Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17386
Title: | การวิเคราะห์ต้นทุนและผลการดำเนินงานในการตรวจค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อน : กรณีศึกษาสถาบันบำบัดโรคผิวหนังบางเขน |
Other Titles: | Cost and performance analysis of leprosy case detection a case study of Bang Khen skin clinic |
Authors: | นันทิยา ผลไสว |
Advisors: | สมคิด แก้วสนธิ สมชาย พิระปกรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โรคเรื้อน -- ค่าใช้จ่าย ผิวหนัง -- โรค |
Issue Date: | 2536 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาด, องค์ประกอบของต้นทุนและผลการดำเนินงานในการตรวจค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนของสถานบำบัดโรคผิวหนังบางเขนแบบตั้งรับและแบบรุก ในปีงบประมาณ 2534 เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยเก็บข้อมูลต้นทุนย้อนหลัง และหาเกณฑ์ในการกระจายต้นทุนไปยังกิจกรรมโดยการสังเกตและบันทึกลักษณะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนรวมในการตรวจค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนต่อครั้งที่ให้บริการในคลินิกโรคผิวหนัง คลินิกโรคเรื้อน และการเยี่ยมติดตาม เท่ากับ 62, 350 และ 366.6 บาท ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยต้นทุนรวมทุกกิจกรรม = 259.6, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 171.3, มัธยฐาน = 350.1, พิสัย = 304.6) โดยทุกกิจกรรมมีองค์ประกอบของต้นทุนหมวดค่าแรงสูงที่สุด ต้นทุนรวมในการตรวจค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนต่อรายในคลินิกโรคผิวหนัง คลินิกโรคเรื้อน และการเยี่ยมติดตาม เท่ากับ 170, 458 และ 2,997 บาทตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยต้นทุนรวมทุกกิจกรรม = 1,208.6, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1,555.5, มัธยฐาน = 458.2, พิสัย = 2,826.5) โดยในคลินิกโรคผิวหนังมีองค์ประกอบต้นทุนหมวดค่าวัสดุสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.8 ของต้นทุนรวม หรือคิดเป็นหมวดต้นทุนที่เกี่ยวกับการแพทย์ (Medical Cost) สูงที่สุด ร้อยละ 83.4 ของต้นทุนรวม คลินิกโรคเรื้อนมีองค์ประกอบของต้นทุนหมวดค่าแรงสูงที่สุดร้อยละ 79.2 หรือคิดเป็นหมวดต้นทุนที่เกี่ยวกับการแพทย์สูงที่สุด ร้อยละ 93.8 ของต้นทุนรวม การเยี่ยมติดตามผู้ป่วยมีองค์ประกอบต้นทุนหมวดค่าแรงสูงที่สุด ร้อยละ 99.4 ของต้นทุนรวม หรือคิดเป็นหมวดต้นทุนที่เกี่ยวกับการแพทย์สูงที่สุด ร้อยละ 97.5 ของต้นทุนรวม ส่วนผลการดำเนินงานในการตรวจค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนพบว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในปีงบประมาณ 2534 มีจำนวนทั้งสิ้น 32 ราย ได้จากการตรวจค้นในคลินิกโรคผิวหนัง 27 ราย (ร้อยละ 84.4) ในคลินิกโรคเรื้อน 4 ราย (ร้อยละ 12.5) และจากการเยี่ยมติดตาม 1 ราย (ร้อยละ 3.1) ผู้ป่วยใหม่ที่พบในคลินิกโรคผิวหนังจำนวน 4 ราย (ร้อยละ 80) และในคลินิกโรคเรื้อนจำนวน 1 ราย (ร้อยละ 20) เป็นผู้ป่วยพิการ ส่วนการเยี่ยมติดตามไม่พบผู้ป่วยใหม่พิการ |
Other Abstract: | The objectives of this research are to determine magnitude of cost, analysis the cost components and performance of leprosy case detection at Bang Khen Skin Clinic in undertaking active and passive case detection. The study is a retrospective analytical study, using the cost data of the B.E. 2534 (1991) fiscal year. The criteria to allocate (cost) were determined by time spent on activities. The observation and time motion were undertaken randomly within a certain period of time. The study reported that the total cost per visit of leprosy case detection within the skin clinic, the leprosy clinic and the following up are 62, 350 and 366.6 Bahts respectively (the average total cost of all activities is 259.6 Bahts, S.D. 171.3, median 350.1, range 304.6) and labor cost is the largest component for all activities. The total cost per case of leprosy case detection within the skin clinic, the leprosy clinic and the following up are 170, 458 and 2,997 Bahts respectively (the average total cost of all activities is 1,208.6 Bahts, S.D. 1,555.5, median 458.2, range 2,826.5). Within the skin clinic, the material cost is the largest component of total cost (52.8%) and the medical cost is up to 83.4%. Within the leprosy clinic, the labor cost is the largest component of total cost (79.2%) and the medical cost is up to 93.8%. The following up activity, labor cost is the largest component (99.4%) and the medical cost is 97.5%. The performance analysis reported that, of all 32 new cases detected that year, 27 cases (84.4%) were detected at the skin clinic whereas 4 cases (12.5%) and 1 case (3.1%) were detected via the leprosy clinic and the following up activity respectively. Disability rate among new cases at the skin clinic, the leprosy clinic and the following up were 80%, 20%, and 0% respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17386 |
ISBN: | 9745824089 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuntiya_Ph_front.pdf | 379.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntiya_Ph_ch1.pdf | 446.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntiya_Ph_ch2.pdf | 378.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntiya_Ph_ch3.pdf | 477.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntiya_Ph_ch4.pdf | 643.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntiya_Ph_ch5.pdf | 368.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuntiya_Ph_back.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.