Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1704
Title: ส่วนประกอบกราฟสำหรับสร้างแฟ้มข้อมูลเอสวีจี
Other Titles: Graphic component for generating SVG file
Authors: วิมลศรี หอมหวล, 2517-
Advisors: วิวัฒน์ วัฒนาวุฒิ
ธาราทิพย์ สุวรรณศาสตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: wiwat.v@chula.ac.th
Taratip.S@chula.ac.th
Subjects: กราฟ
ซอฟต์แวร์--การพัฒนา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแสดงสารสนเทศในรูปแบบของกราฟช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการแสดงกราฟในรูปแบบเอสวีจีซึ่งจะสามารถแสดงผลบนเว็บได้ดี เพราะขนาดของแฟ้มข้อมูลประเภทนี้จะมีขนาดเล็กทำให้การแสดงผลทำได้อย่างรวดเร็ว ความคมชัดสูง และสามารถปรับเปลี่ยนขนาดของรูปได้ตามต้องการ และเนื่องด้วยคุณสมบัติการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบส่วนประกอบซึ่งทำให้ส่วนที่ได้รับการพัฒนานั้นๆสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีความถูกต้องน่าเชื่อถือและความยืดหยุ่นสูง งานวิจัยได้ทำการออกแบบและพัฒนาส่วนประกอบกราฟสำหรับสร้างแฟ้มข้อมูลเอสวีจี โดยนำเข้าข้อมูลจากฐานข้อมูลไมโครซอฟต์เอสีคิวแอลเซิร์ฟเวอร์ และให้ผู้ใช้สามารถเลือกแสดงผลเป็นกราฟได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ กราฟแท่ง กราฟเส้น และกราฟวงกลม เนื่องด้วยมีการออกแบบและพัฒนาในแบบส่วนประกอบ ทำให้ส่วนประกอบกราฟนี้มีคุณสมบัติในการนำกลับมาใช้ใหม่ จากการทดสอบการใช้งานผ่านภาษาซีชาร์ป และ ภาษาวิชวลเบสิกดอทเน็ต พบว่า ส่วนประกอบกราฟสามารถทำงานได้ถูกต้องและสามารถสร้างกราฟได้ตามที่ต้องการ
Other Abstract: Information presented in graph helps user to understand, analyze, and make decision more easily. A graphic file in SVG format is suitable for displaying on the web becauseit has small size, high resolution, and scalable. Besides the advantages of designing and developing software in component based approach are reusability. Reliability, and high flexibility. The objective of this research is to design and develop a graph component that will generate SVG file by importing data from Microsoft SQL Server. Three different views of graph can be generated; which are bar, line, and pie graph. Thus, through using component based software development, source code is reusable. According to the testing of conformance development with C# and Visual Basic. Net, this component works correctly and meets all requirements.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1704
ISBN: 9741768338
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimonsri.pdf895.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.