธ์เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรของตนเอง เป็นผู้ที่ตอบสนองในด้านข้อมูลข่าวสารได้ นอกจากนี้นักประชาสัมพันธ์จะต้องมีคุณลักษณะเฉพาะหลายอย่าง เพื่อความสำเร็จในการทำงาน เช่น ให้ข้อมูลและรายละเอียด มีความกระตือรือร้นตอบคำถามของนักประชาสัมพันธ์ ให้ความร่วมมือในการทำงานข่าวของผู้สื่อข่าว และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจมีทัศนคติต่อตัวกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ในทิศทางบวก โดยมีมุมมองว่า เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สื่อข่าวได้พบและได้ถามคำถามกับแหล่งข่าวโดยตรง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สื่อข่าวกับแหล่งข่าว เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากต่อตัวผู้สื่อข่าวและมีความจำเป็นมากต่อการทำข่าว มีบางกิจกรรมที่ผู้สื่อข่าวมองว่าไม่มีความจำเป็น เช่น การจัดเลี้ยงขอบคุณ การพาผู้สื่อข่าวไปสันทนาการ เนื่องจากบางครั้งอาจกลายเป็นเรื่องของผลประโยชน์ต่อกันได้ นอกจากนี้ผลจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจที่มีเพศ อายุงาน และสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาแตกต่างกัน มีทัศนคติต่ออาชีพการประชาสัมพันธ์ นักประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | To study the economic reporters’ attitude toward public relations profession, public relations practitioners and media relations activities. The research methods are divided into 2 phrases. Firstly, in-depth interview is conducted among economic reporters. Secondly, the in-depth interview result is used for survey research to find economic reporters’ attitude toward public relations profession, public relations practitioners and media relations activities. The questionnaire is used for data collecting among 200 samples. The result shows that economic reporters’ attitude towards public relations profession is positive. They view that people who are in public relations profession should try to learn more about others and should be ready for responsible with the wrong things. They also view that this profession should promote corporate image, however, they view that this profession is tough and sympathize. The economic reporters’ attitude towards public relations practitioners is positive. They view that pubic relations practitioners are comprehended their corporate and response to their need of information. In addition, they view that public relations practitioners who would success in duty should have supply information they need, eagerly response to their inquiry, kindly cooperate to support them in news reporting and have good human relationship. The economic reporters’ attitude towards media relations activities is positive. They view that media relations activities give a chance for reporters to reach source inside the company, create good relationship with source. They also view that this activities is useful, however, they suggest that some activities might be unnecessary such as thank you party and leisure activity due to overlapping with conflict of interest. The hypotheses testing find that there are no significant difference of economic reporters’ attitude toward public relations profession, public relations practitioners and media relations activities among their difference in gender, year of service and academic background with 0.05 significant level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16992 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.766 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.766 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thiparporn_yi.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.