Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17029
Title: งานบริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 6
Other Titles: Educational administrative tasks of secondary schools in the educational region 6
Authors: ถวัลย์ บุญแสน
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Noppong.b@chula.ac.th
Subjects: การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาโครงสร้างของระบบบริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตศึกษา 6 2. เพื่อศึกษางานบริหารการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตศึกษา 6 โดยเฉพาะงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน งานวิชาการ งานบุคคล งานกิจการนักเรียน และงานธุรการ การเงินและบริการ 3. เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างระบบบริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตศึกษา 6 และงานบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภทในโรงเรียนดังกล่าว วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร นักวิชาการ และประชาชน หรือผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตศึกษา 6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยจังหวัดและโรงเรียนสุ่มมาใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัยประมาณร้อยละ 60 และ 50 ตามลำดับ ส่วนการเก็บและรวบรวมข้อมูลนั้น ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ สังเกต และใช้แบบสอบถามจากประชากรทั้ง 3 กลุ่ม ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติคือ หาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการเปรียบเทียบ ผลการวิจัย 1. โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตศึกษา 6 ส่วนใหญ่มีโครงสร้างของระบบบริหารการศึกษาที่คล้ายคลึงกัน จัดโดยอาศัยหลักประสมประสานกันระหว่างการจัดแบบสายสั่งงานกับแบบสายงานที่ปรึกษา โดยมีอาจารย์ใหญ่หรือผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในโรงเรียนและมีผู้ช่วย 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายธุรการ และฝ่ายปกครอง นักเรียนในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่บางแห่งจัดให้มีคณะกรรมการเป็นที่ปรึกษาสำหรับงานบางงานเช่น คณะกรรมการวิชาการ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน สำหรับบุคคลที่ทำหน้าที่ในสายบริการการสอนนั้น โรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางบางโรงเรียนใช้ครูผู้สอนทำหน้าที่ ส่วนโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่บางโรงเรียนจะมีอาจารย์ที่ทำหน้าที่เฉพาะทาง เช่น แนะแนว โสตทัศนศึกษา บรรณารักษ์เป็นต้น 2. งานบริหารการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตศึกษา 6 นั้น ตามความคิดเห็นรวมของประชากรทั้ง 3 กลุ่ม เห็นว่าโรงเรียนปฏิบัติงานทั้ง 5 ประเภทอยู่ในระดับน้อยทั้งสิ้น โดยจัดลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ งานบริหารบุคคลกับงานธุรการ การเงินและบริการ มีน้ำหนักเท่ากัน งานรอง ๆ ลงไปคือ งานบริหารกิจการนักเรียน งานบริหารวิชาการ และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารนั้น เห็นว่า โรงเรียนปฏิบัติงานทั้ง 5 ประเภทอยู่ในระดับมาก 1 งาน คืองานบริหารบุคคล นอกนั้นอยู่ในระดับน้อย โดยจัดลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ งานบริหารบุคคล งานบริหารวิชาการ งานกิจการนักเรียน งานบริหารธุรการ การเงินและบริการ และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ตามความเห็นของนักวิชาการนั้น เห็นว่า โรงเรียนปฏิบัติงานทั้ง 5 ประเภท อยู่ในระดับน้อยทั้งสิ้น โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ งานบริหารบุคคล งานธุรการ การเงินและบริการ งานบริหารกิจการนักเรียน งานบริหารวิชาการและงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ตามความคิดเห็นของประชาชนมีความเห็นว่าโรงเรียนปฏิบัติงานทั้ง 5 ประเภทอยู่ในระดับมาก อยู่ถึง 4 งาน และปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยเสีย 1 งาน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ งานบริหารธุรการ การเงินและบริการ งานบริหารบุคคล งานบริหารกิจการนักเรียน งานบริหารวิชาการ และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 3. ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบบริหารในโรงเรียนและปัญหาเกี่ยวกับงานบริหารการศึกษานั้น ส่วนมากคล้ายคลึงกันและเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากการจัดระบบโครงสร้างของระบบบริหารและการบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภท
Other Abstract: Purposes of the study 1. To study the structure of educational administrative system of secondary school in the educational region 6. 2. To study the educational administrative tasks of secondary schools in the educational region 6, especially in the areas of public relations, academic, personnel, student affairs and business administration. 3. To study the problems concerning the structure of educational administrative system of secondary schools in the educational region 6, and those concerning the five educational administrative tasks. Methodology The population used in this research consisted of administrators, teachers and the students’ parents whom related to the secondary schools in the educational region 6. Sixty percent of the provinces in that region 6 were selected as the sample by the method of simple random sampling. Fifty percent of secondary schools in each province was drawn out to be sample by the same method. The techniques of observation, interviewing and questionnaires were used to collect data from the sample. The percentage, arithmetic mean and standard diviation were used to analyses and compare the data. Finding 1. Most secondary schools in the sixth educational region have similar structure of educational administrative system. They are organized by means of combination of line and staff form of structure. The principals stand for the highest responsibility in school. There are assistant principals to take care of academic, business and student affairs. In some medium and large schools there are consultant committee to assist the principals in some areas of administration such as committee on academic of fairs, committee on school management. The personnel who are responsible in the field of service areas, in some small and medium school, are appointed from teachers to take care of but in some medium and large schools utilized the specialist to function such as guidance, audiovisual and library personnel etc. 2. According to the point of view of all population, the educational administrative tasks of the secondary schools are functioned at low level in all five areas. When comparing the levels, the result is respectively as follow personnel and business administration, student affairs, academic administration and public relations. According to the administrators’ point of view concerning educational administrative tasks in school, personnel is of the most function, but academic, student affairs, business administration and public relations, are performed respectively at the low level. According to the teachers’ point of view, those five area tasks are all performed respectively at the low level: personnel, academic, student affairs, business administration and public relations. According to the parents’ point of view, business administration, personnel, student affairs and academic administration are performed respectively high level, but public relations is still at low level. 3. The problems related to the administrative structure are similar in most secondary schools. They are associated with the result of the administrative organizational structure and the five administrative area tasks.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17029
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1979.15
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1979.15
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tawan_Bo_front.pdf533.81 kBAdobe PDFView/Open
Tawan_Bo_ch1.pdf511.58 kBAdobe PDFView/Open
Tawan_Bo_ch2.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Tawan_Bo_ch3.pdf537.7 kBAdobe PDFView/Open
Tawan_Bo_ch4.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Tawan_Bo_ch5.pdf707.08 kBAdobe PDFView/Open
Tawan_Bo_back.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.