Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1742
Title: ความร่วมมือไทย-มาเลเซียในการพัฒนาพื้นที่ เขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทย
Other Titles: The cooperation between Thailand and Malaysia on joint development aren in the gulf of Thailand
Authors: ดลยา เทียนทอง
Email: dollaya9@yahoo.com, Dallaya.T@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันเอเชียศึกษา
Subjects: ไทย--ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ--มาเลเซีย
อ่าวไทย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียในการพัฒนาพื้นที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทยเป็นผลสืบเนื่องเริ่มต้นมาจากไทยกับมาเลเซียประสบปัญหาพื้นที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อนกันขึ้น ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจาก การที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิประโยชน์สูงสุดเท่าที่พึงจะกระทำได้ตามอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเขตไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 ในการครอบครองเขตไหล่ทวีปของตนในอ่าวไทย โดยไม่มีการเจรจาตกลงแบ่งเขตระหว่างกันอย่างเป็นทางการ แต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุดไทยกับมาเลเซียสามารถหาทางออกในการแก้ไขปัญหาได้ด้วยการที่มาเลเซียเป็นฝ่ายเสนอให้หันมาพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน โดยใน ค.ศ. 1979 ผู้นำรัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียในการพัฒนาและแสวงหาประโยชน์จากพื้นที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อน ความร่วมมือที่ปรากฏขึ้นนี้เป็นไปเพื่อเสริมสร้างผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจในเรื่องก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งเกี่ยวโยงไปสู่ผลประโยชน์ด้านการเมืองและความมั่นคง โดยมีปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกระตุ้นในขณะนั้น คือ การเกิดวิกฤตการณ์พลังงานของโลก และสภาพการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ การขยายตัวของภัยคอมมิวนิสต์และการก่อการร้ายและภายหลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้มีการดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อก่อตั้งองค์กรร่วมอย่างเป็นรูปธรรม จนกระทั่งในค.ศ. 1990 องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียได้รับการก่อตั้งอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย และจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้ดำเนินภารกิจจนถึงปัจจุบัน
Other Abstract: Thailand and Malaysia agreed to conclude a cooperation project on Joint Development Area (JDA) in order to solve the problem of overlapping continental shelf area in the Gulf of Thailand. In 1958, the Geneva Convention allowed two countries to claim extreme interest on the continental shelf; as a consequence, the problem of overlapping claims of territorial waters become an issue. Thailand and Malaysia of Understanding (MOU) 1979 was signed by the governments of Malaysia and Thailand for mutual interest, with due considerations of economic, security, and political interests. There were, at least, three factors that led to this cooperation: the energy crisis, the expansion of communism in southeast Asia, and the active terrorist threat around Thai-Malaysian common border, Since, the MOU was signed in 1979, several operations were concluded. The normal operations of the JDA have been based on the organized Thai-Malaysia joint authority established in 1990.
Description: ปัญหาพื้นที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทยกับมาเลเซียในอ่าวไทย -- การแก้ไขปัญหาพื้นที่เขตไหล่ทวีบทับซ้อนระหว่างไทยกับมาเเซียในอ่าวไทย -- การพัฒนาพื้นที่เขตทับซ้อนร่วมกันระหว่างไทยกับมาเลเซียในอ่าวไทย -- การก่อตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ในการพัฒนาพื้นที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทย -- ภาคผนวก: อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 ว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง (คำแปล) ; อนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 ว่าด้วยเขตไหล่ทวีป (คำแปล) ; บันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและมาเลเซีย เกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อผลประโยชน์ จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเล ในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทย ค.ศ. 1979 ; Memorandum of understanding on the delimitation of the continental shelf boundry in the Gulf of Thailand and in the South China Sea between the Kingdom of Thailand and Malaysia in 1972 ; Agree minutes of the Malaysia-Thailand official's meeting on delimitation of the continental shelf boundary between Malaysia and Thailand in the Gulf of Thailand and the South China Sea in 1978 ; พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2533
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1742
Type: Technical Report
Appears in Collections:Asia - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dollaya(coo).pdf51.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.