Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17412
Title: | บทบาทหน้าที่ของกรมประชาสัมพันธ์ในฐานะองค์กรสื่อสารมวลชน |
Other Titles: | The functions of the Gonernment Public Relations Department as mass media organization |
Authors: | พรสวรรค์ อุทารวุฒิพงศ์ |
Advisors: | ขวัญเรือน กิติวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Kwanruen.K@chula.ac.th |
Subjects: | กรมประชาสัมพันธ์ -- ประวัติ |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของกรมประชาสัมพันธ์ที่มีในสังคมไทย ทั้งบทบาทหน้าที่ที่กำหนดให้และบทบาทหน้าที่ในฐานะองค์กรสื่อสารมวลชน ขอบเขตของการศึกษาวิจัยครอบคลุมถึง การศึกษาบทบาทหน้าที่ด้านสื่อสารมวลชน โดยทำการศึกษาถึงลักษณะโครงสร้าง สื่อในสังกัด และภารกิจหน้าที่ของกรมประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ผลของการศึกษาวิจัยพบว่า รัฐบาลตั้งกรมประชาสัมพันธ์ขึ้นครั้งแรกในชื่อกองการโฆษณา โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่การปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เป็นที่รู้จักและเลื่อมใสในหมู่ประชาชนชาวไทย และเผยแพร่ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักและไว้วางใจแก่นานาประเทศ ปัจจุบันกรมประชาสัมพันธ์มีหน่วยงานอยู่ทั้งในกรุงเทพฯ ในต่างจังหวัดและในต่างประเทศ มีสื่อในสังกัดทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็คโทรนิค และสื่อเฉพาะกิจ ในฐานะหน่วยงานของรัฐบาล กรมประชาสัมพันธ์มีหน้าที่หลักในการเผยแพร่นโยบายและผลงานของรัฐบาล ตลอดจนการสร้างความเข้าใจอันดีต่อรัฐบาล ในฐานะองค์กรสื่อสารมวลชน กรมประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ในการให้ข่าวสาร ความรู้ การศึกษา ความบันเทิง การกระตุ้นเร้า และสืบทอดมรดกทางสังคม ด้านลักษณะของงานกรมประชาสัมพันธ์มีบทบาทหน้าที่ ทั้งการผลิต การผลิตซ้ำ การเผยแพร่และการบริโภค นอกจากนี้กรมประชาสัมพันธ์ยังมีบทบาทหน้าที่แฝงในการรักษาอำนาจของรัฐบาล และการครอบงำทางด้านทัศนคติและวัฒนธรรม |
Other Abstract: | The objective of this research was to understand the functions of the Government Public Relations Department, both the define functions and the mass media functions. The scope of the study covered its structure, certain media, and functions from the beginning of the inauguration until now. The results are that the first government in Thailand launched the Public Relations Department at first in the name of "Publicity Division". The main objectives of the inauguration were that, firstly, to make the democracy system of governing well know and trustworthy among the Thais; secondly, to make Siam (or Thailand) well known and confident among other countries. At present, the Government Public Relations Department has branches in the rural region and abroad. It has several kinds of media to carry on its duty including print media, electronic media and specialized media. As a government organization, its main duty is to distribute the policy and performance of the government. It also has to create understanding towards the government. As the mass media organization, its duty is to provide information, knowledge, education, entertainment, mobilization and transmission of the cultural heritage. Other functions are production, reproduction, distribution and consumption. It has latent functions to maintain power for the government and to dominate the people's attitude and culture. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17412 |
ISBN: | 9745813788 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornsawan_Ut_front.pdf | 268.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornsawan_Ut_ch1.pdf | 276.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornsawan_Ut_ch2.pdf | 406.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornsawan_Ut_ch3.pdf | 307.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornsawan_Ut_ch4.pdf | 434 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornsawan_Ut_ch5.pdf | 702.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornsawan_Ut_ch6.pdf | 523 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornsawan_Ut_ch7.pdf | 307.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornsawan_Ut_back.pdf | 505.39 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.