Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/174
Title: ความสามารถในการแข่งขันของหัตถอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Competitiveness of handmade silver jewelry industry in Chiang Mai
Authors: รัชนีกร วุฒิเศรษฐไพบูลย์, 2522-
Advisors: ชโยดม สรรพศรี
สมชาย รัตนโกมุท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: อุตสาหกรรมหัตถกรรม--ไทย--เชียงใหม่
เครื่องประดับเงิน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันของหัตถอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างการผลิต การตลาดและการส่งออกโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม และทำการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันโดยใช้แนวคิด Diamond Model ของ Michael E. Porter รวมทั้งใช้แนวคิด จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) นอกจากนี้ทำการวิเคราะห์โอกาสในการส่งออกและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยแนวทางเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) รวมทั้งพัฒนาแผนกลยุทธ์สำหรับหัตถอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงิน จากการสำรวจข้อมูลพบว่ามีโรงงานหัตถอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินในจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 19 แห่ง ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 17 แห่งเป็นโรงงานขนาดเล็กทั้งหมด โดยมีโรงงานที่ผลิตหัตถอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินอย่างเดียว 3 ราย ที่เหลือ 14 ราย ผลิตเครื่องประดับเงินร่วมกับเครื่องเงินประเภทอื่น ผลของการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของหัตถอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินในจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้ Diamond Model พบว่าด้านปัจจัยการผลิตมีข้อได้เปรียบ คือ แรงงานมีฝีมือ มีรากฐานทางวัฒนธรรม ข้อด้อยคือพึ่งพิงวัตถุดิบจากต่างชาติ ขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย แรงงานมีระดับการศึกษาต่ำ ขาดนักออกแบบที่มีคุณภาพ ด้านปัจจัยสนับสนุนมีข้อได้เปรียบ คือ มีธุรกิจปลายน้ำอยู่ในพื้นที่ มีสถาบันส่งเสริมสนับสนุนพร้อม มีข้อด้อยคือ ความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและสถาบันส่งเสริมสนับสนุนมีค่อนข้างน้อย ด้านปัจจัยอุปสงค์มีข้อด้อยคือ ลูกค้ามีความรู้เรื่องหัตถอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินน้อย ส่วนด้านกลยุทธ์โครงสร้างขององค์กรและสภาวะการแข่งขัน มีข้อได้เปรียบคือ มีกลยุทธ์การผลิต มีกลยุทธ์ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และมีการแข่งขันสูงด้านรูปแบบและคุณภาพ แต่มีข้อด้อยคือขาดความรู้ทางด้านการตลาดและการส่งเสริมการตลาด รวมทั้งขาดทัศนคติในการพัฒนาตนเองและธุรกิจ จากการศึกษาพบว่าหัตถอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินในจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้เป็นเครือข่ายวิสาหกิจเป็นเพียงแหล่งธุรกิจที่มีการก่อตั้งภายในพื้นที่เดียวกัน แต่ลักษณะดังกล่าวเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการเป็นเครือข่ายวิสาหกิจที่ยังไม่พัฒนา ซึ่งขาดความเชื่อมโยงและความร่วมมือกัน อย่างไรก็ตามสามารถพัฒนาเป็นเครือข่ายวิสาหกิจที่พัฒนาและยั่งยืนได้ถ้าหากได้รับการแก้ไขและสนับสนุน เช่น การสร้างกิจกรรมระหว่างผู้ประกอบการการมีผู้ประสานงาน การให้รู้จักประเมินตนเองในด้านต่างๆ รวมทั้งจัดทำระบบติดตามและประเมินผล เป็นต้น
Other Abstract: This thesis is about the competitiveness of handmade silver jewelry industry in Chiang Mai. The purpose of this thesis is to study the production, marketing and exporting structures by using industrial economic theory, to analyze the industry’s competition based on the Diamond Model of Michael E. Porter and SWOT analysis, to use the Cluster concept to increase an export opportunity and competitiveness and to develop strategy for handmade silver jewelry industry in Chiang Mai. The survey indicates that there are about 19 handmade silver jewelry factories in Chiang Mai. This study collected information from 17 factories, all of which are small factories. There are only three factories that produce handmade silver jewelry whereas the other 14 factories produce handmade silver jewelry and handmade silverware. According to the competitiveness analysis of handmade silver jewelry industry in Chiang Mai by the Diamond Model, the advantages of factor conditions are skilled labor and cultural foundation, while the disadvantages are dependency on importing raw materials, low educated labor, lack of designers and technologies. The other advantages of related and supporting industries are the sufficient downstream industries and the supporting institutions, while the disadvantage is the unpleasant of cooperation between the producers and the supporting institutions. The disadvantage of demand condition is the insufficient knowledge of consumers about the handmade silver jewelry industry. The advantages of firm strategy, structure and rivalry are the production strategy, e-commerce strategy and high competition in style and quality, while the disadvantages are the lack of knowledge in marketing, promotion strategy, and attitude in self-development and entrepreneurship. The empirical results indicate that the producers in the handmade silver jewelry industry in Chiang Mai are not gathering together as the Cluster. They are in the same area but the Cluster is underachieved. The producers within this industry do not have close relationship and cooperation among themselves. However, they could develop an effective and sustainable Cluster, if they were to improve and support the activities among the producers. Also the other supporting industries should be together by starting joint activities, they should be a coordinating unit to organize joint activities, to assess self performance, to monitor the progress and to evaluate the Cluster project.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/174
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.530
ISBN: 9745313874
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.530
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ruchaneekorn.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.